ของถวายพระ.......

 
oom
วันที่  28 ต.ค. 2551
หมายเลข  10223
อ่าน  1,591

อยากทราบว่าการที่คน มีจิตศรัทธาซื้อรถเบ็นซ์ถวายให้พระไว้ใช้ ทั้งที่พระนั้นก็มีรถเบ็นซ์อยุ่แล้ว 1 คัน กรณีนี้พระท่านสมควรที่รับรถไว้หรือไม่ เพราะเกินความจำเป็นของเพศบรรพชิต พระท่านจะผิดวินัยหรือไม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 28 ต.ค. 2551

ยานพาหนะของบรรพชิตคือรองเท้าเท่านั้นครับ อย่างอื่นไม่สมควรดังข้อความจากอรรถกถาดังนี้ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ ๒๐๘ ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ล้อเลื่อน รถ เกวียน รถมีเครื่องประดับ วอรถเข็น นี้มิใช่ยานของบรรพชิต บรรพชิตมียานอย่างเดียวคือ รองเท้า

ข้อความจากอรรถกถากินททสูตรบทว่า ยานโท ได้แก่ ยานทั้งหลายมีหัตถิยาน (ยานช้าง) เป็นต้น ก็แต่ว่าในบรรดายานเหล่านั้น ยานช้าง ยานม้าย่อมไม่สมควรแก่สมณะ การให้ไปด้วยรถก็ไม่สมควรเหมือนกัน ยานที่สมควรแก่สมณะก็คือ รองเท้า สำหรับสมณะผู้รักษาอยู่ซึ่งศีลขันธ์ เพราะฉะนั้น บุคคลให้รองเท้า ไม้เท้าคนแก่ เตียง ตั่ง อนึ่ง บุคคลใดย่อมชำระหนทาง ย่อมทำบันได ย่อมทำสะพาน ย่อมมอบเรือให้แม้ทั้งหมดนี้ ก็ชื่อว่า ให้ยาน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
oom
วันที่ 28 ต.ค. 2551
กรณีนี้พระท่านทราบ แต่ทำไมถึงรับรถยนต์ที่ญาติโยมนำมาถวาย แทนที่จะสอนหรือบอกผู้ที่นำมาถวายว่าเป็นสิ่งของที่ไม่สมควรแก่พระ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 28 ต.ค. 2551

ถ้าเป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ท่านจะไม่รับ และท่านจะอธิบายให้ทราบ ถึงสิ่งที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 28 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้าหากบรรพชิต และคฤหัสถ์ มีความเข้าใจพระธรรมวินัยที่ถูกต้อง ย่อมจะเป็นผู้ที่มีความละอาย ที่จะไม่กระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ พร้อมทั้งรู้ด้วยว่า อะไรควร อะไรไม่ควร (ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ย่อมไม่ควรทำ) ครับ ขอเชิญคลิกอ่านเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี มีแต่จะทำให้เกิดโทษ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 28 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
oom
วันที่ 29 ต.ค. 2551
พระภิกษุสามารถขับรถยนต์ได้หรือไม่ ถ้ากรณีที่ไม่มีคนขับให้และวัดอยู่ห่างจากชุมชนมากๆ ต้องไปบิณฑบาตรไกลมาก
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 29 ต.ค. 2551

โดยภาวปกติพระภิกษุจะนั่งโดยสารรถยนต์ยังไม่ได้ (เว้นไว้แต่ป่วย) ไม่ต้องพูดถึงขับเลยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ