หวังรวย

 
สารธรรม
วันที่  4 พ.ย. 2551
หมายเลข  10293
อ่าน  1,438

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อความบางตอนจาก แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๙๘๒ บรรยายโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

... หวังรวย ...

ถ้าท่านหวังด้วยอกุศลที่จะเป็นเศรษฐีมั่งมีมีสมบัติมากลักษณะนั้นเป็นอกุศล อย่าลืมว่า "จะไม่ให้ผลเป็นกุศลวิบาก แต่ว่าจะให้ผลเป็นอกุศลวิบาก " เพราะฉะนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องระลึกรู้ลักษณะของอกุศล เพื่อที่จะละอกุศล เพราะถ้าไม่รู้ก็ไม่ละ แต่ถ้ารู้ย่อมละและในขณะที่รู้นั้นเป็นกุศล เป็นปัญญา เพราะฉะนั้น ย่อมเป็นเหตุให้เกิดวิบาก


เมื่อทุกคนยังไม่สามารถที่จะดับกิเลสอกุศลได้ เพราะว่าพอเห็นก็เกิดอกุศล โลภะบ้าง โทสะบ้าง ก็จริง แต่อย่าให้ถึงความรุนแรงที่จะให้เป็นทุจริตกรรม พร้อมกันนั้นก็เป็นผู้ที่ไม่ประมาทในการเจริญกุศลกรรม และกุศลกรรมที่ควรเจริญอย่างยิ่งก็คือสติปัฏฐาน คือการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทันที ในขณะนี้ก็ได้ ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรมทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจก็ได้ นั่นเป็นกุศลเหตุ ที่จะเป็นเหตุให้กุศลวิบากข้างหน้าเกิดขึ้น


เพราะฉะนั้น เหตุกับผลต้องตรงกันนะคะ วิบากขณะเห็นเป็นผลของเหตุในอดีต แต่กุศลหรืออกุศลในปัจจุบันเป็นเหตุของวิบากข้างหน้า อย่าคิดว่าเวลาที่ปรารถนาสิ่งใดด้วยอกุศล แล้วได้สิ่งนั้น อย่าเข้าใจว่าเป็นผลของการหวังเพราะขณะที่หวังเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น กุศลวิบากที่ได้รับหลังจากหวัง ไม่ใช่ผลของอกุศลที่หวัง แต่เป็นผลของเหตุในอดีต แต่เพราะการเกิดดับสืบต่อกัน จนกระทั่งไม่รู้ความจริงว่า แท้ที่จริงเวลาที่วิบากเกิดขึ้น ถ้าเป็นผลของกุศลวิบากแล้วต้องเป็นผลของกุศลกรรมในอดีต ไม่ใช่เป็นผลเพราะความหวัง หรือความต้องการเมื่อสักครู่นี้ หรือว่าเมื่อวันก่อน เพราะว่าเหตุกับผลต้องตรงกัน


นี่ก็เป็นเหตุที่จะทำให้เจริญกุศลมากขึ้น พร้อมกันนั้นก็ควรที่จะละอกุศล แต่อกุศลก็ละยากเหลือเกิน ถ้าไม่อบรมเจริญปัญญาจริงๆ ก็ย่อมจะไม่สามารถจะละอกุศลได้เลย


พระผู้พระภาคทรงแสดงธรรมเตือนสาวกผู้ประมาทผู้ที่ยังไม่มั่นคงในกรรมและผลของกรรมไว้ ดังนี้

[๑๙] ๑. บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิต เสียจากบาป เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในบาป.

๒. ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะว่าความสั่งสมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.

๓. ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะว่าความสั่งสมบุญ ทำให้เกิดสุข.

๔. แม้คนผู้ทำบาป ย่อมเห็นบาปว่าดีตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล แต่เมื่อใดบาปเผล็ดผล เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว ฝ่ายคนทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่วตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล แต่เมื่อใดกรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรม ดีว่าดี.

๕. บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง (ทีละหยาดๆ ) ได้ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสมบาป แม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้น.

๖. บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า บุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาดๆ ) ได้ฉันใด ธีรชน (ชนผู้มี ปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ได้ฉันนั้น.

๗. บุคคลพึงเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย เหมือนพ่อค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางอันพึงกลัว (และ) เหมือนผู้ต้องการจะเป็นอยู่ เว้นยาพิษเสีย ฉะนั้น.

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...

บุญและบาป [คาถาธรรมบท]

ขออุทิศส่วนกุศลแด่สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 พ.ย. 2551

[๑๙] ๑. บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิต เสียจากบาป เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่ ใจจะยินดีในบาป.

๒. ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะว่าความสั่งสมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.

๓. ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะว่าความสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข.

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 4 พ.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Noparat
วันที่ 5 พ.ย. 2551

ดีที่สุด คือ ไม่หวัง เหตุย่อมสมควรแก่ผล

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 5 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 5 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ . . .

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wirat.k
วันที่ 5 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
หมาย
วันที่ 5 พ.ย. 2551

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 6 พ.ย. 2551

ถ้ามั่นคงเรื่องกรรมและผลของกรรมจริงๆ จะไม่ประมาทในการละอกุศลแม้เพียงเล็ก น้อยและเจริญกุศลแม้เพียงเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 6 พ.ย. 2551

ความขยันของคฤหัสถ์ดีชั้นหนึ่ง การแบ่งปันโภคทรัพย์ให้กับสมณพราหมณ์ที่ตั้งอยู่ในธรรมดีชั้นสอง เมื่อได้ประโยชน์แล้วไม่มัวเมาดีชั้นสาม เมื่อเสื่อมโภคทรัพย์แล้วไม่หวั่นไหวดีชั้นสี่ ทั้งสี่ข้อนี้เริ่มจากความดีขั้นต้นและเป็นเรื่องของการสั่งสมปัญญาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ