ขอเรียนถามความหมายของคำว่า...พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น !

 
พุทธรักษา
วันที่  13 พ.ย. 2551
หมายเลข  10374
อ่าน  1,396

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๑๙

[เล่มที่ 23] อรณวิภังคสูตร (บางส่วน)

ความยกย่องเป็นต้น

[๖๕๗] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเป็นการยกย่อง เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม คือ ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียร เครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีด้วยความแค้นใจ มีความเร่าร้อนเป็นผู้ปฏิบัติผิด กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรมมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบซึ่งความเพียร เครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้น ทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ กล่าวอยู่ว่า อันความไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวอย่างนี้ว่าชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้น ทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด กล่าวอยู่ว่า เมื่อยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้น ทั้งหมดไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ กล่าวอยู่ว่าก็ เมื่อละสัญโญชน์ในภพได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลไม่เป็นการยกย่อง ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้วไม่พึง ยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว

ขอความกรุณาอธิบายความหมายของพระสูตรข้างต้นด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 14 พ.ย. 2551

โดยสรุปคือ การแสดงธรรมมี ๒ ประเภท คือ

แสดงแต่ธรรมอย่างเดียว ๑

แสดงธรรมโดยพาดพิงบุคคลอื่น เช่น ชนเหล่าใด บุคคลใด ชนเหล่านั้น เป็นต้น ๑

ประเภทที่หนึ่งนั้นไม่กล่าวถึงบุคคลไหนๆ เลย แสดงแต่ธรรมอย่างเดียว เช่นข้อความในพระสูตรที่ยกมาว่า กล่าวอยู่ว่า อันความไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 14 พ.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 14 พ.ย. 2551

การแสดงธรรมที่ดีคือ มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่สิ้นสุด มีเหตุผล ไม่กระทบตนเองและผู้อื่น ไม่มุ่งลาภสักการะ มีเมตตาจิต มีจิตอนุเคราะห์ กล่าวด้วยวาจาอ่อนหวาน มีประโยชน์ ประกอบด้วยกาล

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 14 พ.ย. 2551

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 15 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 15 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 15 พ.ย. 2551

เมื่อรู้ว่า ถ้าชมใคร แล้วอกุศลจิตของเขาย่อมเกิด แทนที่จะพูดยกย่องผู้ที่สนทนาด้วยว่าเป็นคนดี ก็แสดงแต่ธรรมว่า กุศลธรรมเป็นเป็นธรรมที่ควรเจริญ เพราะเป็นธรรมที่ไม่มีโทษภัย ให้ผลเป็นสุข ไม่ก่อทุกข์ใดๆ เมื่อรู้ว่า ถ้าตำหนิหรือเตือนใคร แล้วอกุศลจิตของเขาย่อมเกิด แทนที่จะตำหนิหรือเตือนผู้ที่สนทนาด้วย เราก็แสดงแต่ธรรมว่าอกุศลธรรมเป็นธรรมที่ควรละ ควรขัดเกลา เพราะเป็นธรรมที่มีโทษภัย ให้ผลเป็นทุกข์การแสดงแต่ธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ไม่ก่อให้เกิดความกำเริบของอกุศล ไม่ก่อให้เกิดการวิวาทกันด้วยวาจา เพราะมีแต่เนื้อความแห่งธรรม ไม่ได้พาดพิงถึงสัตว์ บุคคลใด

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
michii
วันที่ 20 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pamali
วันที่ 5 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ