อวิชชา...สร้างสังสารวัฏฏ์

 
พุทธรักษา
วันที่  15 พ.ย. 2551
หมายเลข  10393
อ่าน  1,772

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ท่านผู้ฟัง ทำไมกล่าวถึงเฉพาะ โลภะ ทำไมโทสะ โมหะ ไม่กล่าวถึง

ท่านอาจารย์ อวิชชา ความไม่รู้ เป็น "เหตุ" ให้เกิด โลภะ โทสะ อวิชชา คือไม่รู้อะไรเลย โลภะ คือ ความติดข้อง อวิชชา เป็น เหตุให้เกิดสังสารวัฏฏ์ด้วยความไม่รู้ ด้วยความติดข้องไม่เพียงแค่ไม่รู้ ยังติดข้องด้วย.ลักษณะของความไม่รู้ และ ลักษณะของความติดข้อง ไม่เหมือนกันไม่รู้ คือ ไม่รู้ ไม่รู้แม้ลักษณะของความติดข้องแต่โลภะ เป็นสภาพธรรมที่ติดข้อง ต้องการ แสวงหาเพราะฉะนั้น อวิชชา ก็สร้างสังสารวัฏฏ์ เรื่อยไป

ท่านผู้ฟัง แล้วโทสะ ละครับ

ท่านอาจารย์ โทสะเกิด เมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการค่ะถ้าไม่มีโลภะ ก็ไม่ต้องพูดถึงโทสะเลย
ถ้าไม่มีความต้องการ ก็ไม่มีปัจจัยให้เกิดโทสะเวลาเกิดโทสะขณะใด หมายความว่าเพราะเรายังยึดมั่น ต้องการใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

ท่านผู้ฟัง เมื่อโมหะเกิด ทำให้เกิด โลภะ โทสะ ใช่ไหมครับ

ท่านอาจารย์ ถูกต้องค่ะ อกุศลทุกประเภท ต้องมีโมหเจตสิก เกิดร่วมด้วย


บรรยายโดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 15 พ.ย. 2551

ในเรื่องเหตุแห่งการเกิด การมีชีวิตนั้นพระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าตราบใดยังมีกิเลส มีอวิชชา มีตัณหา ก็ยังต้องเกิด เมื่อเกิดแล้ว ก็เป็นทุกข์เรื่อยไปจนกระทั่งตาย เพราะชีวิตก็เป็นแต่เพียงนามธรรมและรูปธรรมแต่ละชนิดที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็วสืบต่อกันไปเรื่อยๆ ทุกขณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 15 พ.ย. 2551

ผมเข้าใจว่า อวิชชาคือความไม่รู้ในอริยสัจจ 4 ความไม่รู้ดังกล่าว คือ เป็นความไม่มี หรือ ไม่บริบูรณ์ แห่ง สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ใน อริยสัจจ 4 ใช่ไหม

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 16 พ.ย. 2551
ลักษณะของความไม่รู้ และ ลักษณะของความติดข้อง ไม่เหมือนกันไม่รู้ คือ ไม่รู้ ไม่รู้แม้ลักษณะของความติดข้องแต่โลภะ เป็นสภาพธรรมที่ติดข้อง ต้องการ แสวงหา เพราะฉะนั้น อวิชชา ก็สร้างสังสารวัฏฏ์ เรื่อยไป กราบขออนุโมทนาท่านอาจาย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 16 พ.ย. 2551

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

กิเลส ตัณหา ทิฏฐิ มานะ...เกิดขึ้นเพราะความไม่รู้

และเพราะความไม่รู้...จึงเกิด กิเลส ตัณหา ทิฏฐิ มานะ

ความวนเวียนในสังสารวัฏฏ์อันเป็นห้วงน้ำใหญ่ จึงหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้

...เพราะมีความไม่รู้เป็นพื้นฐาน...

(ไม่รู้อะไรเลย...จริงๆ )

ขออนุโมทนาคุณพุทธรักษา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ajarnkruo
วันที่ 16 พ.ย. 2551

เพราะไม่ได้มีเพียงความไม่รู้อย่างเดียวแต่มีความติดข้องเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากความไม่รู้ด้วยแสนโกฏิกัปป์นับไม่ถ้วนที่ผ่านมา...สังสารวัฏฏ์จึงยังคงเป็นไปจนถึงขณะนี้ที่กำลังเป็นสังสารวัฏฏ์...ก็จะยังคงเป็นต่อไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับอวิชชา และ โลภะ ด้วยปัญญาขั้นอรหัตตมรรคจิต

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 18 พ.ย. 2551

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๑๙๗

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวอวิชชาว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของอวิชชา ควรจะกล่าวว่านิวรณ์ ๕ ก็อะไรเป็นอาหารของนิวรณ์ ๕ ควรจะกล่าวว่าทุจริต ๓ ก็อะไรเป็นอาหารของทุจริต ๓ ควรจะกล่าวว่าการไม่สำรวมอินทรีย์ ก็อะไรเป็นอาหารแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ ควรจะกล่าวว่าความไม่มีสติสัมปชัญญะ ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่า การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ควรจะกล่าวว่าความไม่มีศรัทธา ก็อะไรเป็นอาหารของความไม่มีศรัทธา ควรจะกล่าวว่าการไม่ฟังธรรม ก็อะไรเป็นอาหารของการไม่ฟังธรรม ควรกล่าวว่าการไม่คบสัตบุรุษ....ฯ”

เหตุของอวิชา คือ นิวรณ์ ๕ เหตุของนิวรณ์ ๕ คือ ทุจริต ๓

เหตุของทุจริต 3 คือการไม่สำรวมอินทรีย์ เหตุแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ คือไม่มีสติสัมปชัญญะ เหตุแห่งการไม่มีสติสัมปชัญญะคือการไม่กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เหตุแห่งการไม่กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย คือความไม่มีศรัทธา เหตุแห่งความไม่มีความไม่มีศรัทธาคือการไม่ฟังธรรม เหตุแห่งการไม่ฟังธรรม คือการไม่คบสัตบุรษ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 18 พ.ย. 2551

เหตุของอวิชา คือนิวรณ์ 5 เหตุของนิวรณ์ 5 คือทุจริต 3 เหตุของทุจริต 3 คือการไม่สำรวมอินทรีย์ เหตุแห่งการไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ไม่มีสติสัมปชัญญะ เหตุแห่งการไม่มีสติสัมปชัญญะ คือการไม่กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย เหตุแห่งการไม่กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย คือความไม่มีศรัทธา เหตุแห่งความไม่มีความไม่มีศรัทธา คือการไม่ฟังธรรม เหตุแห่งการไม่ฟังธรรม คือการไม่คบสัตบุรษ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
suwit02
วันที่ 24 พ.ย. 2551

อ้างอิงความเห็นที่ 3

ลักษณะของความไม่รู้ และ ลักษณะของความติดข้อง ไม่เหมือนกันไม่รู้ คือ ไม่รู้ ไม่รู้แม้ลักษณะของความติดข้องแต่โลภะ เป็นสภาพธรรมที่ติดข้อง ต้องการ แสวงหา เพราะฉะนั้น อวิชชา ก็สร้างสังสารวัฏฏ์ เรื่อยไป เมื่อวานผมได้ฟังท่านอาจารย์พูดเรื่องนี้พอดี อวิชชาในที่นั้นคือ ความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งในกระทู้นี้ ก็คือ ความไม่รู้ในลักษณะของโลภะ อันเป็นสภาพธรรมที่ติดข้อง ต้องการ แสวงหา สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pamali
วันที่ 1 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ