ทนไม่ได้
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ข้อความบางตอนจาก แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๗๑๘
บรรยายโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
... ทนไม่ได้ ...
ส่วนมากท่านผู้ฟังอาจจะบอกว่า "ทนไม่ได้" ในเมื่อสิ่งแวดล้อมและบุคคลที่ใกล้ชิดท่าน "เป็นผู้ที่มีบาปธรรม" ท่านก็ย่อมพลอยเป็นอกุศลไปด้วย ที่จะไม่ให้เกิดโลภะโทสะ นั้นยาก เพราะฉะนั้น ก็ต้องเห็นตามความเป็นจริงอีกเหมือนกันว่า โลภะก็เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง โทสะที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยก็เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง
เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาเป็นเรื่องละเอียดเป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องที่สามารถจะรู้สภาพธรรมใดๆ ก็ได้ที่เกิดปรากฏเพราะเหตุปัจจัย โดยไม่เลือกว่าสภาพธรรมที่ไม่ดีอย่างนี้ จะไม่ระลึกรู้ จะขอคอยเหตุการณ์ สิ่งแวดล้อมอื่นซึ่งดีกว่านี้ ถ้าโดยความเข้าใจอย่างนี้ ปัญญาจะไม่เจริญขึ้น เพราะว่าลักษณะของปัญญาที่คมกล้าจริงต้องหมายถึง "ปัญญาที่สามารถจะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมใดๆ ก็ได้ที่ปรากฏ ไม่เลือก อย่างในขณะนี้ สภาพธรรมเกิดปรากฏ ปัญญาสามารถที่จะรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏนี้ได้ เมื่อเป็นปัญญา
แต่ถ้าปัญญาขั้นนี้ยังไม่เกิด ก็จะต้องอบรม คือระลึกและศึกษา เพื่อความรู้ชัดในสภาพของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏ หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย ไม่ว่าสภาพธรรมที่ปรากฏในเหตุการณ์นั้นๆ จะปรากฏเป็นสภาพธรรมที่ดี หรือไม่ดีประการใดๆ ก็ตาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมไว้ว่า ...
[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นเป็นทุกข์ หนาแข็ง กล้า ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิตเสียได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นผู้อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น.
อาสวะที่ละได้เพราะความอดกลั้น
๒. สัพพาสวสังวรสูตร
ขอเชิญคลิกอ่านเพิ่มได้ที่...
ความสิ้นอาสวะสำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ [สัพพาสวสังวรสูตร]
ขออุทิศส่วนกุศลแด่สรรพสัตว์
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้น? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าวชั่ว ร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งบังเกิดขึ้นเป็นทุกข์ หนาแข็ง กล้า ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิตเสียได้.
ขออนุโมทนาค่ะ
ไม่ควรเข้าใกล้บุคคลที่ไม่ควรสมาคม... โดย ajarnkruo.
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่...
อรรถกถาบุคคลที่ควรรังเกียจเป็นต้น
บทว่า "ชิคุจฺฉิตพฺโพ" ได้แก่ บุคคลที่เขารังเกียจเหมือนกับคูถ.
ข้อว่า "อถ โข นํ " แก้เป็น อถ โข อสฺส แปลว่า ครั้งนั้นแลกิตติศัพท์ก็ย่อมมี.
บทว่า "กิตฺติสทฺโท" ได้แก่ เสียงที่พูดกัน. บัณฑิตพึงเห็นผู้ทุศีลเหมือนหลุมคูถ
ในข้อว่า "เอวเมวํ" นี้. พึงเห็นบุคคลผู้ทุศีล เหมือนกับงูที่น่ารังเกียจที่ตกไปในหลุมคูถ. พึงเห็นภาวะ คือการไม่ทำตามกิริยาของบุคคลผู้เสพซึ่งบุคคลผู้ทุศีลนั้นเหมือนกับงูที่บุคคลยกขึ้นจากหลุมคูถ แม้เขายกขึ้นสู่สรีระแห่งบุรุษ แต่ยังไม่กัด. พึงทราบการฟุ้งขจรไปแห่งกิตติศัพท์อันลามกของบุคคลผู้เสพผู้ทุศีล เหมือนกับงูที่มีสรีระเปื้อนคูถแล้วก็ไป
ความเห็นจากสมาชิก "แล้วเจอกัน"
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การคบคนเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าหากเข้าใจความจริงว่าทุกอย่างเป็นธรรม ไม่มีสัตว์ บุคคล มีแต่ จิต เจตสิก รูป จิตที่ดี จิตที่ไม่ดี เป็นต้น ความเห็นผิดมีจริง เป็นจิตชนิดหนึ่งที่ไม่ดี ควรเห็นโทษหรือสะสมมากขึ้น ว่าโดยสมมติ บุคคลที่เห็นผิดหรือมากไปด้วยอกุศลย่อมแนะนำในสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องย่อมทำให้น้อมไปตามได้เมื่อเข้าใกล้ เมื่อคบกันนาน
แต่ก็เป็นเรื่องของปัญญา ว่าจะเลือกคบบุคคลใดและอุปนิสัยของแต่ละคน รวมทั้งการรังเกียจ ก็เกิดจากปัญญาที่พิจารณาด้วยความเห็นโทษในการคบจึงเป็นการรังเกียจ ที่เป็นกุศล เกิดจากปัญญามิใช่รังเกียจ ที่เป็นอกุศลที่เป็นโทสะ หรือความไม่ชอบ เป็นต้น.
การไม่คบคนพาลการคบบัณฑิตและการบูชาบุคคลที่ควรบูชาจึงเป็นมงคลอันสูงสุด
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ที่พึ่งอันเกษมสูงสุดของข้าพเจ้า
ความทนไม่ได้ในสิ่งที่ต้องประสบ ย่อมเกิดขึ้นกับปุถุชนทุกคน อยู่ที่ว่า จะพิจารณาอย่างไร ลองคลิกอ่านพระสูตรนี้ดูค่ะ
ขออนุโมทนาคุณสารธรรม
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ
เราจักอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกิน ดังช้างอดทนลูกศร ซึ่งตกไปจากแล่งในสงคราม เพราะคนเป็นอันมาก เป็นผู้ทุศีล ในหมู่มนุษย์ผู้ใดอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกินได้, ผู้นั้นชื่อว่าฝึก (ตน) แล้ว เป็นผู้ประเสริฐสุด. ม้าอัสดรที่ฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ พระยาช้างชาติกุญชรที่ฝึกแล้ว ก็เป็นสัตว์ประเสริฐ (แต่) ผู้ฝึกตนเองได้แล้ว ประเสริฐ