ระลึกนึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕- หน้าที่ ๑๖๖
และกัน ทำให้เป็นที่รัก ที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีสติคือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีสติ ฯลฯ นี้ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกันและกัน ทำให้เป็นที่รักที่เคารพกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
ภิกษุ เป็นผู้มีสติคือ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ นั้น สติในที่นี้มีนัยต่างจากสติปัฎฐานอย่างไรครับ
ในที่นี้ท่านแสดงกิจของสติ คือระลึกได้ ไม่หลงลืม ไม่เลอะเลือน สติในขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นสมถะ ขั้นวิปัสสนา ย่อมมีกิจเดียวกันแต่โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสติ ก็มุ่งหมายถึงสติปัฏฐานนั่นเองครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สติเป็นธรรมฝ่ายดีเกิดกับกุศลทั้งขั้นทาน ศีล ภาวนา จะไม่เกิดกับอกุศลเลย ขณะใดที่กุศลเกิดก็ต้องมีสติเกิดร่วมด้วย ซึ่งคำว่า ระลึกนึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้ ต้องเป็นการนึกในเรื่องใดก็ตามจิตเป็นกุศล ไม่ใช่นึกเรื่องอะไรแล้วจำได้จะหมายถึงมีสติ เพราะนึกจำได้แต่เป็นอกุศลจิตก็ไม่มีสติครับ เพราะสติเกิดกับธรรมฝ่ายดี
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสของกิเลสที่เกิดขึ้น จึงเป็นธรรมเครื่องรักษาตน รู้ว่ากิจใดควรทำไม่ควรทำกับบุคคลต่างๆ ด้วยจึงทำให้สามัคคี ไม่ทะเลาะวิวาทกันเพราะระลึกในทางที่ถูก ระลึกว่าสิ่งใดไม่ควรทำ เป็นต้น ซึ่งสติก็เกิดกับกุศลทุกประเภท ขณะที่สติปัฏฐานเกิดย่อมรู้ว่าขณะใดเป็นอกุศล เป็นกุศล รู้ว่าเป็นธรรม รู้ตามความเป็นจริง เมื่อปัญญาเกิดอันมีสติเกิดร่วมด้วยก็ย่อมรู้ว่าสิ่งใดควร ไม่ควร เช่นกัน ย่อมเป็นเหตุให้มีความสามัคคี ไม่ทะเลาะวิวาทด้วยครับ ดังนั้น กุศลทุกระดับที่มีสติจึงมีอุปการะทั้งนั้น
ขออนุโมทนาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
สติ ทำหน้าที่ระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นฐานของสติ (เรียกว่า อารมณ์ของสติ ก็ได้) อารมณ์ของสติ ถ้าไม่ใช่นามธรรม (สภาพรู้) ก็ต้องเป็นรูปธรรม (สภาพที่ไม่รู้)
สติปัฏฐาน มีความหมาย ๓ อย่าง ตามนัยอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร คือ
๑. อารมณ์ ซึ่งมี ๔ อย่าง ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม
๒. สติเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่ระลึกที่กาย เวทนา จิต หรือธรรม
๓. ข้อปฏิบัติ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระสาวกทรงดำเนินไปแล้ว
ข้อมูลจาก "ธัมมนิทเทส"
ขออนุโมทนา