บุญญกิริยาวัตถุ - ทิฏฐุชุกรรม [๑]

 
พุทธรักษา
วันที่  25 พ.ย. 2551
หมายเลข  10501
อ่าน  4,625

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การสนทนาธรรมโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคุณวันทนา ทิพวัลย์ จากหนังสือ บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐

คุณวันทนา สวัสดีค่ะ ท่านผู้ฟัง บางครั้ง ท่านอาจจะมีญาติสนิทหรือเพื่อนสนิทที่จากกันเป็นแรมปีทีเดียว จู่ๆ เขาผู้นั้นก็แวะเยี่ยมท่านที่บ้านและจุดประสงค์ของการมาเยี่ยมนั้น ก็ไม่มีสิ่งอื่นใดยิ่งไปกว่าน้ำใจไมตรีและความระลึกถึง ท่านจะรู้สึกอย่างไรหากว่าท่านจะเป็นฝ่ายได้รับน้ำใจไมตรี จากญาติมิตรเช่นนี้ หรือว่าบางครั้ง ท่านอาจจะได้รับของฝากของกำนัลจากญาติมิตรที่ระลึกถึง และปรารถนาให้ท่านมีความสุข ความชุ่มชื่นใจ และหากว่าท่านเป็นผู้ที่ให้ความสุข ความชุ่มชื่นใจ แก่มิตรสหายของท่านบ้างดิฉันก็เชื่อว่า ความสุข ความชุ่มชื่นใจ ในฐานะเป็นผู้ให้ก็คงจะบังเกิดแก่จิตใจของท่านผู้ให้ไม่น้อยเลย

นี่คือตัวอย่างง่ายๆ ที่จะทำให้ท่านผู่อ่านเห็นว่าบางครั้ง ความสุข ความแช่มชื่นใจของเราก็เกิดจากการประพฤติปฏิบัติ ระหว่างเรา และผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอันเกิดจากการเป็นผู้รับและผู้ให้ตามกาลอันสมควร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 25 พ.ย. 2551

คุณวันทนา พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงกุศลขั้นต่างๆ ไว้ตามความสามารถของผู้ที่จะประพฤติปฏิบัติได้ กุศลที่ไม่ใช่ขั้นทาน ก็มีใช่ไหมคะ

ท่านอาจารย์ มีค่ะ เพราะกุศลเป็นจิตใจที่ดีงาม จิตใจที่ดีงามเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นก็เป็นกุศลเพราะความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของสภาพธรรมต่างๆ เป็นกุศล เช่น รู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว รู้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี และรู้ว่าความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม รู้อย่างนี้เป็นกุศล เพราะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในสภาพธรรมว่าสภาพธรรมใดดี สภาพธรรมใดชั่ว คนที่รู้ว่าอะไรเป็นกุศล กุศลย่อมเกิดได้มากกว่าคนที่ไม่รู้และไม่ต้องคอยเวลาที่จะเป็นกุศลด้วย

คุณวันทนา เรื่องโลภะ โทสะ โมหะ ไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครรู้ ว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี แต่แม้กระนั้น จิตใจที่ไม่ดี การกระทำสิ่งที่ไม่ดีก็ยังเกิดขึ้นบ่อยๆ ที่เป็นอย่างนี้ เพราะอะไร

ท่านอาจารย์ ที่เป็นอย่างนี้ เพราะว่าความรู้อย่างนั้น ยังมีกำลังน้อย ความรู้อย่างนั้น จึงเกิดน้อยกว่ากิเลสที่เป็นธรรมฝ่ายอกุศล ตราบใดที่ยังไม่รู้ความจริง ไม่ประจักษ์แจ้งลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมต่างๆ ซึ่งเป็น จิต เจตสิก รูป ที่เกิดภายในร่างกาย และภายนอกร่างกาย ตามความเป็นจริง ก็ย่อมจะเป็นเหตุให้เกิดความยินดี ยินร้าย ความพอใจ ไม่พอใจอยู่เสมอ สภาพธรรมใดเกิดบ่อยๆ สภาพธรรมนั้นก็ย่อมมีกำลังมากกว่าสภาพธรรมที่นานๆ จึงจะเกิดขึ้น

ฉะนั้น จึงต้องพิจารณาให้รู้แน่ชัดอยู่เสมอว่าธรรมใดดี ธรรมใดชั่ว เมื่อเข้าใจและรู้แน่ชัดแล้ว ก็อบรมเจริญความดีซึ่งเป็นธรรมฝ่ายกุศลให้มากขึ้น ให้มีกำลังขัดเกลากิเลส อกุศล ให้เบาบางลงได้


 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 25 พ.ย. 2551

ทาน ศีล ภาวนา เป็นหลักใหญ่ของการเจริญกุศล เพื่อขจัดขัดเกลากิเลส.เป็นบุญญกิริยา ๓ ซึ่งเมื่อกล่าวโดยละเอียด บุญญกิริยาวัตถุมี ๑๐ ประการ

ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ว่า ธรรมใดดี ธรรมใดชั่ว เป็นกุศลประเภท "ทิฏฐุชุกรรม" คำว่า "ทิฏฐุชุกรรม" เป็นคำรวมของคำว่า ทิฏฐิ อุชุ กรรม ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น อุชุ แปลว่า ตรง กรรม แปลว่า การกระทำ

ฉะนั้น กุศลประเภทนี้จึงเป็นการกระทำความเห็นให้ถูกต้อง ตรงตามลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 25 พ.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 28 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ups
วันที่ 25 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 8 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ผ้าเช็ดธุลี
วันที่ 23 มิ.ย. 2554

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เข้าใจ
วันที่ 23 เม.ย. 2555

ศึกษาพระธรรมเพื่อขจัดความไม่รู้ ไม่รู้ธรรมที่เป็นกุศล และไม่รู้ธรรมที่เป็นอกุศล ศึกษาพระธรรมเพื่อจะละอกุศลของตนเอง และเพียรเจริญกุศลธรรมฝ่ายดีให้มากขึ้น ไม่ศึกษาธรรมะเพื่อจะละอกุศลของคนอื่น

ขออนุโมทนา สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
lovedhamma
วันที่ 14 ม.ค. 2557

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
chatchai.k
วันที่ 19 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
kaeboon
วันที่ 11 ส.ค. 2567

อนุโมทนาคะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ