อุปาทานโคจฉกะ ในอุปาทานนิทเทส [อรรถกถานิกเขปกัณฑ์]

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 พ.ย. 2551
หมายเลข  10505
อ่าน  1,644

[เล่มที่ 76] เล่มที่ 76 พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้า 471-474

อรรถกถานิกเขปกัณฑ์

ว่าด้วยอุปาทานโคจฉกะ ในอุปาทานนิทเทส พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ที่ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่งกามกล่าวคือ วัตถุ. กามนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.

บทว่า อุปาทานํ (อุปาทาน) แปลว่า ความยึดมั่น. เพราะอุปศัพท์ในคำนี้มีอรรถว่ามั่น เหมือนในคำทั้งหลายมี อุปายาสะ (ความคับแค้น) อุปกัฏฐะ (ใกล้ถึงแล้ว) เป็นต้น. *
อนึ่ง ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน หรือว่า ที่ชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นซึ่งทิฏฐิ. เพราะทิฏฐิหลังย่อมยึดมั่นทิฏฐิต้น เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สสฺสโต

* อุปายาสะ อุป + อายาส อุป มั่น อายาส ความลำบาก กฏฺฐ ใกล้แล้ว อุป + กฏฺฐ ใกล้ถึงแล้ว

อตฺตา จ โลโก จ (อัตตาและโลกเที่ยง) ดังนี้. อนึ่ง ที่ชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน เพราะอรรถว่า ย่อมยึดมั่นศีลพรต. ศีลพรตนั้นด้วย เป็นอุปาทานด้วย แม้เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่า สีลัพพตุปาทาน. จริงอยู่. คำว่า โคศีล และโควัตรเป็นต้น เป็นอุปาทานเองทีเดียว เพราะยึดมั่นว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยศีลพรตอย่างนี้.

อนึ่ง ชื่อว่า วาทะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุกล่าว. ที่ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่น ย่อมกล่าว ที่ยึดมั่นอะไร? การกล่าวและ การยึดมั่นอัตตาของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง เหตุสักแต่ วาทะว่าเป็นอัตตาอย่างเดียว ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุยึดมั่นว่าเป็นอัตตา.

ว่าด้วยนิทเทสกามุปาทาน

แม้ในคำว่า โย กาเมสุ กามฉนฺโท (ความพอใจคือความใคร่ในกามทั้งหลาย อันใด) นี้ วัตถุกามทั้งหลาย และกิเลสกามทั้งหลายทรงประสงค์เอากาม ทั้งหลายโดยไม่เหลือ เพราะฉะนั้น ความพอใจคือความใคร่ในวัตถุกามทั้งหลาย

ชื่อว่า กามุปาทาน ในอธิการนี้ ฉะนั้น กามุปาทานนั้น จึงสำเร็จ (แก่ปุถุชน เป็นต้น) แม้แก่พระอนาคามี แต่กามราคะอันเป็นวัตถุของกามคุณ ๕ ย่อมไม่มีแก่พระอนาคามีนั้น.

ว่าด้วยนิทเทสทิฏฐุปาทาน

พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสทิฏฐุปาทาน ต่อไป

บทว่า นตฺถิ ทินฺนํ (ทานที่ให้แล้วไม่มีผล) ความว่า เขาย่อมรู้ว่า ชื่อว่า ทานที่บุคคลให้แล้วมีอยู่ คือใครๆ อาจเพื่อให้อะไรๆ แก่ใครๆ ก็ได้ แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของทานไม่มี ดังนี้.

บทว่า นตฺถิ ยิฏฺฐํ (การบูชาไม่มีผล) ความว่า การบูชาใหญ่ (มหายาโค) ตรัสเรียกว่า ยิฏฺฐํ (การบูชา) คือย่อมรู้ว่า การบูชานั้น ใครๆ อาจบูชาได้ แต่ย่อมถือว่า ผลวิบากของการบูชาไม่มี ดังนี้.

บทว่า หุตํ (การบวงสรวง) ความว่า กิริยาที่บูชา และนำของมาให้เพื่อมงคล บุคคลย่อมรู้กิริยาอันนั้นว่า ใครๆ ก็อาจทำได้ แต่ว่าเขาย่อมถือว่า ผลวิบากของกิริยามงคลนั้นไม่มีผล.

ในบทว่า สุกฏทุกฺกฏานํ (ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่ว) นี้ กุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า กรรมที่ทำดี อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า กรรมที่ ทำชั่ว. บุคคลย่อมรู้ถึงความที่กรรมดีกรรมชั่วเหล่านั้นมีอยู่ แต่ย่อมยึดถือว่า ผลวิบากไม่มี ดังนี้.

บทว่า นตฺถิ อยํ โลโก (โลกนี้ไม่มี) ความว่า บุคคลย่อมถือ โลกนี้ด้วยคิดว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโลกอื่นของบุคคลผู้ทำกรรมดีกรรมชั่ว เหล่านั้น ไม่มี ดังนี้.

บทว่า นตฺถิ มาตา นตฺถิ ปิตา (มารดาไม่มี บิดาไม่มี) ความว่า เขาย่อมรู้ความที่มารดาบิดามีอยู่ แต่เขาถือว่า ผลวิบากอะไรๆ ด้วยการทำ อุปการะในมารดาบิดาเหล่านั้น ไม่มี ดังนี้.

บทว่า นตฺถิ สตฺตา โอปปาติกา (โอปปาติกสัตว์ไม่มี) คือ เขาถือว่า สัตว์ผู้จุติและปฏิสนธิ ไม่มี.

บทว่า สมฺมคฺคตา สมฺมาปฏิปนฺนา (ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ) ความว่า เขาย่อมถือว่า สมณะและพราหมณ์ ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ดำเนินไปสู่ อนุโลมปฏิปทา ไม่มีในโลก.

บทว่า เย อิมญฺจ โลกํ ปรญฺจ โลกํ สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺติ (สมณพราหมณ์ที่กระทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอัน ยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก) ความว่า ย่อมถือว่า ชื่อว่า สัพพัญญูพุทธะผู้สามารถรู้โลกนี้และโลกอื่นด้วยญาณอันวิเศษยิ่งโดยตน เท่านั้น ไม่มี ดังนี้. ก็อุปาทานเหล่านี้ควรเพื่อนำมาโดยลำดับกิเลสบ้าง โดยลำดับมรรคบ้าง. ว่าโดยลำดับกิเลส กามุปาทานอันมรรคทั้ง ๔ ย่อมประหาณ อุปาทาน ๓ ที่เหลือ อันโสดาปัตติมรรคย่อมประหาณ. ว่าโดยลำดับแห่งมรรค โสดาปัตติมรรคย่อมประหาณทิฏฐุปาทานเป็นต้น มรรคทั้ง ๔ ย่อมประหาณ กามุปาทาน.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ