เหตุให้เกิดปัญญา

 
orawan.c
วันที่  27 พ.ย. 2551
หมายเลข  10526
อ่าน  5,269

พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้หลายนัย แต่ขอนำเสนอโดยนัยดังต่อไปนี้คือ.....

๑. สนทนาและไต่ถาม

๒. การมีวัตถุภายในและภายนอกผ่องแผ้วและผ่องใส

๓. ปรับอินทรีย์ให้ปัญญาและศรัทธาเสมอกัน และการมีศรัทธาโดยละเอียด

๔. เว้นการคบบุคคลที่โฉดเขลา

๕. คบหาบุคคลที่มีปัญญา

๖. การพิจารณาจริยาด้วยญาณอันลึกซึ้ง

๗. มีจิตน้อมไปในคุณและเป็นประโยชน์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 27 พ.ย. 2551

สิ่งที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเหตุให้เกิดปัญญาไว้หลายนัย แต่ละนัยเกื้อกูลต่อการให้เกิดปัญญา ควรที่จะศึกษา และพิจารณาให้เข้าใจเพื่อประพฤติปฎิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ขอยกตัวอย่างว่า หากไม่ไค้คบผู้มีปัญญาอย่างท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ก็คงไม่มีโอกาสได้สนทนา และไต่ถามพระธรรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในพระธรรมได้อย่างถูกต้อง ทุกๆ นัยควรพิจารณาให้เกิดความเข้าใจ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 27 พ.ย. 2551

การตั้งใจฟังธรรม และการพิจารณาธรรมเป็นเหตุให้ปัญญาเจริญขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 27 พ.ย. 2551

สาธุ

การมีศรัทธาโดยละเอียด คืออย่างไรครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
นายเรืองศิลป์
วันที่ 28 พ.ย. 2551

เริ่มจากฟังพระธรรม ฟังแล้วพิจารณา ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจ จากไม่รู้เป็นรู้ รู้เล็กน้อยเป็นรู้มากขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้ได้สะสมอบรมปัญญายี่งๆ ขึ้นไป

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
choonj
วันที่ 28 พ.ย. 2551

การเจริญบารมี ๑๐ ก็เป็นเหตุให้ปัญญาเจริญ

ปัญญาจะเจริญไม่ใช่ง่าย เพราะสติต้องระลึกก่อน ปัญญาจึงมีโอกาสที่จะเจริญและสติจะระลึกเป็นสติปัฏฐานก็ไม่ใช่ง่าย ต้องอาศัยการฟังธรรมและเจริญกุศล การทำบุญ และต้องภาวณาให้บุญกุศลที่ทำแล้วช่วยให้เข้าใจธรรมจนเป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกสภาพธรรม ปัญญาจึงมีโอกาสเจริญได้ ไม่ใช่ง่าย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 29 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะทุกท่านค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Komsan
วันที่ 29 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
suwit02
วันที่ 26 ธ.ค. 2551

ผมได้อ่านแล้วเห็นว่าเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในกระทู้นี้เลยเอามาโพสต์ไว้ เผื่อว่าจะมีผู้สนใจ ค้นคว้าเพิ่มเติมครับ

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๕๒

ธรรม ๗ อย่าง ย่อมเป็นไปเพราะอาศัยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ

๑. ความสอบถาม (ปริปุจฺฉกตา)

๒. การทำวัตถุภายในและภายนอกให้สะอาด (วตฺถุวิสทกิริยา)

๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน (อินฺทฺริยสมตฺตปฏิปาทนตา)

๔. การเว้นบุคคลผู้ทรามปัญญา (ทุปฺปญฺญปุคฺคลปริวชฺชนตา)

๕. การคบผู้มีปัญญา (ปญฺญวนฺตปุคฺคลเสวนตา)

๖. การพิจารณาจริยาด้วยญาณอันลึกซึ้ง (คมฺภิรญาณจริยปจฺจเวกฺขณตา)

๗. ความน้อมจิตเพื่อให้ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นเกิดขึ้น (ตทธิมุตฺตตา) .


พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๓๔

ธรรม ๗ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ

๑. การสอบถาม

๒. การทำวัตถุให้สะอาด

๓. การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน

๔. การเว้นจากบุคคลผู้มีปัญญาทราม

๕. การเสพบุคคลผู้มีปัญญาดี

๖. การพิจารณาดำเนินไปด้วยญาณอันลึกซึ้ง

๗. การน้อมจิตไปในธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้น

บรรดาธรรมเหล่านั้น ข้อว่า การสอบถาม ได้แก่ ความเป็นผู้มากด้วยการสอบถามอันอาศัยอรรถ แห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ องค์แห่งมรรค ฌาน สมถะและวิปัสสนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
orawan.c
วันที่ 27 ธ.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
คุณ
วันที่ 21 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
noynoi
วันที่ 18 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Wisaka
วันที่ 11 ต.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ประสาน
วันที่ 17 ก.พ. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ