เห็นแล้วก็คิด
เมื่อวานค่ำๆ หลายท่านได้โทรศัพท์บอกกันต่อๆ ว่าให้มองขึ้นไปดูบนท้องฟ้าจะเห็นพระจันทร์ยิ้ม ทุกๆ คนมีความสุขกันมาก เห็นแล้วต่างคนต่างคิดไปในเรื่องราวต่างๆ บางท่านบอกว่พระจันทร์ยิ้มให้ เป็นสิริมงคลจะมีเหตุการณ์ดีๆ เกิดขึ้นในบ้านเมือง จริงๆ แล้วเป็นการโคจรของดวงดาวคือ ดาวศุกร์ และ ดาวพฤหัสบดี โคจรมาเรียงกันอยู่ในตำแหน่งของลูกตาทั้งสองข้าง ส่วนพระจันทร์อยู่ในตำแหน่งของปากซึ่งกำลังยิ้มอยู่ ตามความเป็นจริงแล้วสิ่งที่จิตเห็นกำลังเห็นอยู่นั้น เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฎทางตาเท่านั้น แล้วก็คิดเป็นเรื่องราวต่างๆ จิตคิดมีจริง เรื่องราวต่างๆ เช่น พระจันทร์กำลังยิ้มไม่มีจริง
คืนนี้ พระจันทร์เปลี่ยนมุมไปอยู่ด้านบนแล้วนะคะ ดูหกขะเมนตีลังกา ไม่ทราบว่าจะเปลี่ยนคำทำนายเป็นไงกันบ้าง อยากรู้จัง?
สิ่งที่ปรากฏทางตา เห็น แล้วคิดว่าพระจันทร์ยังไม่ยิ้ม เพราะเอียงอยู่อนุโมทนาคะ
สิ่งที่ปรากฎทางตา เห็นแล้วคิดว่าเป็นพระจันทร์ยิ้ม พระจันทร์ไม่มี สมมติว่ามีและกำลังยิ้ม
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 2 โดย ไตรสรณคมน์
คืนนี้ พระจันทร์เปลี่ยนมุมไปอยู่ด้านบนแล้วนะคะ ดูหกขะเมนตีลังกาไม่ทราบว่าจะเปลี่ยนคำทำนายเป็นไงกันบ้าง อยากรู้จัง? ทำนายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาครับ
แล้วเป็นอนัตตาด้วยใช่มั้ยค่ะ เพราะไม่อยู่ในอำนาจ (บังคับบัญชาของใคร)
จิตนี้กระเพื่อมไหวไป ตามสิ่งที่ปรากฏทางตา
ขออนุโมทนาครับ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 4 โดย JANYAPINPARD
พี่แจนค่ะ เข้ามาแล้วไม่พูดไม่จา หมายความว่าไง? เม้นท์หน่อยค่ะ เมนท์หน่อย ;D
จันทร์ยิ้ม ก็เป็นอนัตตา โพสต์ซ้ำ ก็เป็นอนัตตา ตามที่ได้ฟังมา (ยังไม่ประจักษ์) ธรรมทั้งปวงล้วนเป็นอนัตตา
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 5 โดย suwit02
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 2 โดย ไตรสรณคมน์
คืนนี้ พระจันทร์เปลี่ยนมุมไปอยู่ด้านบนแล้วนะคะ ดูหกขะเมนตีลังกา ไม่ทราบว่าจะเปลี่ยนคำทำนายเป็นไงกันบ้าง อยากรู้จัง? ทำนายว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดาครับ
โห..... ท่านวิท ..... เอารูปมาจากไหนอะ สวยได้ใจจริงๆ .......ชอบค่ะ
การแสดงรูป มีเหตุปัจจัยจาก การเห็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจจากพี่วี ข้อมูลรูป มีเหตุปัจจัยจาก กูเกิ้ล ส่วนวลีที่ใช้ในการค้นหา (คำทำนาย ดาวเคียงเดือน) นั้น มีเหตุปัจจัยจาก ความเห็นที่ 2 ครับ
ขณะที่สติเกิด เห็นแล้วรู้ว่าเป็นธรรมะอย่างหนึ่งไม่ใช่เรา แต่ถ้าหลงลืมสติก็เห็นแล้วคิดเป็นเรื่องราวค่ะ
ตอนหัวค่ำ ลูกสาววิ่งมาบอกว่าให้ออกไปดูพระจันทร์และดาวสองดวงสวยมาก ยังไม่ว่างและไม่ตื่นเต้นที่จะออกไปดู (ทำกับข้าวอยู่ครับ) สักประเดี๋ยวมีโทรศัพท์อีกสองสามสายจากเพื่อนฝูงโทรฯมาบอกให้ดูพระจันทร์ที่ว่าครับ สุดท้ายจึงคว้ากล้องใส่เลนส์ซูมติดขาตั้งกล้องขึ้นบนดาดฟ้า ขณะกำลังจดจ้องกับการถ่ายรูปก็มีเพื่อนจากเชียงใหม่โทรมาด้วยความปรารถนาดี เร่งเร้าให้พาครอบครัวออกไปกลางแจ้ง ภายใต้แสงจันทร์ แล้วให้กล่าวขอพรและจะประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา พร้อมทั้งสำทับว่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ อืมม์ ปุถุชนทั้งหลาย มีความรักตน ด้วยความเห็นผิดว่ามีตน ทำทุกสิ่งเพื่อตน ทั้งๆ ที่ไม่มีตน แค่เพียงเห็นกับการได้ยิน (เรื่องราว) หากขาดการศึกษาและพิจารณา ฤ จักรู้ได้ว่ามีเพียง "เห็น" และ "ได้ยิน" เท่านั้น อื่นๆ นั้นหามีไม่ เรื่องราวทั้งสิ้น จริงๆ
ไปสนามหลวงไปดูสิ่งที่เขาใช้เงินเป็นร้อยล้านสร้างขึ้น ถึงแม้นว่าจะเป็นสิ่งที่ปรากฎทางตา แต่ก็มีคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมที่มีค่ามากกว่าเงิน ได้ดูพระจันทร์ยิ้ม ก็เป็นสิ่งที่ปรากฎทางตาอีก ผมไม่ได้ดูทั้งสองอย่างเพราะไม่มีคนชวนและพาไปดู ทุกวันนี้ก็ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส มากพออยู่แล้ว แถมตามมาอย่างเร็วด้วยการคิดนึก ก็เอาไม่อยู่แล้ว สงสัยจริงๆ ว่ามีการไม่คิดนึกไหมหรือว่าคิดนึกเป็นธรรมชาติของคนไปแล้วที่จะไม่คิดนึกไม่มี ยกเว้นขณะที่จิตเป็นกุศลแล้วก็กลับมาคิดอีกเหมื่อนเดิมคิดนึกมีประโยชน์เมื่อคิดถูก ส่วนใหญ่จะฟุ้งซ่านมากกว่า ครับ
มีเห็น เกิดขึ้นจริง เป็นอนัตตา รู้เดี๋ยวนี้เลย มีคิดเกิดขึ้นจริง เป็นอนัตตา รู้เดี๋ยวนี้เลย หากปล่อยไป ไม่รู้ ณ ขณะนี้เลย ก็เป็นเรื่องราว เป็นตัวเรา ของเรา แท้จริงคือไม่มีเรื่องราว ไม่มีเรา ไม่มีของเรา เมื่อมีแต่ความไม่รู้ จึงมีเรื่องราว มีเรา มีของเรา
ผมมีความเข้าใจว่าพระอรหันต์ เห็นแล้วอาจไม่คิดก็ได้เพราะจิตเป็นกิริยา แล้วก็ในขณะที่จิตเป็นกุศล คิดไม่น่าจะมี??
เรียน พี่choonj ที่นับถือ (ความเห็นที่ 18) ค่ะ
ไม่มีใครที่เห็นแล้วไม่คิดค่ะ คิดเป็นสภาพธรรมที่มีจริง แต่เรื่องราวที่คิดไม่มีจริง ปุถุชนเห็นแล้วส่วนใหญ่จะคิดไปทางอกุศลมากกว่ากุศล เพราะกิเลสที่สะสมมามากมายในอดีตเป็นปัจจัย สำหรับท่านพระอรหันต์ท่านเห็นแล้วคิด แต่ท่านหมดกิเลสแล้ว ท่านรู้ทุกอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง จิตที่เกิดต่อจึงเป็นกิริยาจิต ไม่เป็นกุศล หรือ อกุศลค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
ผมเว้นวรรคไว้แล้วแต่ก็พลาดจนได้ ผมไม่ได้หมายถึงพระอรหันต์ครับ หมายถึงคนทั่วไป เห็นแล้วจิตเป็นกุศลมีไหมครับ เป็นคำถามนะครับเห็นเครื่องหมายคำถามสองอันไหม ผมเห็นหมูถามแล้วแสดงท่างงอยู่ ผมก็เหมื่อนหมูนั้นแหละครับ
โดยจิตตนิยามแล้ว ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงธรรมชาติการเกิดดับสืบต่อของจิตตามอำนาจของเหตุปัจจัยได้ ไม่มีการแบ่งว่า ถ้าเป็นพระอรหันต์หลังเห็นไม่คิด แต่ถ้าเป็นปุถุชนจะคิด เมื่อว่ากันตามเป็นจริง หลังจากที่จิตเห็นดับไปแล้ว ก็จะมีการเกิดดับสืบกันของจิตทางจักขุทวารวิถีต่อไปโดยไม่ขาดสาย จากนั้นก็มีภวังคจิตเกิดคั่น แล้วก็จะมีมโนทวารวิถีจิตเกิดสืบต่ออีกหลายวาระ มโนทวารวิถีจิตในวาระหลังๆ ก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์ ซึ่งก็คือจิตที่คิดนึกถึงเรื่องราวนั่นเองครับ ไม่ว่าเป็นกุศลจิต อกุศลจิต หรือ (ชวนะ) กิริยาจิต ถ้าขณะนั้นเป็นการคิดนึกถึงเรื่องราว ทางใจก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์
เรื่องยาวจากดาว 2 ดวงและพระจันทร์
คิดเหมือนกันค่ะ คิดว่าไม่เคยเห็น ดีจัง ได้เห็นอะไรแปลกๆ บนฟ้าบ้าง ความคิด ไม่มีหยุดนิ่งเลย เคยได้ยินจากไหนไม่รู้ รู้สึกจะเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน แถลงว่า มนุษย์ที่หยุดคิด คือ มนุษย์ที่ตายแล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าจริงเท็จยังไง ในความเป็นปุถุชน คิดว่าคงใช่ เพราะที่แน่ๆ ขณะนี้ก็คิดอยู่เรื่อยๆ ไม่รู้จักเหนื่อยที่จะคิดเลย (แปลว่าเป็นมนุษย์ที่ยังไม่ตาย...มั้งคะ)
ขอบคุณ เมตตา นี่คือคำตอบที่ผมรอคอย ที่นี้ก็มีสองอย่าง คือ เห็นแล้วคิด และเห็นแล้วไม่คิด เราก็ได้เรียนมาว่า ชื่อว่าจิตเพราะ อรรถว่า คิด อธิบายว่ารู้แจ้งอารมณ์หมายความว่าเมื่อจิตเกิดก็คิดแล้ว จึงว่าพระอรหันต์เห็นแล้วก็คิดแล้ว ถ้าอย่างนั้นเห็นกับคิดก็ต้องเป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อเห็นไม่ใช่คิดก็น่าจะมีช่องว่างระหว่างเห็นกับคิด คือไม่คิด ใช่ไหมครับ
ขอบคุณอาจารย์ครูโอที่ให้ความรู้ ความเห็นที่ ๒๒ ครับ
เห็นเป็นจิตขณะหนึ่ง คิดนึกถึงสิ่งที่เห็นก็เป็นจิตอีกขณะหนึ่ง ทั้งสองไม่ใช่สภาพธรรมเดียวกันครับ ถ้ายกคำว่า "รู้แจ้งอารมณ์" ขึ้นมาก็ไม่ได้หมายความว่า จิตทุกประเภทที่เกิดจะต้องคิดเป็นคำๆ เช่น ทางตา จิตเห็นเกิดขึ้น ก็รู้แจ้งสี จะสีอะไรก็ตามที่ปรากฏจิตเห็นก็เพียงเห็นสีเท่านั้น จิตเห็นไม่ได้คิดเป็นคำๆ ว่านี่สีแดง หรือนี่สีเขียว แต่รู้แจ้งอารมณ์ คือรู้แจ้งในสี ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรากฏได้ทางตานั่นเอง ส่วนการคิดเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นจิตที่คิดนึกทางใจ รู้แจ้งอารมณ์ได้เช่นกัน แต่อารมณ์ที่จิตคิดนึกรู้แจ้งนั้น เป็นบัญญัติ ส่วนช่องว่างที่คั่นระหว่างการเห็น กับ การคิด ก็คือ ภวังคจิตครับ ภวังคจิตไม่คิดเป็นคำๆ แน่นอน เพราะฉะนั้น เห็น (ไม่คิด) ภวังค์ (ไม่คิด) แล้วคิดเมื่อไร? เมื่อในขณะนี้ เหมือนกับว่า มีการเห็นตลอดเวลา ความจริงก็มีภวังคจิตคั่นทุกๆ วิถี แต่การเกิดดับสืบต่อกันของจิตอย่างรวดเร็วจากทางตา มีภวังค์คั่น ไปสู่ทางใจ ไม่ใช่สิ่งที่จะรู้ได้โดยง่ายเลย เพราะในขณะนี้อวิชชาปิดบังไว้มิด ผู้ที่ไม่รู้ก็มืดสนิท ขณะไหนเห็น ขณะไหนคิด ดูเหมือนติดๆ กันไป พร้อมๆ กันไปหมด ที่จะค่อยๆ รู้ได้ว่าไม่ติด และไม่พร้อมก็ต้องด้วยการอบรมเจริญสติปัฏฐานเท่านั้นครับ
คิด นึก ตรึกถึงอารมณ์ เป็นลักษณะของวิตกเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตเกือบทุกดวงทุกประเภทยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ และฌานจิตตั้งแต่ทุติยฌานขึ้นไป แม้แต่ในภวังคจิตก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ดังนั้น ไม่มีใครที่เห็นแล้วไม่คิดค่ะ พระอรหันต์เห็นแล้วก็คิด.แต่จิตของท่านมีเพียง 2 ชาติ คือวิบากและกิริยา สำหรับปุถุชนความคิดเกิดได้กับจิตทั้ง 4 ชาติค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านที่เกื้อกูลอธิบาย ได้รับความรู้ความเข้าใจมากมายเลยค่ะ
^๐^
ขออนุโมทนาที่ได้กรุณาให้รายละเอียดเพิ่มเติมครับขออนุญาตสอบทานเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มเติม ดังนี้นะครับถ้าหากจะกล่าวว่า " ภวังคจิตไม่คิดเป็นคำๆ แน่นอน เพราะไม่ใช่วิถีจิตทางมโนทวารแต่วิตกเจตสิกที่เกิดกับภวังคจิตนั้นตรึก จรด (คิด นึก) ในอารมณ์เดียวกันกับอารมณ์ของปฏิสนธิจิตในชาตินี้ "กล่าวถูกไหมครับเพราะคำว่า "คิด" กับ "ตรึก" พอใช้ในภาษาไทย ก็เลยดูเหมือนจะปนๆ กันแต่พอเป็นอภิธรรม ก็หมายถึง วิตกเจตสิก
คิดว่าทำให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นมากครับเพราะฉะนั้น ที่ภวังคจิต (ไม่คิด) ควรจะกล่าวว่า" วิตกเจตสิกที่เกิดกับภวังคจิต ไม่ตรึกหรือคิดเป็นคำๆ เพราะอารมณ์ของภวังคจิตไม่ใช่บัญญัติ " อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ
ภวังคจิตมีอารมณ์เดียวกับชวนจิตสุดท้ายก่อนจุติ ชวนวิถีนั้นต้องเป็นปรมัตถอารมณ์เท่านั้นหรือ? เป็นบัญญัติได้มั้ยค่ะ? ในเมื่อมรณาสันนวิถี คือ ชวนจิตสุดท้าย ต้องมีอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งใน 3 อารมณ์นี้ คือ คตินิมิต กรรมนิมิต กรรมอารมณ์
ขออนุโมทนาค่ะ
เป็นการสนทนาที่น่าสนใจมาก .... แม้ยังไม่เข้าใจ
แสดงว่าหลังเห็น (ขณะเห็นนี่ไม่คิดแน่นอน) เรื่อยมาจนถึงภวังค์ เรื่อยมาจนถึงทางใจวิตกเจตสิกเกิดกับจิตโดยตลอด (คิดกันมากเลยทีเดียว) ขอลองยกตัวอย่างการเห็นทางจักขุทวาร ถึงทางใจ (ผิดช่วยแก้ไขให้ด้วยนะครับ) เช่น
จิต วิตกเจตสิกเกิดร่วม อารมณ์ปัญจทวาราวัชชนจิต มี รูปารมณ์จักขุวิญญาณ ไม่มี รูปารมณ์สัมปฏิจฉันนจิต มี รูปารมณ์สันตีรณจิต มี รูปารมณ์โวฏฐัพพนจิต มี รูปารมณ์ชวนจิต มี รูปารมณ์ (ตทาลัมพณจิต) มี รูปารมณ์
ภวังคจิต มี? (ปรมัตถอารมณ์ หรือ บัญญัติอารมณ์)
มโนทวาราวัชชนจิต มี รูปารมณ์ (ไม่แน่ใจ?) ชวนจิต มี รูปารมณ์ (ตทาลัมพณจิต) มี รูปารมณ์...
ขนาดนี่ยังไม่ทันคิดเป็นรูปร่างสัณฐาน หรือเป็นคำอะไร หลังจักขุวิญญาณดับ ก็คิดกันไปเสียมากแล้ว แต่แสนยากที่จะรู้จริงๆ ว่าวันหนึ่งๆ คิดมากขนาดไหน เพราะส่วนใหญ่ก็รู้เป็นบัญญัติด้วยความเป็นเราเกือบตลอดครับ
ขออนุโมทนาครับ
สาธุ มิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น สนทนาธรรมตามกาล เป็นอุดมมงคล
ขอบพระคุณอาจารย์ครูโอ สำหรับความเข้าใจ (แบบละเอียดยิบ) และกำลังรออ่านคำตอบที่ถามไว้ เช่นกัน จะได้เข้าใจเพิ่มขึ้น
เรื่องวิถีจิตนี้เข้าใจยากมาก เพราะยังไม่ประจักษ์ ทราบแต่ชื่อเท่านั้นค่ะแต่ก็ช่วยให้ค่อยๆ เข้าใจกระบวนการทำงานของจิตมากขึ้นที่บอกว่าเป็น อนัตตา จำเป็นต้องรู้รายละเอียดพอสมคว (ขออนุญาตเรียนถามนอกประเด็นนิดนึงนะคะ) สืบเนื่องจาก ความเห็นของคุณ ไตรสรณคมน์ ที่ว่า
"สำหรับปุถุชนความคิดเกิดได้กับจิตทั้ง 4 ชาติค่ะ"ขอเรียนถามว่า
ความคิด ที่เกิดกับจิต ชาติวิบากมีลักษณะอย่างไรคะ กรุณายกตัวอย่างในชีวิตประจำวันประกอบด้วย
จักขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
ใครพอมีเวลา จะตอบก่อนตอบก็ได้นะคะ
ขอบพระคุณค่ะ
อ้างอิงความคิดเห็นที่ 33
"สำหรับปุถุชนความคิดเกิดได้กับจิตทั้ง 4 ชาติค่ะ"
ขอเรียนถามว่า
ความคิด ที่เกิดกับจิต ชาติวิบากมีลักษณะอย่างไรคะ กรุณายกตัวอย่างในชีวิตประจำวันประกอบด้วย
ขอเรียนถามก่อนนะคะ
ทราบรึยังค่ะว่า วิบากจิตมีลักษณะอย่างไร
ว้าว ประเด็นน่าสนใจยิ่งขึ้นทุกที อนุโมทนาค่ะ ตามอ่านอยู่นะคะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ
^๐^
ขออธิบายเท่าที่เข้าใจนะคะ
วิบากจิต มีลักษณะรู้อารมณ์เช่น ถ้ามีตา ก็ต้องเห็น ขณะเห็นเป็นผลของกรรม ไม่ใช่กรรม ขณะเห็นสิ่งทีดี หรือไม่ดี ยังไม่รู้ความหมาย เมื่อไม่รู้ความหมายของสิ่งที่เห็น ก็ไม่เกิดอกุศลจิต หรือกุศลจิตหู กาย โดยนัยเดียวกันวิบากจิตอื่นๆ ที่เกิดตรงวิถีจิต นอกจากปัญจวิญญาณจิตทางใดทางหนึ่ง แล้วก็มี ปฏิสนธิจิต และ จุตติจิต...ที่ไม่เคยรู้ลักษณะเลยค่ะ ทราบแต่ว่าเห็นกับ คิด ไม่ใช่ขณะเดียวกัน และเป็นจิตคนละประเภทจิตเห็นเป็นวิบาก (ผลของกรรม) กุศลวิบากหรืออกุศลวิบากจิตคิด เป็นกรรม (เจตนาเจตสิก) กุศลกรรมหรืออกุศลกรรม เช่น เห็น กับ ยิ้ม ไม่ใช่ขณะเดียวกัน และ เป็นจิตคนละประเภท
ถูกต้องไหมคะ
ผิดถูกประการใด กรุณาแนะนำด้วยนะคะเพิ่งเริ่มศึกษาเรื่องวิถีจิตน่ะค่ะยังไม่กระจ่างเลยค่ะ เพราะรู้ยากด้วยความนับถือ และขอขอบพระคุณ ที่ให้ความสนใจในคำถามค่ะ
สำหรับข้าพเจ้า ภาพที่ปรากฏ เป็นกุศลวิบากค่ะ แต่ตอนหานี่นะซิ ไม่ใช่วิบากส่วนใหญ่เป็นอกุศลจิต เพราะชอบค่ะ
น่าสนใจมากคะ ขอผู้รู้ทุกท่านช่วยตอบหน่อยเท่าที่จำได้ คิดเกิดทางมโนทวารเท่านั้นนี่นา
ในชีวิตปัจจุบันขณะที่เห็นไม่ใช่ขณะที่คิด ขณะที่เห็นนั้นเป็นวิถีจิตทางปัญจทวารดับหมดแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะแล้ว มโนทวารวิถีจิตก็เกิดสืบต่อ มโนทวารวิถีจิตวาระแรกมีรูปารมณ์ที่เพิ่งดับไปทางจักขุทวารนั่นเองเป็นอารมณ์ มโนทวารวิถีจิตวาระแรกที่เกิดต่อจากจักขุทวารวิถีจิตนั้นยังไม่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่ขณะที่คิดนั้นเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร เมื่อมโนทวารวิถีจิตวาระที่ ๑ ดับไปแล้ว ภวังคจิตก็เกิดคั่นหลายขณะ แล้วมโนทวารวิถีจิตวาระต่อไป ก็เกิดต่อมีบัญญัติคือ รูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฎนั้นเป็นอารมณ์ สำหรับปุถุชนแล้วหลังจากคิดแล้วจะเป็น กุศล และอกุศลเท่านั้นค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
เมื่อวาน ข้าพเจ้าฟังวิทยุทางคลื่นเอเอ็ม ๑๔๒๒ ตอน ๕ โมงกว่า ก่อน ๖ โมงเย็นได้มีโอกาสฟัง คุณสุรีย์ถาม เรื่อง "วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก"
ท่านอาจารย์กล่าวไว้บางตอนว่า (เข้าใจว่า..ในชีวิตประจำวันของเรา) "นอกจากทวิปัญญวิญญาณจิต จิตทุกดวงต้องเกิดร่วมกับวิตกเจตสิก วิจารเจตสิกฯลฯและเมื่อมี วิตกเจตสิก ที่ตรึกในอารมณ์ที่ปรากฏ วิจารเจตสิก ต้องเกิดสืบต่อทันทีการตรึก ไม่ใช่ การคิดเป็นคำๆ และพระปัญญาคุณ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่อง จิตและเจตสิกไว้โดยละเอียดไม่ใช่ไปรู้ทั้งหมด แต่เมื่อได้ยินได้ฟังคำใดคำหนึ่ง อย่าผ่านไปโดยไม่รู้แต่ควรทราบว่า คำนั้น เช่น วิตกเจตสิก วิจารเจตสิก หมายความว่าอย่างไรเพื่อรู้ลักษณะ
ฟังแค่นี้ ก็เข้าใจแค่นี้ค่ะ
การศึกษาปรมัตถธรมโดยละเอียด ก็เพือความเข้าใจถึงความเป็นอนัตตาของธรรมะทั้งปวง แต่ไม่ควรหวังว่าจะรู้แจ้งตามพระปริยัติทุกประการ เพราะการรู้ธรรมประการต่างๆ นั้นทั้งหมดเป็นวิสัยของพระผู้มีพระภาค บางส่วนเป็นวิสัยของพระอัครสาวก พระมหาสาวก พระอรหันต์ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน ปุถุชนผู้ได้วิปัสนาญาณขั้นต่างๆ และส่วนน้อยเท่านั้นที่ผู้เริ่มศึกษาจะรู้ได้จริงๆ
ดังนั้น ผู้เริ่มศึกษา (ผมเองครับ) จึงควรค่อยๆ ระลึกถึงลักษณะของสภาพธรรมที่พอจะรู้ได้จริงๆ ในขณะนี้ เช่น สี-การเห็น (ขณะเห็น) เสียง-การได้ยิน (ขณะได้ยิน) เรื่องราว-การคิด (ขณะคิด) เพราะแม้ว่าในความเป็นจริงนั้นจะมีสภาพธรรมเกิดขึ้นพร้อมกันหลายอย่างตามที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียด แต่จะระลึกศึกษาได้ทีละอย่างตามระดับของปัญญาครับ
เรียน พี่เมตตา (ความคิดเห็นที่ ๓๘) ครับ ขณะที่คิดนั้นเองที่เป็นกุศลหรืออกุศลสำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ซึ่งส่วนใหญ่ปุถุชนคิดด้วยอกุศลครับ
ขออนุญาต อ้างอิงจากความคิดเห็นที่ ๒๖ โดย คุณไตรสรณคมน์.ที่กล่าวว่า.
คิด นึก ตรึกถึงอารมณ์ เป็นลักษณะของวิตกเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตเกือบทุกดวงทุกประเภท ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ และฌานจิตตั้งแต่ทุติยฌานขึ้นไป
แม้แต่ในภวังคจิตก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย ดังนั้น ไม่มีใครที่เห็นแล้วไม่คิดค่ะ
พระอรหันต์เห็นแล้วก็คิด แต่จิตของท่านมีเพียง 2 ชาติ คือวิบากและกิริยา
สำหรับปุถุชนความคิดเกิดได้กับจิตทั้ง 4 ชาติค่ะ และ
เรียน พี่เมตตา (ความคิดเห็นที่ ๓๘) ครับ ขณะที่คิดนั้นเองที่เป็นกุศลหรืออกุศล สำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ ซึ่งส่วนใหญ่ปุถุชนคิดด้วยอกุศลครับ
โดย คุณ K
ขออนุโมทนาค่ะ ข้าพเจ้า ขอร่วมแสดงความคิดเห็น ดังนี้ค่ะ
ที่คุณไตรสรณคมน์ อธิบายว่า สำหรับปุถุชนความคิดเกิดได้กับจิตทั้ง 4 ชาติค่ะ
เข้าใจว่าหมายถึง....
เนื่องจากปุถุชน มีจิตที่เป็น ชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก ชาติกิริยา เกิดดับสลับกันในชีวิตประจำวัน
จิตคิด (กรรม) เกิดแล้วดับ เป็นอกุศลกรรมบ้าง เป็นกุศลกรรมบ้าง (ซึ่งจะให้ผลต่อไป) แล้วแต่เหตุปัจจัย
จิตเห็น (อกุศลวิบากก็ได้ กุศลวิบากก็ได้) เกิดแล้วดับแล้ว จิตต่อไป (ถ้าเป็นกรรม) ก็เป็นกุศลกรรมบ้าง เป็นอกุศลกรรมบ้าง แล้วแต่เหตุปัจจัย
จิตคิด (อกุศลกรรม หรือกุศลกรรม) เกิดแล้วดับแล้ว กิริยาจิต ไม่ใช่กรรม ไม่ใช่วิบาก (ไม่ว่าจะเป็นของปุถุชน หรือของพระอรหันต์) (ต้อง) ไม่มีลักษณะกุศล ไม่มีลักษณะอกุศล
อกุศลจิต กุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต ไม่ได้สัมปยุตต์กัน
เป็นจิตนิยามของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงเพื่อให้เข้าใจ "ลักษณะ" ของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง
(ถ้าเข้าใจผิด กรุณาทักท้วง หรือแนะนำเพิ่มเติมด้วยนะคะ)
เรียน คุณ พุทธรักษา
ผมอ่านความคิดเห็นของคุณ พุทธรักษา ทำให้มีคำถาม ไม่น่าจะเป็นคำถาม น่าจะเป็นคำถามสรุป เพื่อให้แฟนๆ ที่ติดตามอ่าน ได้เข้าใจถูกต้องตรงกัน ตอนนี้เข้าใจตรงกันแล้วว่า วิญญานจิตสิบดวง ที่มีสัพจิตสาธารณเจตสิก เจ็ดดวงเท่านั้นประกอบ และไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แถมยังเป็นวิบากจิตอีก จิตเหล่านี้เมื่อเกิด ไม่ทำหน้าที่คิด เพราะจิตแต่ละดวงมีหน้าที่ของเขาเอง เช่น จิตเห็นไม่ทำหน้าที่ได้ยิน เป็นต้น นี่ก็เป็นคำตอบว่าจิตเห็นไม่คิด และวิบากจิตที่ไม่มีวิตกเกิดร่วมด้วยคิดไม่ได้ เมื่อถึงตอนนี้คุณพุทธรักษาช่วยออกความเห็นด้วยว่า ถูกต้องมากน้อยหรือเปล่า ทีนี้ก็มาพูดเรื่องวิบากจิตดวงอื่นๆ ที่มีวิตกเกิดร่วมด้วยว่าคิดหรือเปล่า ถึงแม้นว่ามีวิตกเกิดร่วมด้วย แต่จิตเป็นใหญ่เป็นประธานแล้วก็มีหน้าที่เดียว เช่น วิบากจิตในวิถีและพ้นวิถี ภวังค์ทำหน้าที่ภวังค์ สันตีรณทำหน้าที่สันตีรณ ต่างดวงต่างมีกิจของตัวเอง อย่างนี้เรียกว่าคิดหรือเปล่า เอ ทำไมถึงมาเป็นคำถามของคุณพุทธรักษาพอดี ผมว่าไม่น่าจะคิดนะครับ หรือ ยังไง? ถ้าคำตอบคือไม่คิด ก็จะเป็นคำตอบว่าจิตเหล่านี้ไงที่เมื่อเกิดหลังเห็นแล้วไม่คิด หรือคุณพุทธรักษาว่าไง แฟนๆ เขารอฟังอยู่ครับ ผิดผลาดประการใดขออภัยครับ
วิตกเจตสิกหมายถึงจรดในอารมณ์ หรือตรึกในอารมณ์ ส่วนคิดเป็นจิตที่คิด ซึ่งมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยทำกิจจรดในอารมณ์ที่จิตคิด เกิดทางมโนทวารค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 43 โดย เมตตา
วิตกเจตสิกหมายถึงจรดในอารมณ์ หรือตรึกในอารมณ์ ส่วนคิดเป็นจิตที่คิดซึ่งมีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยทำกิจจรดในอารมณ์ที่จิตคิดเกิดทางมโนทวารค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ "ส่วนคิดเป็นจิตที่คิด" จิตคิดได้หรือค่ะ? จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ จิตคิดไม่ได้ค่ะเมื่อจิตคิดไม่ได้ แล้วสภาพธรรมใดที่คิดค่ะ ถ้าไม่ใช่วิตกเจตสิก?
เรียน คุณ choonj ที่นับถือ
ก่อนอื่น ขออนุโมทนาในความสนใจพระธรรมและมีการติดตามและสนใจในการสนทนาธรรม เพื่อความรู้
ขอเรียนให้ทราบว่า โดยส่วนตัวยังมีความรู้น้อยมาก ยังผิวเผิน ยังหยาบอยู่มากค่ะ ที่ได้ฟังพระธรรมมานั้น ก็ได้ความรู้พื้นฐานมา เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและทำความเข้าใจ ในรายละเอียดที่ลึกๆ ลงไป ในส่วนที่ยากที่จะเข้าใจค่ะ
โดยส่วนตัว ข้าพเจ้าศึกษาพระธรรมไปเรื่อยๆ แบบสบายๆ ก็เลยไม่เครียด เพราะไม่ต้องสอบเอาคะแนน หรือ ปริญญา
เมื่อก่อนฟังแล้วติดศัพท์ภาษาบาลีบ้าง งงบ้าง ก็เลยเครียดเคยสงสัยมากมาย ไม่ได้คำตอบก็เครียด จึงทราบว่านั่นไม่ใช่ทางที่ถูกต้องฟังแล้วสงสัย แล้วก็ติดที่สงสัย ทำให้เสียโอกาสในการฟังข้อความต่อๆ ไปที่เข้าใจได้มากกว่า
เมื่อลองเปลี่ยนจากถามมาก มาเป็นฟังมาก ก็ทราบว่าคำตอบนั้นมีอยู่แล้วและจะค่อยๆ ให้เข้าใจขึ้น โดยไม่ต้องถามเลย แค่ไม่ทิ้งการฟัง เพิ่มการอ่านและ การสนทนากับผู้ที่เข้าใจมากกว่าด้วย.และท่านอาจารย์ไม่ได้อธิบายเรื่องอื่นๆ ที่รู้ไม่ได้แต่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ตามกำลังปัญญา ของเราเอง
เมื่อมีโอกาสเข้าบ้านธัมมะ และมีโอกาสได้อ่านมากขึ้นจึงทราบว่าการอ่านนั้นมีประโยชน์ไม่แพ้การฟัง การอ่านทำให้มีการทบทวนได้ เช่น อ่านรอบแรก ไม่เข้าใจ ลองอ่านอีก และควรประกอบการฟังด้วย
เมื่อเข้าใจขึ้น ก็ลองฟังความคิดเห็นจากท่านอื่น ก็มีความเข้าใจขึ้นอีกและจากประสบการณ์ในการศึกษาทางโลก ทราบว่า การเรียนรู้เพื่อปัจจัย ๔ เช่น อ่านแล้วทำโน้ตย่อนั้น ทำให้เกิดความเข้าใจแบบไม่ผิวเผิน ทบทวนได้บ่อยๆ และทางบ้านธัมมะก็ยังเปิดโอกาสให้ใช้กระดานสนทนาเพื่อสนทนาธรรมด้วย
เมื่ออ่านหนังสือธรรมะ อ่านแล้วทำโน้ตย่อไว้อ่านเอง แล้วเริ่มเกิดความคิดว่า ทำไมไม่อ่าน แล้วพิมพ์ลงไปในกระดานสนทนาล่ะคนอื่นจะได้อ่านด้วย ถ้าเขาสนใจจะอ่าน และมีเวลาอ่าน
จึงลองพิมพ์ข้อความจากหนังสือ หรือเอกสารที่ได้รับจากทางมูลนิธิฯ ตอนแรก ก็พิมพ์เฉพาะข้อความ ที่ตัวเองคิดว่าพอจะเข้าใจบ้างแล้วแล้วเกิดความคิดว่า แทนที่จะข้าม ข้อความที่ตัวเองไม่เข้าใจ แต่ลองพิมพ์ไป แล้วถามตรงที่ยังไม่เข้าใจ ถามเพื่อเข้าใจ ในข้อความที่ไม่เข้าใจ และจากความเห็นของท่านที่เข้าใจมากกว่า ก็เป็นประโยชน์ตน และประโยชน์ท่าน
ปรากฏว่ามีหลายท่านที่เมตตาอนุเคราะห์ และกรุณาตอบมา ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น (เท่าที่จะเข้าใจได้) เข้าใจว่ามีประโยชน์ มากกว่าอ่านอยู่คนเดียว และที่เล่ามาเสียยาวนี่ ก็เพราะต้องการจะเรียนให้ คุณชุณห์ ทราบว่าข้าพเจ้า ถนัดที่จะฟัง อ่าน คิด เขียน และถาม เฉพาะส่วนที่ตัวเองยังไม่เข้าใจและคิดน่าจะเข้าใจได้จากการสนทนา แต่ถ้าเข้าใจตอนนี้ไม่ได้ ก็ไม่เป็นไร ศึกษาไปเรื่อยๆ จะค่อยๆ เข้าใจมากขึ้นได้
มีฉันทะในการเขียน อ่าน และ ถาม มากกว่าที่จะตอบเพราะยังไม่มีปัญญามากพอที่จะตอบ จริงๆ ค่ะ เรื่องอภิธรรม โดยเฉพาะเรื่องวิถีจิต ที่คุณชุณห์ถาม ตอบไม่ได้ค่ะ เพราะเริ่มจะศึกษา ทำความเข้าใจ และก็ศึกษาจากการสนทนานี่ละค่ะ จึงต้องอาศัยความอนุเคราะห์จากท่านที่เข้าใจมากกว่า ช่วยกรุณาแสดงความเห็นด้วยค่ะ.
สมดังข้อความบางตอน ที่ท่านอาจารย์สุจินต์ได้กรุณากล่าวถึงประโยชน์ของการสนทนาธรรมไว้ดังนี้ค่ะ (จากกระทู้ ๑๐๖๓๗) และเป็นผู้ที่ "ไม่ประมาท" ที่จะศึกษา ให้ถูกต้อง ตรงกับสภาพธรรมตามความเป็นจริงและปัญญาของแต่ละคน ที่ได้ศึกษาแล้วเมื่อมีการพบปะข้อความใด ที่ต่างกัน ไม่สอดคล้องกันก็ขอให้นำมาสนทนา และพิจารณา เพื่อความแจ่มแจ้งเพื่อความเห็นถูก ความเข้าใจถูกตรงต่อลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ยิ่งขึ้นค่ะ
คำถามของคุณชุณห์คงต้องอาศัยปัญญาของท่านอาจารย์ตอบ ในกระทู้ที่เขียนต่อคือ ๑๐๖๔๔ ซึ่งคงจะได้อ่านวันพรุ่งนี้ จากคำอธิบายของท่านอาจารย์คงจะทำให้คุณชุณห์เข้าใจมากขึ้นนะคะ (ท่านอธิบายเรื่องเห็น กับ คิดนะคะ) รวมทั้งความคิดเห็นจากท่านอื่นๆ ที่ประสงค์จะอนุเคราะห์ด้วยค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 44 โดย เมตตา
เจตสิก หมายถึงสภาพธรรมที่จรดในอารมณ์ หรือ ตรึกในอารมณ์ค่ะ แต่ในภาษาไทยมีการแปลว่า คิด ซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ จิตที่คิดมี จริงแต่เกิดทางมโนทวารค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ ที่คิดว่า "เกิดทางมโทวาร" เพราะวิถีจิตเกิดดับสืบต่อกันหลายวาระ กว่าจะรู้ว่าเป็นอะไร มโนทวารวิถีจิตเกิดดับแล้วนับไม่ถ้วนค่ะ อย่างเวลาคิด ก็ต้องคิดที่ละคำใช่มั้ยค่ะ แล้วกว่าจะเป็นประโยค มโนทวารวิถีเกิดดับไปแล้วกี่วาระ? การคิดปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราวก็โดยนัยเดียวกันค่ะ ส่วนทางปัญจทวารก็มีชวนวิถีจิตเช่นเดียวกัน แต่มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ โดยการเสพอารมณ์นั้นซ้ำๆ กันถึง ๗ ขณะ อารมณ์นั้นจึงปรากฎ แต่ก็ยังรู้ยากใช่มั้ยค่ะ แล้วเราจะไปรู้วิตกเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตที่ไม่ใช่ชวน ซึ่งเกิดเพียงแค่ขณะเดียวแล้วก็ดับไปอย่างสัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ เหล่านี้ เป็นต้น ลองพิจารณาภึงสภาวะที่เกิดขึ้นจริงๆ นะคะ ว่าเป็นไปได้มั้ย
ขอร่วมสนทนาด้วยนะครับ
ถ้าอย่างนั้นการที่เราใช้คำว่า "จิตคิดนึก" จะถูกไหมครับ? หรือควรจะกล่าวว่าเป็นเฉพาะวิตกเจตสิก หรือแล้วแต่บริบทที่กำลังสนทนา เช่น ถ้าเข้าใจวิตกเจตสิกว่าเกิดร่วมกับจิตใด ไม่เกิดร่วมกับจิตใด ก็ใช้คำว่า "จิตคิดนึก" ได้ แต่ที่คิด ตรึก ในอารมณ์จริงๆ ก็คือวิตกเจตสิกนั่นแหละ แต่ด้วยความที่เจตสิกดวงนี้เกิดลอยๆ ไม่ได้ ต้องอาศัยจิตและเจตสิกดวงอื่นเกิดด้วยจึงจะเกิดได้ ในขณะที่จิตเกิดตลอด สืบต่อกันทุกๆ ขณะแต่วิตกเจตสิกไม่ได้เกิดทุกๆ ขณะ จะมีกล่าวว่า วิตกเจตสิก "คิด" ก็เฉพาะผู้ที่เข้าใจและกำลังสนทนาในส่วนปลีกย่อยที่ละเอียดลงไปอีกของพระอภิธรรม ส่วนหนึ่ง คิดว่าคงจะเป็นเพราะการศึกษาพระอภิธรรมนั้นแสนยากด้วยความละเอียดของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ (ปริยัติก็ว่ายากแล้ว) ซึ่งถ้าไม่รู้จักจิตจริงๆ การที่จะไปรู้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยบางประเภทก็คงจะยังไม่ใช่วิสัย และ "วิตกเจตสิก" ก็เป็นเจตสิกที่ลึกด้วยสภาวะไม่น้อยปรากฏให้รู้ได้ยากมากๆ ถ้าปัญญาไม่สูงพอ (อย่างเช่น ท่านพระสารีบุตร) เอ ! หรือว่าเรากำลังติดที่คำ เพราะก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ไม่ต้องใช้คำก็มี แต่ปัญญาจะรู้หรือไม่รู้เท่านั้นเอง งั้นก็พิจารณาธรรมะที่กำลังปรากฏในขณะนี้กันเถิดครับ (แล้วแต่สติ)
...ขออนุโมทนา...
เรียนคุณ choonj ที่เคารพ
จิตแต่ละประเภท มีกิจเฉพาะของจิตนั้นๆ จิตที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะ ต่างก็กระทำกิจหน้าที่ของตนๆ โดยไม่เปลี่ยนไปทำกิจของจิตอื่น หรือเปลี่ยนไปทำกิจแทนเจตสิกที่เกิดร่วมกับตนครับ ความจริงถ้าเพียงจะเข้าใจว่า การคิดนึกเป็นเรื่องของทางใจก็ไม่ผิดครับ เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วในระดับหนึ่ง เพราะเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏได้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในวิสัยให้ระลึกรู้ได้จริง แต่ว่าความลึกซึ้งที่มากไปกว่านั้น เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังมี ลองช่วยกันศึกษาลักษณะของวิตกเจตสิกในขั้นปริยัติประกอบเป็นความเข้าใจด้วยกันนะครับ เพราะพระอภิธรรมละเอียดและยากจริงๆ ผมก็คงจะต้องอาศัยการสนทนาธรรมร่วมกับท่านผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน รวมทั้งคุณ choonj เช่นกันครับ
กิจของจิต สัมปฏิจฉันนจิต (วิบากจิต) ทำสัมปฏิจฉันนกิจ (รับอารมณ์ต่อจากปัญจวิญญาณ) สันตีรณจิต (วิบากจิต) ทำสัณตีรณกิจ (พิจารณาอารมณ์)
วิตกเจตสิก วิตกเจตสิก เป็นเจตสิกที่จรดหรือตรึกในอารมณ์ที่ผัสสเจตสิกกระทบ วิตกเจตสิก เกิดกับจิต ๕๕ ดวง คือกามาวจรจิต ๔๔ ดวง และปฐมฌานจิต ๑๑ ดวง เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และทุติยฌาน ตติยฌาน จุตตถฌาน ปัญจมฌาน
วิตกเจตสิก ยอม จรดหรือตรึก ในอารมณ์ตามสภาพของจิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย
วิตกเจตสิก ซึ่งจรดหรือตรึกในอารมณ์นั้นเหมือนเท้าของโลก เพราะทำให้โลกก้าวไป (โดยจิตเกิดขึ้นเป็นไป) ตามวิตกเจตสิกนั้นๆ
(ข้อความจาก...หนังสือปรมัตถธรรมสังเขปหน้าที่ ๑๕๒)
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๙
ความหมายของคำว่าวิตก
วิตกฺเกตีติ วิตกฺโก วิตกกฺนํ วา วิตกฺโก
ธรรมที่ชื่อว่า วิตก เพราะอรรถว่า ตรึก อีกอย่างหนึ่ง การตรึก คือ การจรดอารมณ์ ชื่อว่า วิตก.
วิตกนี้นั้น มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมเณ จิตฺตสฺสอภินิโรปนลกฺขโณ)
จริงอยู่ วิตกนั้นยกจิตขึ้นในอารมณ์.เหมือนอย่างว่าคนบางคนอาศัยญาติ หรือมิตรที่เป็นราชวัลลภ จึงเข้าไปสู่พระราชมณเฑียรได้ ฉันใด จิตก็อาศัยวิตก ฉันนั้น เพราะฉะนั้น วิตกนั้น ท่านจึงกล่าวมีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ.
อนึ่ง พระนาคเสนเถระกล่าวว่า วิตกมีการเคาะอารมณ์เป็นลักษณะ
ขอถวายพระพรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุคคลตีกลอง หลังจากนั้นก็มีเสียงกลองดังกระหึ่มออกไป ฉันใด มหาบพิตรพึงเข้าพระทัย วิตกเหมือนบุคคลตีกลอง พึงเข้าพระทัยวิจารเหมือนเสียงกลองดังกระหึ่ม ฉันนั้น.
วิตกนั้น มีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นรส (อาหนนปริยาหนนรโส) จริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมกระทำจิตนั้น อันวิตกให้กระทบแล้วบ่อยๆ
วิตกนั้น มีการนำจิตมาในอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยปจฺจุปฏฺฐาโน) และมีนามขันธ์ ๓ ที่เหลือ (เวทนา สัญญา วิญญาณขันธ์) เป็นปทัฏฐาน
(เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน) * .
"....ส่วนคิดเป็นจิตที่คิด.."
จิตคิดได้หรือค่ะ? จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ จิตคิดไม่ได้ค่ะ
เมื่อจิตคิดไม่ได้ แล้วสภาพธรรมใดที่คิดค่ะ ถ้าไม่ใช่วิตกเจตสิก???
แล้วจิตเห็นล่ะค่ะ จิตเห็นเห็นได้หรือ? จิตเห็นมีจริงเป็นปรมัตถธรรม จิตเห็นเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฎทางตา (รูปารมณ์) ทำนองเดียวกันทางมโนทวาร จิตที่คิดก็มีจริงเกิดขึ้นคิดนึกไปในเรื่องราวต่างๆ มีบัญญัติเป็นอารมณ์จึงรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร เป็นสัตว์ บุคคล วัตถุสิ่งของต่างๆ จิตที่คิดก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยซึ่งทำกิจจรดในอารมณ์ที่จิตคิดนึกไป
ส่วนทางปัญจทวารก็มีชวนวิถีจิตเช่นเดียวกัน แต่มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ โดยการเสพอารมณ์นั้นซ้ำๆ กันถึง ๗ ขณะ อารมณ์นั้นจึงปรากฎ แต่ก็ยังรู้ยากใช่มั้ยค่ะ แล้วเราจะไปรู้วิตกเจตสิกซึ่งเกิดกับจิตที่ไม่ใช่ชวน ซึ่งเกิดเพียงแค่ขณะเดียวแล้วก็ดับไปอย่างสัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ เหล่านี้เป็นต้น
ก็เพราะทางปัญจทวารมีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ ไม่ได้คิดนึกเป็นรูปร่างสัณฐาน หรือเป็นคำๆ อย่างทางมโนทวารซึ่งมีบัญญัติเป็นอารมณ์
ขออนุโมทนาค่ะ
ก่อนอื่นผมขออนุโมทนากัลยาณมิตรทุกท่าน ทีช่วยกันออกความเห็น นำมาซึ่งประโยชน์ของตัวเองและผู้อื่นที่อ่านในเว็บนี้ มีการเข้ากระทู้นี้แล้วกว่า ๓๔๗ ครั้งผมมีความรู้สึกว่า การออกความเห็นบางทีก็มีการกระทบกันบ้าง แต่ก็ขออย่าถือเป็นอารมณ์ เพราะพวกเราเป็นผู้ศึกษาธรรมมีเมตตากันทุกคน ถ้าการกระทบกันไม่มี ก็ขออนุโมทนาอีกที
เรียนคุณ พุทธรักษา ทีเคารพ
ความเห็นที่ ๔๖ เล่าถึงประสพการณ์การศึกษาซึ่งเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างหนึง จับความได้ว่าเป็นผู้อ่านมาก ฟังมาก คิดมาก แถมยังเขียนมาก เมื่อศึกษามากก็ต้องมีส่วนรู้มาก เข้าใจมากเป็นธรรมดา แน่นอนส่วนไม่รู้ก็ต้องมี แต่ธรรมนี้รู้ยากก็ต้องพยายามกันไป
ขอแสดงความเห็นต่อจากความเห็นที่ ๔๑ คือ คุณพุทธรักษา พูดถึงชาติของจิตที่ กุศล อกุศล วิบาก กิริยา ผมขอเรียนว่าเราได้สนทนาประเด็นนี้ที่มูลนิธิฯ เสาร์ทีแล้ว ลองเข้าใจตามนี้ดูอาจจะเป็นประโยชน์ คือเมื่อเห็นเกิด วิบากจิตเกิด จะเป็นกุศลหรืออกุศลก็แล้วแต่ วิบากจิตนี้เป็นผลจึงไม่เป็นกรรมปัจจัยให้จิตอื่นๆ เกิดอีก แต่เมื่อเห็นแล้ว เราก็มี กิเลส กรรม สั่งสมวิบาก คือกิเลสในตัวเราและผลของกรรมที่ได้รับ ทำให้ประกอบกรรมสั่งสมเป็นกรรมปัจจัยให้จิตอื่นๆ เกิดอีกในอนาคต ไม่ทราบว่าจะตรงกับที่เขียนความเห็นที่ ๔๑ หรือไม่ ครับ
เรียน อาจารย์ครู ทีเคารพ ผมก็ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงที่ได้รับความรู้เช่นเคย ความละเอียดนี่สำคัญครับ อาทิตย์ที่แล้ว อ. สอนให้ต้องละเอียดในการฟังและศึกษาธรรม เพื่อไม่ให้ผิดถ้าผิดนิดเดียวก็ผิดทางเลย แต่การที่จะละเอียดนี่สิไม่ใช่ง่ายครับ ผมก็อยากทราบเหมื่อนกันว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไรบ้างเกียวกับการที่จะเป็นผู้ละเอียด คิดได้ตอนนี้ก็มีแต่กาลมาสูตร ครับ
อ้างอิงจาก ความคิดเห็นที่ 50
"แล้วจิตเห็นล่ะค่ะ จิตเห็นเห็นได้หรือ? จิตเห็นมีจริงเป็นปรมัตถธรรม จิตเห็นเกิดขึ้น เห็นสิ่งที่ปรากฎทางตา (รูปารมณ์) ทำนองเดียวกันทางมโนทวาร จิตที่คิดก็มีจริง"
ค่ะ.....จิตเห็นมีจริง เป็นจิตประเภทหนึ่งในจิตปรมัตถ์ทั้งหมด 89 ดวง เรียกว่า จักขุวิญญาณจิต
จิตคิดมีจริงหรอค่ะ ถ้ามีจริงๆ เป็นจิตประเภทใดในจิตปรมัตถ์ 89 ดวงค่ะ?
แต่ถ้ากล่าวว่า จิตคิด เป็นชื่อที่ใช้เรียกจิตและสัมปยุตธรรมที่เกิดร่วมด้วย ตรงนี้เห็นด้วยค่ะ :)
"ก็เพราะทางปัญจทวารมีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ ไม่ได้คิดนึกเป็นรูปร่างสัณฐาน หรือเป็นคำๆ อย่างทางมโนทวารซึ่งมีบัญญัติเป็นอารมณ์"
ถูกต้องค่ะ แต่กว่าจะคิดออกมาเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นเรื่องราวต่างๆ มโนทวารวิถีเกิดดับนับวาระไม่ถ้วนแล้วล่ะค่ะ ถ้าแค่สองสามวาระจะไม่สามารถปรุงแต่งออกมาเป็นเรื่องราวได้มากมายอย่างนี้ค่ะ ชวนจิตมีเพียงแค่ ๗ ขณะเท่านั้นนะคะ สั้นและเล็กน้อยมาก และในแต่ละชวนะก็เป็นการเสพอารมณ์เพียงอารมณ์เดียว แต่เป็นการเสพอารมณ์นั้นซ้ำกันถึง ๗ ขณะ
ลองศึกษาเรื่องอาเสวนปัจจัยดูก็ได้ค่ะ (>_<)
เป็นพระปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสรู้ความจริง และทรงแสดงค่ะ มิเช่นนั้นไม่มีใครจะรู้ได้เลย เราเป็นเพียงผู้รู้ตามเท่านั้นค่ะ ว่าขณะที่เห็นนั้นเป็นวิถีจิตทางจักขุทวารซึ่งมีสิ่งที่ปรากฎทางตาเป็นอารมณ์ (รูปารมณ์) ดับหมดแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่นหลายขณะแล้ว มโนทวารวิถีจิตก็เกิดสืบต่อ มโนทวารวิถีจิตวาระแรกมีรูปารมณ์ที่เพิ่งดับไปทางจักขุทวารนั่นเองเป็นอารมณ์
มโนทวารวิถีจิตวาระแรกที่เกิดต่อจากจักขุทวารวิถีจิตนั้นยังไม่มีบัญญัติเป็นอารมณ์แต่ขณะที่คิดนั้นเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร เมื่อมโนทวารวิถีจิตวาระที่ ๑ ดับไปแล้ว ภวังคจิตก็เกิดคั่นหลายขณะ แล้วมโนทวารวิถีจิตวาระต่อไป ก็เกิดต่อมีบัญญัติคือ รูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฎนั้นเป็นอารมณ์ ขณะที่คิดนั้นเป็นวิถีจิตทางมโนทวารซึ่งต้องเกิดดับหลายวาระมากมายแน่นอนค่ะกว่าที่จะรู้รูปร่างสัณฐานค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ผมเข้าใจว่า ท่านอาจารย์กล่าวสั้นๆ ว่า "จิตคิดนึก" นั้นหมายรวมเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยแล้วนั่นเอง เพียงแต่เว้นไม่กล่าวถึงเจตสิก เพราะเป็นที่รู้กันว่าจิตจะเกิดลอยๆ ไม่ได้อยู่แล้ว ต้องอาศัยสัมปยุตตธรรมคือ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยจิตจึงจะเกิดได้ แต่เวลาสนทนาธรรมกัน ถ้าผู้ร่วมสนทนาด้วยเข้าใจพอสมควรในเรื่องของจิตและเจตสิก เราก็เว้นการพูดว่า จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) "คิดนึก" ไว้ในตัวได้ เพื่อมุ่งให้เข้าใจถึงตัวสภาพธรรมจริงๆ ที่กำลังคิดนึกอยู่ ย่นและประหยัดเวลา และเข้าถึงสภาพคิดที่เกิดในขณะปัจจุบันตามปกติธรรมดาได้ทันทีเมื่อสติเกิด แต่ก็ยังมีความละเอียดของพระอภิธรรมอยู่อีกมากมายนัก เพียงจงอยปากยุงที่เริ่มจุ่มลงในมหาสมุทรจริงๆ นะครับ สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชน ศึกษาตาม ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมกันต่อไปเถิดทุกท่าน
จิรกาลภาวนา และขออนุโมทนาคุณ ไตรสรณคมณ์ ที่ได้ชี้แจงความละเอียดของพระอภิธรรมว่าเผินไม่ได้จริงๆ เผินแล้วผิดทันที คิดว่าโอกาสที่ได้มีการสนทนาพระอภิธรรมกัน เป็นประโยชน์ไม่น้อยเลยทีเดียว มีอะไรที่คลาดเคลื่อนไป ก็ทักท้วงได้อีกนะครับ อย่าได้ลังเล เพราะหายากจริงๆ ที่ใครจะกล้าบอกในจุดที่ผู้นั้นผิดพลาดไปด้วยความไม่รู้ ถ้าเห็นบ่อยๆ ก็อย่าลืมกรุณาเตือนบ่อยๆ นะครับ เพราะอวิชชามากมายเหลือเกิน เอาไปทิ้งด้วยตัวตนก็ไม่ได้ด้วยสิครับ
...ขออนุโมทนาอีกครั้ง...
ขออนุโมทนาสหายธรรมทุกท่านที่เข้าร่วมสนทนาค่ะ * _ * "
เราลองมาพิจารณาที่สภาวธรรมของ "คิด" กันดีมั้ยค่ะ ว่าตัวจริงๆ ของ"คิด"น่ะ....มีลักษณะอย่างไร?
คืนนี้ เห็นพระจันทร์เต็มดวงโตได้ขึ้นไปถ่ายรูปบนดาดฟ้าอีกเช่นเคย (อีกครา)
แต่แปลกที่ครานี้ไม่มีเสียงโทรศัพท์จากผองเพื่อนให้ไปทำอะไรๆ (อีก) อาจเป็นเพราะ นี่เป็นเวลา หนึ่งนาฬิกาสามสิบนาที ก็เป็นได้ให้นึกถึงเพลงที่ว่า
ดึกแล้วคุณขา....หมดเวลา.......อะไรประมาณนั้น
อย่างไรก็ดีเวลาสำหรับการศึกษาและพิจารณาธรรมยังมีอยู่ในขณะนี้เอง
ตีหนึ่งครึ่งแล้ว
ขออนุโมทนาท่านกัลยาณมิตรทุกท่านด้วยครับ
ขอถามนิดนึงนะคะ............
เรื่องราวที่คิด.......เป็นคิดรึเปล่า?
แล้วคิด......เป็นยังไง?
ขออนุโมทนาในคำตอบค่ะ ^-^
เรื่องราวที่คิดไม่มีจริงค่ะ แต่คิดมีจริงค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
ขณะที่คิดนั้นเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร มโนทวารวัชชนจิตรำพึงถึงอารมณ์ หมายถึงนึกถึงอารมณ์ที่มากระทบซึ่งมีวิตกเจตสิก วิจารเจตสิก และอีกอย่างน้อยเจตสิกอีก ๗ ดวงที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง ตรึกถึงอารมณ์นั้นซึ่งวิถีจิตทางมโนทวารนั้นเกิดดับหลายวาระมากกว่าที่จะคิดนึกเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นบุคคล สัตว์ สิ่งของต่างๆ
หากมีอะไรผิดพลาดไม่ถูกต้อง ขอท่านอาจารย์วิทยากรกรุณาแนะนำด้วยค่ะ หรือว่าน่าจะนำคำถามกราบเรียนถามท่านอาจารย์โดยตรงเพื่อความถูกต้องค่ะ จะได้เป็นประโยชน์อย่างมากแก่สหายธรรมด้วย หากข้าพเจ้ามีอะไรที่เข้าใจคลาดเคลื่อน
กราบขออภัยด้วยค่ะ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
ขออนุญาตอ้างอิงจากความเห็นของพี่เมตตานะคะ
"น่าจะนำคำถามกราบเรียนถามท่านอาจารย์โดยตรงเพื่อความถูกต้องค่ะ จะได้เป็นประโยชน์อย่างมากแก่สหายธรรมด้วย " ถ้าพี่เมตตามีโอกาสเรียนถามท่านอาจารย์แล้วกรุณาบอกหนูด้วยนะคะ ขออนุโมทนาค่ะ
"....ขณะที่เห็นนั้นเป็นวิถีจิตทางปัญจทวารดับหมดแล้ว ...."
หมายความว่าวิถีจิตที่เกิดขึ้นทางปัญจทวาร (ขณะจิตเห็นเกิดนั้นเกิดทางจักขุทวาร)
เริ่มจากวิถีจิตแรก คือ จักขุทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์ (รูปารมณ์) ที่มากระทบแล้วดับไป จักขุวิญญาณเกิดขึ้นสืบต่อเห็นรูปารมณ์นั้นแล้วดับไป สัมปฎิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฎฐัพพนจิต ชวนจิตและตทาลัมพนจิต ซึ่งเป็นวิถีจิตทางจักขุทวารก็เช่นกันเกิดดับสืบต่อและดับไปหมดแล้ว ภวังคจิตก็เกิดดับสืบต่อคั่น แล้วต่อจากนั้นมโนทวารวิถีจิตจึงเกิดสืบต่อค่ะ
รู้สึกว่ามีคนเรียนถามท่านอาจารย์เรื่องจิตที่คิด แล้วท่านก็ตอบไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ เวลาช่วงบ่าย ๒-๔ ไม่รู้ว่าทางมูลนิธิได้อัดเทปเก็บไว้หรือเปล่าครับ
ท่านอาจารย์ได้บรรยายถึง ลักษณะ หน้าที่ ของ วิตกเจตสิก ใน ทวิปัญจทวารวิถีจิต (ตั้งแต่ สัมปฏิจฉันนะจิต เป็นต้นไป) ไว้ใน ซีดีธัมมะ
แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1792
ขออนุโมทนาครับ