วัญจกธรรม ๓๘ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10636
อ่าน  8,779

ธรรมเป็นเครื่องหลอกลวง ๓๘ ประการ

๑. ความพอใจในกาม ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นอปฏิกูลสัญญา

๒. ความพยาบาท ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นปฏิกูลสัญญา

๓. ถีนมิทธะ (ความท้อถอย ง่วงเหงา) ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นสมาธิ

๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นการปรารภความเพียร

๕. กุกกุจจะ (ความรำคาญใจ) ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา

๖. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีการพิจารณาทั้งสองฝ่าย

๗. ความหลงพร้อม (ไม่รู้) ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีการวางเฉยต่ออารมณ์ที่น่าปรารภนา และไม่น่าปรารถนา

๘. มานะ (ความสำคัญตน) ย่อมลวงโดยความไม่ดูหมิ่นตน เหมือนกับว่าเป็นผู้รู้จักตน

๙. มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) ย่อมลวงด้วยการถือเอาเหตุอันสมควร เหมือนกับว่ามีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

๑๐. ความเป็นผู้ไม่ถึงความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย ย่อมลวงเหมือนกับว่าเป็นปราศจากความกำหนัดยินดี

๑๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การประกอบเนืองๆ ซึ่งความหมกมุ่นในกาม) ย่อมลวงเหมือนกับว่า เสพในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้

๑๒. ความเป็นผู้มีปกติไม่แบ่งปัน ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์

๑๓. มิจฉาอาชีวะ ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้มีปกติแบ่งปัน

๑๔. ความเป็นผู้มีปกติไม่สงเคราะห์ ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยการไม่คลุกคลี

๑๕. ความคลุกคลีที่ไม่สมควร ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้มีปกติสงเคราะห์

๑๖. ปิสุณาวาจา (กล่าวส่อเสียด) ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้กล่าวคำจริง

๑๗. ความเป็นผู้ใคร่ในสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์ ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้ไม่กล่าวส่อเสียด

๑๘. ความเป็นผู้ทำการประจบ ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้กล่าวถ้อยคำอันเป็นที่รัก

๑๙. ความเป็นผู้ไม่ชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น) ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้พูดพอประมาณ

๒๐. มายาและสาไถย ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้มีปกติชื่นชมยินดี (กับผู้อื่น)

๒๑. ผรุสวาจา (กล่าวคำหยาบ) ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้พูดข่ม

๒๒. ความเป็นผู้เพ่งโทษผู้อื่น ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้ติเตียนบาป

๒๓. ความตระหนี่ตระกูล ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีความประพฤติเกื้อกูลต่อตระกูล

๒๔. ความตระหนี่อาวาส ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อให้อาวาสตั้งอยู่ตลอดกาลนาน

๒๕. ความตระหนี่ธรรม ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นการรักษาพระธรรมไว้ให้ดำรงมั่น

๒๖. ความเป็นผู้ยินดีในการพูดคุย ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้ยินดียิ่งในการแสดงธรรม

๒๗. ความเป็นผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้ไม่กล่าวคำหยาบและกระทำการอนุเคราะห์แก่หมู่คณะ

๒๘. ความเป็นผู้ยินดีในการงาน ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้ใคร่ซึ่งบุญ

๒๙. ความเร่าร้อนแห่งจิต ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นการสลดสังเวช

๓๐. ความเป็นผู้ไม่พิจารณาอย่างรอบคอบ ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้มากไปด้วยศรัทธา

๓๑. ความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา

๓๒. ความเป็นผู้ไม่รับเอาคำพร่ำสอนของครูทั้งหลายโดยเคารพ ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีตนเป็นใหญ่

๓๓. ความไม่เคารพในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีธรรมเป็นใหญ่

๓๔. ความดูหมิ่นตนและดูหมิ่นธรรม ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีโลกเป็นใหญ่

๓๕. ราคะ (ความยินดีติดข้อง) ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีเมตตา

๓๖. ความเศร้าโศก ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีความกรุณา

๓๗. ความร่าเริง ย่อมลวงเหมือนกับว่า มีเป็นผู้อยู่ด้วยมุทิตา

๓๘. ความเป็นผู้ทอดทิ้งฉันทะ (ความพอใจ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมลวงเหมือนกับว่า เป็นผู้อยู่ด้วยอุเบกขา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 10 ธ.ค. 2551

สาธุ...ด้วยเหตุนี้ ในยามที่ผงเข้าตาตัวเอง กัลยาณมิตรย่อมมีอุปการะมาก เกื้อกูลได้มาก กัลยาณมิตรจึงเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ผมยังไม่เข้าใจ ข้อ 25. ครับ โปรดแสดงตัวอย่างว่า ความตระหนี่ธรรม ย่อมลวง เหมือนกับว่าเป็นการรักษาพระธรรมไว้ให้ดำรงมั่นอย่างไรด้วย

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 10 ธ.ค. 2551

ลักษณะความตระหนี่ธรรม คือ มีความรู้ในปริยัติมาก แต่ไม่แสดง ไม่สอนผู้อื่น เพราะกลัวเขาจะรู้เท่ากับตน แต่ในบางกรณี การไม่แสดงธรรมกับคนบางคนที่เป็นคนไม่ดี เกรงว่าเขาจะใช้ปริยัติในทางไม่ถูก จึงไม่แสดงธรรม ไม่เป็นตระหนี่ ดังนั้น การไม่แสดงธรรม ไม่สอนธรรม อาจจะเป็นความตระหนี่หรือไม่เป็นก็ได้ เพราะใกล้เคียงกันมาก ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะที่ละเอียดจึงจะรู้ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 10 ธ.ค. 2551

สาธุ..อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ ประการ

ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑

ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ๑

ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ ๑

ย่อมทำความเห็นให้ตรง ๑

จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
opanayigo
วันที่ 2 เม.ย. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 6 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 6 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

เมื่อได้รับทราบและพิจารณาบทว่าด้วย ธรรมอันเป็นเครื่องหลอกลวง นี้แล้วเข้าใจจริงๆ ครับว่า โดนหลอกมาโดยตลอดเลยครับผม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khan
วันที่ 21 เม.ย. 2553

พระธรรมช่างลึกซึ้งจริงๆ ค่ะ เหมือนจะเข้าใจแต่ก็ยังไม่ถึงแก่นแท้ของพุทธะ ขอขอบคุณที่มีเว็บไซค์นี้ที่ช่วยแย้มปัญญาค่อยๆ มีแสงสว่างมองเห็นทางที่ถูกต้อง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 29 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Nongnuch
วันที่ 13 พ.ย. 2553

Anumotana ka.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ปวีร์
วันที่ 15 ส.ค. 2555

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
papon
วันที่ 12 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Nattaya40
วันที่ 30 ก.ย. 2562

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 29 เม.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
teep704
วันที่ 11 พ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 30 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ