คิด...หรือ...รู้?

 
พุทธรักษา
วันที่  10 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10640
อ่าน  1,601


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระคุณเจ้า ปัญญาของการคิด กับ ปัญญาของวิปัสสนาแตกต่างกันอย่างไร

ท่านอาจารย์ คิดอย่างไร ก็ไม่สามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้เพราะขณะนั้น สติ ไม่ได้ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง.คิดมานานแล้ว คิดมาก่อนแล้วแต่ว่าคิดอย่างไร จึงเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด

พระคุณเจ้า คิดตามคำสอนเช่น เพราะเหตุที่มีจักขุ มีรูปารมณ์เพราะอาศัย ๒ สิ่งนี้ จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดผัสสะผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็นต้น

ท่านอาจารย์ ขณะที่กำลังคิดอย่างนี้ จักขุวิญญาณก็ดับไปนับไม่ถ้วนแล้ว เจ้าค่ะ

พระคุณเจ้า ถ้าไม่คิด ก็ไม่รู้ ว่าจักขุวิญญาณ คืออย่างไร

ท่านอาจารย์ ขณะที่คิด ไม่ใช่ขณะที่ระลึกตรงสภาพเห็น "ตัวจักขุวิญญาณ" กำลังเห็น เป็นธาตุรู้ (มีกิจ) คือ เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ "คิด" สักเท่าไร ก็ไม่สามารถที่จะ "รู้" ลักษณะของธาตุรู้ (สภาพรู้ ที่กำลังเห็น)

พระคุณเจ้า เพียงแต่รู้สีเท่านั้นหรือ ทางตา

ท่านอาจารย์ มิได้เจ้าค่ะ ขณะนี้จักขุวิญญาณ กำลังเห็น สี สี ที่กำลังปรากฏกับ "จิตที่เป็นจักขุทวารวิถีจิตทั้งหมด"และ รูปารมณ์ มีอายุ ๑๗ ขณะจิต แล้วก็ดับ

พระคุณเจ้า ต้องรู้ถึง ๑๗ ขณะเลยหรือ

ท่านอาจารย์ มิได้เลยเจ้าค่ะ ทราบจากการศึกษาว่า อายุของรูปเท่ากับจิต ๑๗ ขณะแต่ไม่ใช่ "การระลึกรู้ลักษณะ" ของรูปธรรม หรือ นามธรรม

ขณะที่ฟังอย่างนี้ เป็นการฟังเรื่องราวของธรรมะ เป็นสติขั้นฟังเวลาฟังอย่างนี้ ก็เป็นสติ คิดอย่างนี้ ก็เป็นสติ แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ที่ระลึกรู้ลักษณะที่มีจริงๆ ที่กำลังเห็น กำลังรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นอย่างนี้หรือ กำลังรู้แข็ง หรือ กำลังคิดนึก.นั่นคือ "ตัวสภาพธรรม" ถ้าสติไม่ระลึก ก็ไม่มีทางที่จะรู้และขณะที่ไม่รู้...ก็เป็นความคิดเรื่องราวของสภาพธรรมนั้นๆ เท่านั้น

พระคุณเจ้า แล้วการประจักษ์ อนัตตาในการเห็นนั้น เป็นอย่างไร

ท่านอาจารย์ ไม่มีสติปัฏฐาน ไม่มีการประจักษ์แจ้งเลย เจ้าค่ะ.เพราะฉะนั้น "ต้องรู้" ว่าขณะไหนมีสติ ขณะไหนหลงลืมสติ

สติปัฏฐานจะเกิดขึ้นได้ ก็เมื่อมีความเข้าใจ "เรื่องของสติปัฏฐาน" อย่างถูกต้อง ฉะนั้น ถ้ายังไม่มีความรู้ ความเข้าใจ "เรื่องของสติปัฏฐาน"ก็ไม่ควรคิดว่า จะทำอย่างไร ให้สติปัฏฐานเกิด แต่ ควรฟัง "เรื่องของสติปัฏฐาน" ให้เข้าใจมากขึ้นเมื่อฟังเข้าใจมากขึ้น ก็จะทราบว่า สติปัฏฐานคืออย่างไร

เพื่อความเข้าใจ ในความละเอียดลึกซึ้ง ของมรรคมีองค์ ๘ซึ่งทรงแสดงไว้ว่า เห็นยากเพราะลึกซึ้งจึงต้องเข้าใจ "เรื่องของสภาพธรรม" ถ้าไม่เข้าใจว่า สภาพธรรมในขณะนี้ว่า เป็นเพียง รูปธรรมและนามธรรม จริงๆ สติปัฏฐานก็เกิดไม่ได้

พระคุณเจ้า เหตุปัจจัยของการเกิดสติปัฏฐานนี้ ส่วนหนึ่ง ได้มาจากการศึกษามากฟังมาก ใคร่ครวญมาก ท่องมาก

ท่านอาจารย์ เข้าใจว่า "ขณะนี้ เป็นธรรมะ" เจ้าค่ะ ฟัง ให้เข้าใจว่า "ขณะนี้ เป็นธรรมะ" ธรรมะ "มีลักษณะ" ปรากฏให้จิต "รู้" ได้

ขณะนอนหลับสนิท (ภวังคจิต) ไม่สามารถที่ "ปัญญาจะรู้ลักษณะ" ของสภาพธรรมใดๆ เลยเพราะว่า สภาพธรรมใดๆ ไม่ปรากฏเลย แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อหลับสนิทแล้ว ไม่มีสภาพธรรมใดๆ เลย

เมื่อมีการฟัง การศึกษา ทราบว่ามีนามธรรม และ รูปธรรมคือ จิต เจตสิก รูป เท่านั้น ตั้งแต่เกิดจนตายและศึกษาจนเป็นความเข้าใจที่มั่นคงจริงๆ และ "รู้ลักษณะที่ต่างกัน"ของ รูปธรรม และ นามธรรมอย่างนี้ ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้มีการระลึกลักษณะของรูปธรรม และ นามธรรม

เพราะเข้าใจความต่างกันของรูปธรรม และ นามธรรมและรู้ว่า ขณะนี้ มีนามธรรมและรูปธรรม ไม่เคยขาดสายเลยตั้งแต่เกิดจนตาย เจ้าค่ะ


สนทนาธรรมที่วัดพระสิงห์วรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่พ.ศ. ๒๕๔๔โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์



ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 ธ.ค. 2551

ขอความกรุณาช่วยขยายความ และอธิบาย ข้อความนี้ด้วย "จิตที่เป็นจักขุทวารวิถีจิตทั้งหมด"

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 11 ธ.ค. 2551

จิตที่เป็น จักขุทวารวิถี หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ซึ่งในขณะที่เรากำลังเห็นนั้น มีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์หลายขณะ ไม่ใช่เพียงจักขุวิญาณเท่านั้น ก่อนหน้านั้น มีอาวัชชนะเกิดก่อน จักขุวิญาณเกิดต่อ จากนั้นเป็นสัมปฏิฉันนะ สันตีรณะ โผฎฐัพพนะ ชวนะ และตทาลัมพนะ ดังนั้น จิตที่เกิดขึ้นกำลังทำกิจทั้งวาระ ชื่อว่า จักขุทวารวิถีจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สุภาพร
วันที่ 11 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 11 ธ.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ธ.ค. 2551

ขอขอบพระคุณ และ อนุโมทนา...อาจารย์ประเชิญ ค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 11 ธ.ค. 2551

การฟังธรรมทำให้"คิด"ถึงเรื่องราวของธรรม โดยคิดด้วยเหตุและผลตามที่ทรงแสดง เป็นการคิดที่มีประโยชน์เพราะทำให้เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมากยิ่งขึ้น หรืออย่างน้อยก็ดีกว่าการคิดถึงเรื่องอื่นที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อันยิ่ง

การระลึกสภาพธรรมที่กำลังปรากฎทำให้ "รู้" ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งตรงตามพระธรรมที่ได้ยินได้ฟังและที่คิดพิจารณาอย่างถูกต้องนั่นเอง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Komsan
วันที่ 11 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เมตตา
วันที่ 13 ธ.ค. 2551

ขณะที่คิด ไม่ใช่ขณะที่ระลึกตรงสภาพเห็น"ตัวจักขุวิญญาณ" กำลังเห็น เป็นธาตุรู้ (มีกิจ) คือ เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ "คิด" สักเท่าไร ก็ไม่สามารถที่จะ "รู้" ลักษณะของธาตุรู้ (สภาพรู้ ที่กำลังเห็น)

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ

ขออนุโมทนาท่านอาจารย์prachern.s

และขออนุโมทนาคุณK ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
nida
วันที่ 14 ธ.ค. 2551

แข็งไม่ใช่รู้ รู้ก็ไม่ใช่แข็ง

คิดไม่ใช่แข็ง และแข็งไม่ใช่คิด

รู้แข็งไม่ใช่คิด คิดไม่ใช่รู้แข็ง

แต่ละลักษณะมีเฉพาะตัวและทำหน้าที่แทนกันไม่ได้

เป็นอย่างไรก็อย่างนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมนั้นได้

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pornpaon
วันที่ 27 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
showtana
วันที่ 28 ธ.ค. 2551

ถ้าเข้าใจระดับหนึ่งแล้วว่าทุกสี่งทุกอย่างที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6 นั้น คือสภาพธรรมะตามความเป็นจริง เท่านั้น ไม่ใช่เรา แต่เป็นแค่ความคิดเท่านั้น จิตก็ยังมองไม่เห็น ก็ต้องมีความเพียร เฝ้าดูเฝ้ารู้ ฝึกเจริญสติ อยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำไปเรื่อยๆ ๆ จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง ใช่ไหมคะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เซจาน้อย
วันที่ 28 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
พุทธรักษา
วันที่ 28 ธ.ค. 2551
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 11 ถ้าเข้าใจระดับหนึ่งแล้วว่าทุกสี่งทุกอย่างที่ปรากฏทางทวารทั้ง 6 นั้น คือสภาพธรรมะตามความเป็นจริง เท่านั้น ไม่ใช่เรา แต่เป็นแค่ความคิดเท่านั้น จิตก็ยังมองไม่เห็น ก็ต้องมีความเพียร เฝ้าดูเฝ้ารู้ ฝึกเจริญสติ อยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะประจักษ์แจ้ง ใช่ไหมคะ ถ้ายังมีเรา (อัตตา) ที่เจริญสติ ก็ยังไม่ใช่ การเจริญสติค่ะจึงควรพิจารณาว่า ขณะที่เพียร เฝ้าดูเฝ้ารู้ ฝึกเจริญสติ ขณะนั้น ยังเป็นตัวเราที่จดจ้องอยู่หรือไม่ สติจะเกิดตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน เป็นไปไม่ได้ค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
orawan.c
วันที่ 29 ธ.ค. 2551

ต้องรู้ตรงความจริงว่า ขณะใดหลงลืมสติ ขณะใดสติเกิด ไม่เข้าใจผิด

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pamali
วันที่ 28 มิ.ย. 2553

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ