อุปธิ - สภาพที่เข้าไปทรงไว้ซึ่งทุกข์
อุป (เข้าไป ใกล้ มั่น) + ธิ (สภาพที่ทรงไว้)
สภาพที่เข้าไปทรงไว้ซึ่งทุกข์ หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นที่อาศัยแห่งทุกข์หรือเป็นมูลแห่งทุกข์ ได้แก่ อุปธิ ๔ คือ
๑. กามูปธิ
๒. ขันธูปธิ
๓. กิเลสูปธิ
๔. อภิสังขารูปธิ
กามูปธิ สภาพที่เป็นมูลแห่งทุกข์คือกาม เพราะกามทั้งหลายเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ยากในการแสวงหา เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลาย เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ยากในการแสวงหา เป็นเหตุแห่งการฆ่าฟันกัน เป็นเหตุให้ทำทุจริตเป็นเหตุให้ไปสู่อบายภูมิ
ขันธูปธิ สภาพที่เป็นมูลแห่งทุกข์คือขันธ์ เพราะขันธ์ทั้งหลายไม่เที่ยงมีความแปรปรวน ทำให้มีความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์โดยประการต่างๆ
กิเลสูปธิ สภาพที่เป็นมูลแห่งทุกข์คือกิเลส เพราะกิเลสเป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรม ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิบากที่เป็นทุกข์ และทำให้วนเวียนไปในสังสารทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด
อภิสังขารูปธิ สภาพที่เป็นมูลแห่งทุกข์คืออภิสังขาร เพราะปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และอเนญชาภิสังขาร ซึ่งได้แก่ กุศลกรรม และอกุศลกรรมเป็นเหตุให้เกิดวิบาก ทำให้มีการเกิดและเป็นไปในภพต่างๆ ซึ่งเป็นทุกข์ในสังสารวัฏฏ์
ในขุททกนิกาย จูฬนิทเทส แสดงอุปธิ ๑๐ ประการ คือ
๐๑. ตัณหูปธิ
๐๒. ทิฏฐูปธิ
๐๓. กิเลสูปธิ
๐๔. กัมมูปธิ
๐๕. ทุจจริตูปธิ
๐๖. อาหารูปธิ
๐๗. ปฏิฆูปธิ
๐๘. อุปธิ คืออุปาทินนธาตุ ๔
๐๙. อุปธิ คืออายตนะภายใน ๖
๑๐. อุปธิคือหมวดวิญญาณ ๖
ทุกข์แม้ทั้งหมดก็เป็นอุปธิ เพราะอรรถว่า ยากที่จะทนได้
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
๐๑. ตัณหูปธิ คือ โลภะ ความติดข้อง
๐๒. ทิฏฐูปธิ คือ ความเห็นผิด มีเห็นว่าเที่ยง หรือตายแล้วขาดสูญ เป็นต้น
๐๓. กิเลสูปธิ คือ กิเลสประการต่างๆ มี โลภะ เป็นต้น
๐๔. กัมมูปธิ คือ กรรมต่างๆ มีกุศลกรรม เป็นต้น
๐๕. ทุจจริตูปธิ คือ ทุจริตต่างๆ คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
๐๖. อาหารูปธิ คือ อาหารที่บริโภค (กวฬิงการาหาร)
๐๗. ปฏิฆูปธิ คือ โทสะ
๐๘. อุปธิ คือ อุปาทินนธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อันมีกรรมเป็นสมุฏฐาน
๐๙. อุปธิ คือ อายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก เป็นต้น
๑๐. อุปธิ คือ หมวดวิญญาณ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติมได้ในพระไตรปิฎกที่นี่ครับ
[เล่มที่ 67] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ 150
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอความกระจ่างว่า อุปธิต่างกับสมุทัย อย่างไรคะ ขอบพระคุณมากค่ะ
อุปธิ
อุป (เข้าไป ใกล้ มั่น) + ธิ (สภาพที่ทรงไว้)
สภาพที่เข้าไปทรงไว้ซึ่งทุกข์ หมายถึง สภาพธรรมที่เป็นที่อาศัยแห่งทุกข์หรือเป็นมูลแห่งทุกข์
สมุทัยอริยสัจจ์
สมุทย (เกิดขึ้นพร้อม เหตุ) +อริยสจฺจ (ความจริงอย่างประเสริฐ)
ความจริงอย่างประเสริฐคือเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ได้แก่ ตัณหาหรือโลภเจตสิกซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะติดข้อง ทำให้เพลิดเพลินในภพใหม่ เป็นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป เป็นโลกียธรรม