รู้จริงๆ ว่าเป็น ธรรม...มีประโยชน์อะไร

 
พุทธรักษา
วันที่  15 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10681
อ่าน  1,956


ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สนทนาธรรม ณ ถนนสุสานประตูหายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และคณะวิทยากร พ.ศ. ๒๕๔๔

ท่านผู้ฟัง ฟังแล้วสงสัยว่า คำว่า เรา กับ ไม่ใช่เรา มันแตกต่างกันอย่างไร

ท่านอาจารย์ ธรรมะเกิดแล้ว ธรรมะดับไป ใครรู้ ถ้าไม่รู้ ก็เป็นเรา ที่เห็น ได้ยิน หรือคิดนึก เราดี เราไม่ดี ฯลฯ จนกว่าจะรู้จริงๆ ว่าเป็น ธรรม

ท่านผู้ฟัง ตามปกติ ที่เราศึกษาปริยัติ เราก็รู้ว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยงสัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง โดยปริยัตินี้ รู้แล้วใครก็รู้ (ตามปริยัติ) ว่าไม่ใช่เรา แต่ว่า "ทำไมถึงไม่ใช่เรา"

ท่านอาจารย์ เพราะชื่อว่า "อนัตตา" ขณะที่สภาพธรรมปรากฏ แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ก็ต้องเป็นเราเห็น เราได้ยิน เราดี เราไม่ดี ฯลฯ

ท่านผู้ฟัง สติปัฏฐาน คือ อย่างไร

ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานไม่ใช่ขั้นทาน ไม่ใช่ขั้นศีล ไม่ใช่ขั้นสมถภาวนา เจ้าค่ะ และอีกอย่างหนึ่ง คำถามของพระคุณเจ้าที่ว่า "ถ้ารู้ว่าเห็นขณะนี้ สิ่งที่ปรากฏ เป็น รูปและ สภาพรู้ หรือ ธาตุรู้มี จึงเห็น ถ้าสภาพรู้ หรือ ธาตุรู้ไม่มี ก็ไม่สามารถเห็นได้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่สามารถเห็นอะไรได้ ความรู้อย่างนี้ มีประโยชน์อะไร นี่คือคำถามของพระคุณเจ้า ใช่ไหมเจ้าคะ

ความรู้อย่างนี้ เป็นการละอนุสัยกิเลส ซึ่งเป็นกิเลสที่ละเอียดมากไม่ใช่ความรู้ที่ละ ขั้นศีล หรือความรู้ที่ละ ขั้นสมาธิแต่เป็นความรู้ขั้นที่สามารถไถ่ถอน ความไม่รู้ในสภาพธรรมที่เคยไม่รู้ และ เคยยึดถือ ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

เพราะว่า ตามความเป็นจริง สภาพธรรมทุกอย่างจะเกิดได้ เมื่อมีเหตุปัจจัยเป็นสังขารธรรม เป็นสังขตธรรม คือ สภาพธรรมที่เกิด เมื่อมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง และเมื่อปรุงแต่งแล้ว เกิดปรากฏเดี่ยวนี้ เป็นสังขต เดี๋ยวนี้สังขตธรรมทั้งหมด เกิดแล้วดับ

การรู้ความจริง คือ ขณะที่เห็นถูกถ้าไม่มี "ความเห็นถูก" เลย จะกล่าวว่า "รู้ความจริง" ไม่ได้จะกล่าวว่า "เห็นความจริง" ไม่ได้ ต้องเป็น "ขณะที่มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ" แล้ว "เข้าใจลักษณะที่กำลังปรากฎ อย่างถูกต้อง" ซึ่งต้องใช้เวลาที่นานมาก เพราะว่าไม่ใช่เราที่จะไปใช้สติ หรือไปทำสติไม่มีใครบังคับสติได้ ไม่มีใครบังคับปัญญาได้ สติจะเกิดได้ ก็เมื่อมีเหตุปัจจัยและลักษณะของสติ ที่เป็นสติปัฏฐาน ก็คือว่าขณะนี้ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไม่มีใครไปคิด ไม่มีใครไปฝัน หรือไปทำแต่ขณะนี้ มีเหตุปัจจัยให้สภาพธรรมนั้นเป็นสังขต ปรุงแต่งแล้วเกิดปรากฏเพราะฉะนั้น ปัญญาที่รู้อย่างนี้ จะละอนุสัยกิเลส


ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 15 ธ.ค. 2551

ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ.

สังขารธรรม

สงฺขาร (การกระทำพร้อม การปรุงแต่ง) + ธฺมม (ธรรม)

ธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง หมายถึง สภาพธรรมที่ต้องอาศัยสภาพธรรมอื่นจึงเกิดขึ้นได้แก่ จิต เจตสิก และรูปทั้งหมด เป็นสังขารธรรมเพราะต้องอาศัยสภาพธรรมอื่นๆ เป็นปัจจัย สังขารธรรม และ สังขตธรรม หมายถึง สภาพธรรมอย่างเดียวกันแต่ทรงใช้ศัพท์คนละคำ เพื่ออธิบายความหมายให้ชัดเจนขึ้น คือ สังขารธรรม เป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง แต่ สังขตธรรม นอกจากเป็นธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ยังเป็นสภาพธรรมที่เกิดดับด้วย

โดย บ้านธัมมะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 16 ธ.ค. 2551

สาธุ

การมีรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระทู้ ทำให้การศึกษาพระสัทธรรม สะดวกยิ่งขึ้น

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ajarnkruo
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

ถ้าไม่มีความรู้ และไม่มีความเข้าใจ ในแนวทางการเจริญวิปัสสนาจะไม่มีทางที่จะรู้ว่า "ความไม่รู้" และ "ความเห็นผิด" มีมากแค่ไหน

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
choonj
วันที่ 19 ธ.ค. 2551

ความไม่รู้และความเห็นผิด มีมากมายแน่นอน เพราะธรรมเป็นสิ่งที่รู้ยากเข้าใจยาก แล้วยังต้องใช้เวลาศึกษาประพฤติปฎิบัติอันยาวนานเป็นหลายๆ ชาติ ความเห็นผิดก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะผิดนิดเดียวก็หลงทางแล้ว จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เมื่อได้สนทนาธรรมกับคนที่ไม่มีพื้นฐานที่ถูกต้องแล้ว พวกเขาเหล่านั้นจะไม่เข้าใจในสิ่งที่เราพูดเลย ยังดีที่มีพวกเราที่เข้าใจแต่ก็น้อยเต็มที บางที่ก็หลงคิดไปว่าเราหรือเขาที่เข้าใจผิด ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
SURAPON
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

ไม่ใช่เราเป็นความจริงแท้ เพราะกำหนดให้ได้ดังใจไม่ได้ทุกอย่าง ตั้งแต่ความหิว กระหายประจำวัน ความเจ็บป่วยต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ สังเกตุอยู่เป็นนิสัยให้เกิด อุปนิสัยปัจจัย จะเข้าใจด้วยตนเอง ส่วนที่เรียกว่าเป็นของเรา คือสมมติ เช่นชื่อก็เป็นนามสมมติเพื่อเรียกขาน แต่การพิจารณาเหล่านี้ต้องมีฉันทะ เริ่มก่อน บางท่านอาจสับสนตรงคำศัพท์ ที่ทางโลกเขาพูดกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 26 ธ.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 27 ธ.ค. 2551

มีความเข้าใจขั้นฟังมั่นคงหรือยังว่า ไม่มีเรา มีแต่ความประพฤติเป็นไปของขันธ์จริงๆ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
narong.p
วันที่ 27 ธ.ค. 2551

ท่านอ.สุจินต์จะเตือนอยู่เสมอว่า "ฟังให้เข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังแล้วอย่าไปคิดที่จะทำ" เป็นคำกล่าวที่ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าเมื่อเข้าใจในธรรมที่ได้ฟัง ความเข้าใจทีละน้อยๆ นั้นจะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่ใช่ฟังเข้าใจเพียงน้อยนิดแล้วคิดและทำด้วยความเป็นเราที่จะให้สติเกิดซึ่งไม่ใช่หนทางเพราะผิด ไม่ใช่แนวทาง สติก็ไม่สามารถเกิดได้ เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เกิดเพราะเหตุปัจจัย

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 4 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สุภาพร
วันที่ 7 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pamali
วันที่ 29 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ