ทำไมพระผู้มีพระภาคทรงเคารพในธรรม

 
Sam
วันที่  16 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10688
อ่าน  2,688

พระผู้มีพระภาคทรงเป็นบุรุษผู้เลิศกว่าผู้อื่นในทุกภูมิ แต่ยังทรงเคารพในธรรม ขอเรียนถามว่า

๑. คำว่า "ธรรม" ในที่นี้ หมายถึงพระธรรมบัญญัติ หรือปรมัตถธรรม หรือประการอื่นใดครับ

๒. ทรงพิจารณาเช่นไรครับ จึงทรงเคารพในธรรม

๓. หากมีข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎกหรืออรรถกถา ขอความกรุณานำมาแสดงเพื่อการศึกษาต่อไปครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

๑. คำว่า "ธรรม" ในที่นี้ อรรถกถา คารวสูตร สังยุตตนิกาย อธิบายว่า หมายถึง โลกุตรธรรม ๙ แต่ในบางแห่ง หมายเอากุศลธรรม

๒. ข้อความบางตอนจากคารวสูตร มีว่า ครั้งนั้น ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จเข้าที่ลับ ทรงพักผ่อนอยู่อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรงย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะ เคารพ อาศัยสมณะหรือพราหมณ์ใครผู้ใดอยู่หนอ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะยิ่งกว่าตน ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอยู่ อย่ากระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั้นแหละ แล้วอาศัยอยู่.

ข้อความจากอรรถกถาตอนหนึ่งอธิบายว่า ทรงดำริว่า เราจักเคารพโลกุตรธรรม ๙ ที่เราบรรลุแล้วนี่แหละอาศัยอยู่

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทั้งปวงรสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวงความสิ้นไปแห่งตัณหา ชนะทุกข์ทั้งปวง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงเคารพในธรรม

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 17 ธ.ค. 2551

ขอเชิญพิจารณาข้อความที่เกี่ยวข้องค่ะ

การเคารพบูชาอย่างยิ่งคืออย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 18 ธ.ค. 2551

ขอบคุณทุกความคิดเห็น

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 18 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Teera
วันที่ 18 ธ.ค. 2551

จากข้อความในอรรถกถาข้างบน อยากทราบว่าคำว่า ปริวิตก หมายความว่าอย่างไร ครับ เนื่องจากได้ยินในบางอรรถกถากล่าวถึงว่า พระพุทธองค์ทรงปริวิตก

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
choonj
วันที่ 18 ธ.ค. 2551

ขอแสดงความเห็นอย่างคนไม่รู้เรื่อง ถ้าเปรียบธรรมคือธรรมชาติ ธรรมชาติก็มีกฏของธรรมชาติ ซึ่งกฏของธรรมชาตินี้ไม่เคยเปลี่ยน เช่น ไฟก็ต้องร้อน น้ำแข็งก็ต้องเย็น ถ้าทำผิดกฏของธรรมชาติ เช่น เอามือไปย่างไฟก็ต้องไหม้และเจ็บ เป็นต้น เมื่อธรรมชาติมีกฎตายตัวไม่เคยเปลี่ยน ก็ไม่ควรฝืนกฏของธรรมชาติ จะเดือดร้อน ก็ต้องให้ความเคารพ และทุกท่านเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องอาศัยธรรมนี้แหละอาศัยอยู่ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
paderm
วันที่ 20 ธ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระพุทธเจ้าทรงเคารพธรรม เพราะเป็นสิ่งอันเลิศ เป็นสิ่งที่ประณีต อันเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ซึ่งพระองค์ได้ทรงดำริว่าผู้ใดไม่มีผู้ที่ควรเคารพก็เป็นทุกข์ พระองค์จึงทรงเคารพธรรม เพราะเป็นธรรมที่ทำให้พระองค์ดับกิเลสและบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า

ที่สำคัญพระพุทธเจ้าไม่ใช่จะเคารพพระธรรมเท่านั้น หากแต่ว่าในพระสูตรบางพระสูตรยังแสดงอีกว่า เราไม่ใช่แค่เคารพธรรมเท่านั้น แต่เมื่อสงฆ์มีความถึงพร้อมแล้ว เราก็เคารพพระสงฆ์ เช่นกัน ขออนุโมทนาครับ

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๕๔

ปฐมอุรุเวลสูตร

ครั้งนั้น เราแจ้งว่า พรหมวิงวอนและรู้ภาวะอันสมควรแก่ตนแล้วธรรมใดที่เราได้ตรัสรู้แล้ว เราก็สักการะเคารพพึ่งพิงธรรมนั้นอยู่มา ก็แต่ว่าเมื่อใดแม้สงฆ์ถึงพร้อมด้วยความใหญ่แล้ว เมื่อนั้นเราจะเคารพในสงฆ์ด้วย

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Sam
วันที่ 20 ธ.ค. 2551

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศ ทรงเคารพในธรรมอันเลิศ ด้วยพระปัญญาคุณอันเลิศ การเคารพธรรมะประการไหนเพียงใด ขึ้นอยู่กับระดับของปัญญาที่เห็นประโยชน์ ของธรรมะประการนั้น

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 21 ธ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นบุคคลผู้เลิศที่สุด ทรงเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด ทรงเป็นบุคคลผู้เจริญที่สุดในโลก ไม่มีบุคคลผู้ใดที่จะเสมอเหมือนพระองค์ได้ จึงไม่มีใครที่ควรแก่การเคารพสักการะจากพระองค์ พระองค์จึงทรงเคารพสักการะโลกุตตรธรรม ๙ (มรรค ๔ ผล ๔ และ นิพพาน) ที่พระองค์ทรงบรรลุแล้ว สำหรับการเคารพสงฆ์ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น

ข้อความบางตอนจากอรรถกถา ปฐมอุรุเวลสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต มีว่า บทว่า อถ เม สงฺเฆปิ คารโว ความว่า เมื่อนั้นเราก็เกิดความเคารพแม้ในสงฆ์.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำความเคารพในสงฆ์ในเวลาไร

ตอบว่า ในเวลาพระนางประชาบดีถวายผ้าคู่ จริงอยู่ ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถึงผ้าคู่ ที่พระนางมหาปชาบดีน้อมเข้าไปถวายแด่พระองค์ว่า โคตมี พระนางจงถวายในสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายในสงฆ์แล้ว ทั้งเราทั้งสงฆ์ก็จักเป็นอันพระนางบูชาแล้ว ชื่อว่าทรงทำความเคารพในสงฆ์.

ขออนุโมทนาคุณpaderm ที่ได้แสดงข้อความเพิ่มเติม และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
suwit02
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 8 โดย Teera จากข้อความในอรรถกถาข้างบน อยากทราบว่าคำว่า ปริวิตก หมายความว่าอย่างไรครับ เนื่องจากได้ยินในบางอรรถคถากล่าวถึงว่า พระพุทธองค์ทรงปริวิตก

จากข้อความในอรรถกถาข้างบน มีว่า ความปริวิตกแห่งพระหฤทัยบังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผมเข้าใจว่า หมายความว่าพระศาสดาทรงคิด ได้ยินในบางอรรถกถากล่าวถึงว่า พระพุทธองค์ทรงปริวิตก

ผมเข้าใจว่า หมายความว่าพระศาสดาทรงคิด คำว่าปริวิตก ในที่นี้ คงไม่ได้หมายความว่า คิดมาก หรือ กลุ้ม นะครับ

ขอเรียนเชิญวิทยากร โปรดให้ความรู้ ในเรื่องคำศัพท์ วิตก ปริวิตก ด้วย

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
prachern.s
วันที่ 24 ธ.ค. 2551

เรียน ความเห็นที่ 13

ถูกแล้วครับ ปริวิตก หรือดำริ ก็คือ คิด ความคิด ฯ ในชีวิตประจำวันเราทั้งหลายก็คิดฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงคิดเหมือนกัน ของเราโดยมากคิดด้วยอกุศลจิต แต่พระพุทธเจ้าไม่มีอกุศลแล้ว คิดด้วยมหากิริยา

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pornpaon
วันที่ 8 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
suwit02
วันที่ 8 ม.ค. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 10688 ความคิดเห็นที่ 14 โดย prachern.s

เรียน ความเห็นที่ 14

ถูกแล้วครับ ปริวิตก หรือดำริ ก็คือ คิด ความคิด ฯ ในชีวิตประจำวันเราทั้งหลายก็คิดฉันใด พระพุทธเจ้าก็ทรงคิดเหมือนกัน ของเราโดยมากคิดด้วยอกุศลจิต แต่พระพุทธเจ้าไม่มีอกุศลแล้ว คิดด้วยมหากิริยา

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ