ทำไมจึงเกิดมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันในยุคนี้

 
audience
วันที่  14 เม.ย. 2549
หมายเลข  1069
อ่าน  945

การปฏิบัติธรรมของพุทธบริษัทในครั้งพุทธกาลมีความหลากหลายเช่นในปัจจุบันหรือไม่ ทำไมจึงเกิดมีข้อปฏิบัติที่หลากหลายในยุคนี้ สำหรับผู้ที่เริ่มศึกษาธรรมะ จะมีหลักในการพิจารณาอย่างไร ว่าข้อปฏิบัติใดตรงตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 15 เม.ย. 2549

ในสมัยครั้งพุทธกาล พุทธบริษัทฟังพระธรรมจากพระพุทธองค์โดยตรง หรือ

บางท่านฟังจากพระอรหันตสาวกโดยตรง ทำให้ผู้ศึกษาส่วนมากรับฟังจากผู้แสดง

พระธรรมที่ตรงกันคือฟังจากพระอริยบุคคล แต่ในยุดหลังพระพุทธองค์ และพระ

อรหันต์ปรินิพพานแล้ว อาจารย์ที่สอนธรรมะมีปัญญาน้อย ศึกษาพระธรรมแล้วเข้า

ไม่ถึงอรรถของพระธรรม ก็มีการตีความที่แตกต่างกันจึงมีการสอนที่แตกต่างกัน ฉะนั้น ผู้ศึกษาควรเทียบเคียงกับหลักธรรมคำสอนที่น่าเชื่อถือ คือพระ

ไตรปิฎกและอรรถกถา เมื่อไม่ขัดแย้งกับหลักฐานดังกล่าวควรถือเอาเป็นข้อปฏิบัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
audience
วันที่ 15 เม.ย. 2549

ขอขอบพระคุณ และ อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
กระดาษ
วันที่ 15 เม.ย. 2549

ขออนุโมทนาในการศึกษาธรรมะ

ในสมัยนั้นเป็นกาลสมัย ที่ผู้ฟังสามารถเข้าใจพระธรรมโดยไม่คลาดคลื่น จึงทำให้

ไม่มีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกัน แต่ในยุคนี้ผู้ที่ศึกษาธรรมะก็ไม่เข้าใจอย่างลีกซึ้งทั้งอรรถ

และพยัญชนะ จึงทำให้อธิบายตามความเห็นของตน ทำให้เกิดข้อปฏิบัติต่างๆ กัน

ตามความเข้าใจ หากท่านเป็นผู้เริ่มที่จะศึกษาก็อยากจะแนะนำว่าให้ศึกษาตามแนว

ในพระไตรปิฏก หรือหากมีกัลยมิตรก็ฟังท่านที่อ้างอิงพระไตรปิฏกเป็นหลัก ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
dhamma_s
วันที่ 15 เม.ย. 2549

1.การปฏิบัติธรรมของพุทธบริษัทในครั้งพุทธกาลมีความหลากหลาย

เช่นในปัจจุบันหรือไม่ ทำไมจึงเกิดมีข้อปฏิบัติที่หลากหลายในยุคนี้

เชิญคลิกอ่านได้ที่......โลกมีธาตุไม่เป็นอันเดียวกัน [สักกปัณหสูตร]

2.หลักในการพิจารณาว่าข้อปฏิบัติอย่างไรถูกต้อง

ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด สอนให้ละ ไม่สอนให้ได้ ให้ติด เช่นสอนให้ได้แม้บุญเยอะๆ หรือสอนให้เกิดสติเยอะ ทั้งๆ ที่ไม่เข้า

ใจถึงความเป็นอนัตตาบังคับให้สติเกิดไม่ได้ เป็นต้น ดังนั้น ควรเทียบเคียง

กับพระไตรปิฎก สอบถามผู้รู้ และที่สำคัญมีบุญเก่าที่สะสมมาทางถูกหรือ

เปล่าด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
audience
วันที่ 15 เม.ย. 2549
พระสูตรที่ยกมาในความคิดเห็นที่ 4 กล่าวถึงสมณพราหมณ์ คงจะเป็นสมณพราหมณ์นอกพระพุทธศาสนา ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่มีความเห็นและข้อปฏิบัติที่แตกต่างไปจากคำสอนในพระพุทธศาสนา แต่ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทในยุคนี้เป็นสาวกของพระอร-หันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน แต่กลับมีความเห็นและข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันมากมาย แต่ละสำนักก็บอกว่าต้องปฏิบัติอย่างที่ตนทำอยู่ ต้องปฏิบัติตามแบบแผนที่อาจารย์บอกเท่านั้น ทำไปแล้วความรู้ก็จะเกิดขึ้นได้เอง ไม่จำเป็นต้องศึกษา เพียงรู้วิธีปฏิบัติก็พอแล้ว ไม่ต้องไปเสียเวลาศึกษา บางกลุ่มก็พยายามเจริญสติ ไม่แน่ใจว่าเป็นการสอนให้ทำสติหรือเจริญสติ การทำและการเจริญคงจะมีความหมายที่ต่างกันใช่ไหม ขอท่านที่มีประสพการณ์ในการปฏิบัติธรรมช่วยให้คำแนะนำด้วย
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
saowanee.n
วันที่ 16 เม.ย. 2549

"ทำไปแล้วความรู้ก็จะเกิดขึ้นได้เอง ไม่จำเป็นต้องศึกษา"I strongly disagree with this statement! Buddha is the only one who do notneed to study dhamma as he is enlighened by himself. Therefore, the rest ofus have to study or listen to his

dhamma unless you think you can enlighten by yourself which is impossible!

If we truely understand Buddha's teaching, there will be only one

practice.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ภพฺพาคมโน
วันที่ 18 เม.ย. 2549

จากการที่ดิฉันได้คลุกคลีกับสหายธรรมหลายกลุ่ม ดิฉันคิดว่าการที่มี ข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันในยุคนี้ เกิดจากคนส่วนใหญ่

ไม่เคารพในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ยกย่องพระเกจิอาจารย์ตัวเอง ว่าเป็นพระ

อรหันต์ และเชื่อตามอัตตโนมติที่อาจารย์ตัวเองสอน เมื่อไม่เคารพระไตรปิฎก

จึงไม่สอบทานคำสอนของอาจารย์ตัวเอง ว่าถูกหรือผิด และหลงปฏิบัติตามกันมา

เหมือนคนตาบอดจูงกันเดิน แม้สำนักเรียนพระอภิธรรมหลายแห่ง ทรงพระอภิธรรม

ปิฎกทั้ง 7 คัมภีร์ เคารพในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ก็ยังสอนให้ปฏิบัติผิด อาจเป็น

เพราะไม่เข้าใจในอรรถของพระธรรม

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ