ญาณกับสมาธิ

 
WS202398
วันที่  22 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10728
อ่าน  9,734

วิปัสสนาญาณ

วิ (วิเศษ,แจ้ง, ต่าง) + ปสฺสนา (การเห็น) + ญาณ (ความรู้, ปัญญา)

ปัญญาที่เห็นแจ้ง ปัญญาที่เห็นอย่างวิเศษ ปัญญาที่เห็นโดยประการต่างๆ หมายถึง ความสมบรูณ์ของปัญญาซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการอบรมสติปัฏฐาน ได้แก่ปัญญาเจตสิกที่เกิดกับมหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์ ที่เห็นแจ้งสภาพธรรมโดยประการต่างๆ คือเห็นแจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมโดยความเป็นอนัตตา เห็นแจ้งความเกิดดับของนามธรรมรูปธรรม เห็นนามธรรมรูปธรรมโดยความเป็นภัย เห็นโดยความเป็นโทษ เห็นโดยความเป็นผู้ใคร่ที่จะพ้นจากสังขาร ฯลฯ

วิปัสสนาญาณมี ๑๖ ขั้น คือ

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความแยกขาดจากกันของนามธรรมและรูปธรรมที่ละอารมณ์ โดยสภาพความเป็นอนัตตา

๒. ปัจจยปริคคหญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ความเป็นปัจจัยของนามธรรมและรูปธรรม คือ รู้ชัดว่านามรูปแต่ละอย่างมีปัจจัยเป็นเหตุให้เกิด

๓. สัมมสนญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งการเกิดดับสืบต่อของนามธรรม รูปธรรมอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นโทษของการเกิดดับได้ไม่ชัดเจน

๔. อุทยัพพยญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง การเกิดดับของนามธรรมรูปธรรมอย่างละเอียด เป็นวิปัสสนาที่มีกำลังเห็นโทษของการเกิดดับของสภาพธรรมได้ยิ่งขึ้น

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ความดับทำลายของนามรูป โดยไม่ใฝ่ใจถึงการเกิด

๖. ภยตุปัฎฐานญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยเห็นความเป็นภัยในสังขารทั้งหลาย

๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งรูป โดยเห็นความเป็นโทษ ในสังขารทั้งหลาย

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยเห็นทุกข์โทษภัย จนเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารธรรมทั้งปวง

๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งนามรูป โดยความที่ใคร่ จะพ้นจากสังขารธรรมทั้งปวง

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูป เป็นเหตุที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากสังขารธรรม

๑๑. สังขารุเบกขาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะทั้ง ๓ ของนามรูปที่คมกล้ายิ่งขึ้น จนเกิดความมัธยัสถ์ วางเฉยในสังขารธรรมทั้งปวง

๑๒. อนุโลมญาณ ปัญญาในอนุโลมชวนะ ๓ ขณะในมัคควิถี (บริกรรม อุปจาร อนุโลม) คล้อยตามเพื่อการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน

๑๓. โคตรภูญาณ ปัญญาในโคตรภูชวนะ กระทำนิพพานให้เป็น อารมณ์ ข่มเสียซึ่งโคตรปุถุชนเพื่อถึงอริยโคตร เป็นอาวัชชนแก่มรรคญาณ

๑๔. มรรคญาณ ปัญญาในมัคคจิตซึ่งเป็นโลกุตระ สำเร็จกิจ ทำลายกิเลส ดับวัฏฏทุกข์ ปิดประตูอบาย ๔ เป็นขณะที่ถึงพร้อมด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ

๑๕. ผลญาณ ปัญญาในผลจิตที่เกิดต่อกัน ๒–๓ ขณะ เสวย วิมุตติสุขอันปราศจากกิเลสซึ่งอริยมรรคประหารแล้ว

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ปัญญาในปัจจเวกขณวิถีอันเป็นโลกียะ พิจารณา มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลืออยู่รวม ๕ วาระ สำหรับพระอรหันต์ไม่มีกิเลสที่เหลืออยู่ให้พิจารณา จึงมีปัจจเวกขณวิถีเพียง ๔ วาระ ปัจจเวกขณวิถีของพระอริยบุคคลทั้งหมดจึงมี ๑๙ วาระ

การฝึกสมถกรรมฐาน จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนวิปัสสนากรรมฐานหรือไม่ ผมเองก็อยู่ในขั้นจินตามยปัญญากับสุตมยปัญญา โดยอาศัยวิธีเหล่านั้น ทำให้ผมรู้สึกว่า จิตที่จะมีสภาพรู้ญาณต่างๆ นั้น จิตต้องไว มีกำลัง และผ่องใสมาก เพื่อประกอบกับการน้อมปัจจัยเพื่อระลึกรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะเวลาที่รู้สึกว่ามีสติระลึกรู้สภาพต่างๆ บ้าง จะรู้สึกว่าประกอบด้วยสมาธิมากกว่าขณะทั่วไปด้วย สมาธิที่เป็นองค์มรรคต้องมีกำลังขนาดใหน ถึงเป็นองค์ของมรรคต้องเจริญหรือไม่ จากการศึกษาวิชาการกล่าวว่า จิตทุกดวงมีสมาธิเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วสมาธิในสมถกรรมฐาน กับสมาธิเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวงนั้นต่างกันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
WS202398
วันที่ 22 ธ.ค. 2551

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความแยกขาดจากกันของ นามธรรมและรูปธรรมที่ละอารมณ์ โดยสภาพความเป็นอนัตตา นามรูปที่ปรากฏเร็วมาก สมรรถภาพของจิต กำลังของจิตน่าจะต้องสูงมากถึงจะรู้ได้ทัน หากเจริญแต่วิปัสสนากรรมฐาน ไม่เจริญสมถกรรมฐานร่วมด้วยจะเป็นไปได้หรือ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 22 ธ.ค. 2551

ในสมัยครั้งพุทธกาลบรรดาสาวกของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่เจริญทั้งสมถและวิปัสสนา บรรลุมรรคพร้อมฌานมีจำนวนน้อยกว่า ผู้ที่บรรลุมรรคโดยไม่มีฌานมีจำนวนมากกว่า เพราะท่านเหล่านั้นเจริญวิปัสสนาล้วนๆ ไม่ได้เจริญสมถภาวนา ดังนั้นเมื่ออบรมเจริญวิปัสสนาจนปัญญามีกำลังเป็นวิปัสสนาญาณความคมกล้าของปัญญาย่อมทำให้แทงตลอดในนามรูปที่เกิดดับอย่างรวดเร็วได้เพราะฉะนั้นไม่ต้องห่วงหรอกครับขอให้อบรมไปเรื่อยๆ ปัญญาย่อมทำกิจของปัญญาอย่างแน่นอน

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 22 ธ.ค. 2551

ขอบพระคุณค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
vikrom
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

ขอถามความหมายของคำว่า วาระ ในญาณที่ ๑๖ หน่อยครับ

1. ความเร็วจะเท่ากับ คำว่า วาระของวิถีจิตไหมครับ

2. ขณะที่พิจารณา มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละแล้ว และกิเลสที่เหลืออยู่รวม ๕ วาระนี้ จะใช้เวลาเป็นวันหรือเป็นแค่วิถีจิตช่วงสั้นๆ ครับ จริงๆ แล้วข้อ 1 กับ ข้อ 2 น่าจะคล้ายๆ กันนะครับ

ขอบคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เซจาน้อย
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
vikrom
วันที่ 24 ธ.ค. 2551

ขอบคุณมากครับที่ให้ข้อมูลในการศึกษาด้วยตัวเองตามที่ท่านอาจารย์สอนไว้

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 25 ธ.ค. 2551

เชิญคลิกอ่านที่นี่ค่ะ ...

ฌาณ กับ มิจฉาทิฏฐิ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornpaon
วันที่ 5 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ