สงสัยเกี่ยวกับการพูดโกหกแล้วเกิดผลดี

 
tanawat
วันที่  22 ธ.ค. 2551
หมายเลข  10744
อ่าน  5,708

สงสัยเกี่ยวกับการพูดโกหกแล้วเกิดผลดี

1. สมมติว่าถ้ามีเพื่อนชวนไปดื่มสุรา แต่เราโกหกว่าปวดหัว ไปไม่ได้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ปวดหัวเลยเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดศีลข้อ ๕ แต่จะผิดศีลข้อ ๔ ไหมครับ ทำถูกต้องไหมครับ

2. สมมติว่า เราไปงานเลี้ยง มีของติดมากับกระเป๋าเรา ทั้งๆ ที่เราไม่ได้จงใจจะเอามา แต่มันติดมากับกระเป๋า และเราก็ไม่รู้ว่าเจ้าของเป็นใคร เรารู้สึกกลัวเลยไม่กล้าเอาของนั้นเก็บไว้ เลยเอาไปทิ้ง เพราะกลัวผิดศีล อย่างนี้ทำถูกต้องไหมครับ

3. ถ้าเป็นหมอโกหกคนไข้เพื่อรักษากำลังใจอย่างนี้ถูกต้องไหม ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

๑. ผิดศีลข้อ ๔ แน่นอนครับ ไม่ควรทำ และไม่ควรดื่มสุราด้วย ถ้าเราหลีกเลี่ยงได้ ควรหลีกเลี่ยง หรือก็บอกตรงๆ ว่าเลิกดื่มสุราแล้วก็ได้

๒. ทำไม่ถูกครับ ควรหาเจ้าของแล้วเอาของไปคืนเขาจึงจะถูกต้อง

๓. จะเป็นใครก็ไม่ควรโกหก ควรพูดจริง แต่บางครั้งอาจพูดเลี่ยงได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

จากคำถามข้อ ๑. ผมขอตั้งข้อสังเกตุว่า เมืองไทย เป็นเมืองพุทธ แต่การไม่ดื่มสุรากลับเป็นเรื่องผิดปกติ ท่านผู้ถามและอีกหลายๆ ท่าน ลำบากใจที่จะบอกสังคมและคนรอบข้างว่า ตนเองตั้งใจจะไม่ดื่มสุรา ถ้าเพียงแต่ การไม่ดื่มสุรา จะเป็นเรื่องปกติ ถ้าเพียงแต่คนรอบข้างจะมีปกติไม่ดื่มสุรา

มิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ ที่นี่จึงน่ารื่นรมย์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ และจากการดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทนั้น เป็นการรักษาศีล ๕ รักษาความเป็นปกติทางกาย ทางวาจา ไม่ให้เป็นไปกับด้วยอกุศลกรรมประการต่างๆ เป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนควรตระหนักอยู่เสมอ ถึงแม้จะมีความเข้าใจว่าผู้ที่จะมีศีล ๕ ที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริงได้นั้น ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน แต่ถึงแม้ว่าจะยังไม่ใช่พระโสดาบัน ก็สามารถที่จะอบรมขัดเกลาตัวเอง เริ่มได้ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง อกุศลจะเบาบางลงได้ ก็ต่อเมื่อเป็นผู้ที่เข้าใจพระธรรมไปตามลำดับ สำหรับเรื่องการพูดเท็จนั้น ไม่มีความจำเป็นอะไรทีจะพูดเท็จเลย ควรพูดไปตามความเป็นจริง อธิบายถึงเหตุผลให้เพื่อนได้เข้าใจ คงจะง่ายกว่า และไม่เป็นโทษกับตนเองด้วย (ผู้ที่พูดเท็จ ผู้ฟังอาจจะไม่รู้ว่าผู้พูดพูดเท็จ แต่ผู้พูดย่อมรู้อยู่แก่ใจว่าตนเองพูดเท็จ จึงเป็นเรื่องที่ควรแก่การพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

๒. ไม่ควรทำอะไรไปด้วยความไม่รู้ หรือ คิดเอาเองว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้อง เมื่อไม่ใช่ทรัพย์สินของตนเอง แต่ติดมากับกระเป๋าของตนเอง ก็ควรจะพิจารณาว่ามาจากไหน (ตามเหตุการณ์ที่เล่ามาคืองานเลี้ยง) แล้วนำไปคืนที่เดิมกับเจ้าของ หรือวานให้ผู้อื่นในงานนั้นประกาศหาเจ้าของ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง

๓. คำเท็จ ไม่ควรที่จะพูดเลย (การพูดเท็จ แม้เพื่อจะหัวเราะกันเล่น ก็ไม่ควร) ควรพูดแต่ความจริง แต่ความจริงบางอย่าง ต้องดูกาละด้วย สรุป ก็คือ ไม่ควรพูดเท็จมีพระพุทธพจน์บทหนึ่งที่พระผู้มีภาคตรัสเกี่ยวกับการพูดเท็จ สำหรับเตือนพุทธบริษัทความว่า "ผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก หรือแม้ผู้ใด้ทำแล้ว กลับกล่าวว่า ข้าพเจ้ามิได้ทำ ชนแม้ทั้งสองนั้น เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม ละไปในโลกอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน (คือเข้าถึงนรกเหมือนกัน) "

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 23 ธ.ค. 2551

อกุศลจะ เป็นเหตุให้เกิดผลดี เป็นไปไม่ได้ค่ะเจตนา (กรรม) ในการพูดโกหก ก็ต้องมีผลเป็นอกุศล ซึ่งเป็นเหตุในการรับผลจากกรรม (อกุศลวิบาก) ต่อไปในอนาคตผู้เห็นโทษของกรรม ที่เป็นอกุศล ทางกาย วาจา ย่อมมีฉันทะในการวิรัติทุจริต เพราะรู้ว่ากรรมมีผล ไม่มีข้ออ้างใดๆ แต่จะหลีกเลี่ยงการกระทำทุจริตอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับ "สติปัญญา" ของผู้นั้นค่ะ

พระธรรมจะมีคุณค่า เมื่อได้นำมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริงจะละเว้นอกุศลกรรมได้ มากน้อย ตามเหตุปัจจัย บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะยังเป็นปุถุชน ยังไม่ใช่พระโสดาบัน จึงไม่ควรประมาท (เพราะชีวิตประจำวัน กุศลเกิดน้อยกว่าอกุศลอยู่แล้ว) สำคัญที่ "การมีความเข้าใจที่ถูกต้อง" ควรมีก่อนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 23 ธ.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 24 ธ.ค. 2551
อนุโมทนาคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Noparat
วันที่ 24 ธ.ค. 2551

ผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรม ย่อมเป็นผู้ตรงที่จะน้อมประพฤติปฏิบัติตาม

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
tanawat
วันที่ 24 ธ.ค. 2551

ถ้าเจ้าของเขากลับไปก่อน หรืองานเลิกจนแขกกลับไปหมดแล้ว เราไม่รู้ว่าเจ้าของผู้นั้นชื่ออะไรอยู่ที่ไหน และก็ไม่มีใครรู้ว่าแขกที่มางานอยู่ที่ไหนกันบ้าง ควรทำอย่างไรดีครับช่วยให้ผู้รู้ได้ช่วยอธิบายหน่อย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ใบไม้นอกกำมือ
วันที่ 24 ธ.ค. 2551

คุณ tanawat ครับ

ในครั้งพุทธกาลเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับศีลธรรม หรือพระวินัย แล้วมีผู้ไปถามพระพุทธเจ้า เช่น มีภิกษุไปตัดไม้ ไม้ตกลงมาโดนเพื่อนภิกษุตาย หรือ มีภิกษุใช้มือปัดโดนมดตาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะสอบสวนเขาโดยถามคำถามเดียว คือ ตอนที่ท่านทำสิงนั้นลงไป ในใจของท่านมีเจตนาเช่นไร ถ้าเขาตอบว่า คันที่แขน เลยเอามือไปเกาและปัด พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า ท่านไม่ได้มีเจตนาฆ่ามด จะถือว่าทำบาปกรรมได้ยังไง ในกรณีภิกษุไปตัดไม้ ไม้ตกลงมาโดนเพื่อนภิกษุตาย สวบสวนแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุคนนี้มีเจตนาอย่างอื่น ไม่ได้มีเจตนาฆ่าเพื่อน จึงไม่ผิด

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ajarnkruo
วันที่ 24 ธ.ค. 2551

1. ไม่เป็นผลดีต่อตัวเองเลยครับ ทำผิดศีลเพื่อความสบายใจของตัวเองชั่วขณะ ถ้ากรรมนี้ให้ผล จะไม่ได้รับผลเป็นความสุขแม้ชั่วขณะเลย อย่างหนักก็เกิดในอบายภูมิ ได้ ถ้ารู้อย่างนี้ต่อไปก็ไม่ควรที่จะโกหกเลยครับ โกหกไปก็ไม่ได้ทำให้เพื่อนเลิกชวน ด้วย อาจจะปัดไปได้ครั้งสองครั้ง ต่อไปถ้าเขาเห็นว่าเราสบายดีแล้ว เขาก็จะชวน อีก ถ้าเรายังไม่กล้าที่จะปฏิเสธด้วยเหตุผลที่สมควร ด้วยความจริงใจ เราก็อาจจะกลับไปเผลอโกหก เพียงเพื่อหนี เพื่อผลัด เพื่อเลื่อนคำชวนของเพื่อนไปอีก อย่าง นี้เรื่อยไปไม่จบสิ้นครับ

2. สิ่งที่นำติดตัวมาแล้วทิ้งไป ความจริง สิ่งนั้นอาจจะยังเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของเดิม มากก็ได้ครับ ผู้จัดงานเลี้ยงหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องอาจจะยังพอมี กลับไปฝากให้ เขาตามหาก็ดีนะครับ เผื่อเจ้าของรู้ตัวอาจจะวกกลับมาถามหาของที่ตนทำหายไป ก็เป็นได้

3. การรักษาน้ำใจด้วยคำจริงย่อมดีกว่าครับ รักษาทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น ถ้ารู้ว่าโกหกไปแล้วเขาสบายใจชั่วคราว แต่เราจะต้องตกนรก ก็ดูแล้วไม่คุ้มเลย นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
suwit02
วันที่ 24 ธ.ค. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 10 โดย ใบไม้นอกกำมือ

คุณtanawat ครับ

ในครั้งพุทธกาลเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับศีลธรรม หรือพระวินัย แล้วมีผู้ไปถามพระพุทธเจ้าเช่น มีภิกษุไปตัดไม้ ไม้ตกลงมาโดนเพื่อนภิกษุตาย หรือมีภิกษุใช้มือปัดโดนมดตายพระผู้มีพระภาคเจ้าจะสอบสวนเขาโดยถามคำถามเดียว คือ ตอนที่ท่านทำสิงนั้นลงไป ในใจของท่านมีเจตนาเช่นไร

ถ้าเขาตอบว่า คันที่แขน เลยเอามือไปเกาและปัด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตอบว่า ท่านไม่ได้มีเจตนาฆ่ามด จะถือว่าทำบาปกรรมได้ยังไง ในกรณีภิกษุไปตัดไม้ ไม้ตกลงมาโดนเพื่อนภิกษุตาย สอบสวนแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุคนนี้มีเจตนาอย่างอื่น ไม่ได้มีเจตนาฆ่าเพื่อน จึงไม่ผิด

ผมพอสรุปความเห็นของท่านผู้ตอบ ได้ว่า การกระทำใดๆ จะผิด วินัย/ศีล หรือไม่ จะมีโทษหรือไม่ โทษหนักเบาเพียงใด ขึ้นกับเจตนาของผู้กระทำ เท่านั้น

ในประเด็นนั้น ผมขอสงวนไม่แสดงความเห็น แต่ใคร่ขอเรียนถามท่านทั้งหลาย รวมทั้งท่านผู้ตอบว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่ยกมาประกอบความเห็นคือ มีภิกษุไปตัดไม้ ไม้ตกลงมาโดนเพื่อนภิกษุตาย หรือมีภิกษุใช้มือปัดโดนมดตาย (และรายละเอียดอื่นๆ ตามที่กล่าวไว้) นั้น เป็นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริง หรือไม่ มีอาคตสถานแห่งใด หรือไม่

ขอบพระคุณครับ

ขอเชิญอ่านกระทู้...

ศึกษาพระธรรมผิด.....เปรียบเสมือนการจับงูพิษที่ข้างหาง

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
Noparat
วันที่ 24 ธ.ค. 2551

ตอบความคิดเห็นที่ 9
ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นกุศล ย่อมไม่ละความพยายามในการเจริญกุศล ต้องหาวิธี...
อาจจะฝากไว้ให้ผู้อื่นช่วยประกาศหาเจ้าของ หรือฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ในงานนั้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
somlukar
วันที่ 25 ธ.ค. 2551

หมอไม่ควรโกหกเพื่อรักษากำลังใจคนไข้

ความจริงที่เป็นประโยชน์ พูดแล้วผู้ฟังรับได้ ควรพูดความจริงที่เป็นประโยชน์ พูดแล้วผู้ฟังรับไม่ได้ ไม่ควรพูด หมอควรสืบค้นว่า คนไข้กลัวความจริงของชีวิตอย่างไรการรับรู้ความจริงที่เจ็บปวด เช่น ป่วยเป็นมะเร็ง ทำให้คนไข้มีเวลาเตรียมใจ ให้เกิดกุศลจิต ไม่ประมาทกับความตายซึ่งแม้หมอเองก็หนีไม่พ้นเช่นกัน บางทีหมออาจตายก่อนคนไข้ก็มีถมไป ดีกว่าคนไข้มารู้ทีหลังว่าหมอโกหกเมื่อจวนสิ้นลมแล้ว อันเป็น อกุศลจิตช่วงใกล้มรณาสันนวิถี ซึ่งมีโอกาสไปปฏิสนธิในทุคติภูมิสูง

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
pornpaon
วันที่ 25 ธ.ค. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลเจตนาทุกท่าน ที่เพียรเจริญการขัดเกลากิเลสและละเว้นทุจริตทั้งหลาย

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
wannee.s
วันที่ 25 ธ.ค. 2551

คนพาลกับบัณฑิตเข้ากันไม่ได้ เปรียบเหมือนกุศลไกลจากอกุศลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
paderm
วันที่ 28 ธ.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ขณะที่ทำความไม่ดีเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น ขณะนั้นทำลายตัวเองก่อนเพราะเป็นอกุศล ดังคำพระพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้ เสื่อมเสียเพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก ประโยชน์ของตนเสื่อมเสียเพราะเป็นอกุศล แม้ผู้อื่นได้รับประโยชน์แต่เป็นโทษกับตนเอง จึงควรทำในสิ่งที่ดีแต่เป็นผู้ที่ฉลาดที่จะพูดตรงตามความเป็นจริงซึ่งย่อมนำมาซึ่งประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นด้วยเพราะเป็นไปในกุศลธรรมครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
ไม่มีเรา
วันที่ 30 ธ.ค. 2551

ขอโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 27  
 
Endeavor
วันที่ 18 มี.ค. 2552

กุศลหรืออกุศล เป็นสภาพของจิตครับ เพราะฉะนั้นแทนที่จะสรุปไปเลยว่าการทำแบบนี้เป็นกุศลหรืออกุศลซึ่งมีจิตเกิดสืบต่อกันหลายขณะ ผมอยากให้พิจารณาแต่ละขณะของจิตว่าเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิตมากกว่าครับเช่น ตัวอย่างข้อ ๑ จิตที่เกิดขึ้นต้องการที่จะเว้นศึลข้อ ๕ คือไม่ดื่มสุรา ก็ควรจะเป็นกุศลจิต ส่วนจิตที่เกิดขึ้นต้องการที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าเราปวดหัวทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าความจริงเราไม่ได้ปวดหัว นี่ก็ควรจะเป็นอกุศลจิตครับการเจริญกุศลมากๆ เพียงอย่างเดียวโดยไม่อบรมเจริญปัญญานั้น ไม่ใช่หนทางดับสังสารวัฏฏ์ เพราะกุศลเองก็เป็นปัจจัยให้ต้องมีการเกิดอีกเพื่อรับผลที่ดีเป็นกุศลวิบาก แต่การจะดับสังสารวัฏฏ์นั้น ต้องเจริญปัญญา คือความรู้ที่จะดับความไม่รู้ในสภาพธรรมะทั้งหลาย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 28  
 
chatchai.k
วันที่ 25 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ