ตามอัธยาศัย - ตามเหตุปัจจัยที่ท่านสะสมมา - ปาราสริยเถรคาถา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
สนทนาธรรมกับท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า แต่ละท่าน มีชีวิต ตามความเป็นจริงอย่างไร สะสมเหตุ ปัจจัย มาอย่างไร ท่านก็ระลึกรู้ ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเกิดดับและปรากฏกับท่านตามความเป็นจริง อย่างนั้น
การประจักษ์แจ้งอริยสัจจธรรม จึงเกิดได้ทั้งในเพศคฤหัสถ์ และบรรพชิตเมื่ออบรมเจริญสติปัฏฐานคือ เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมแล้ว เป็นคฤหัสถ์ ก็มี เป็นบรรพชิต ก็มีแม้แต่วงศ์ศากยะ เมื่อฟังพระธรรมแล้ว ก็มีทั้งที่ออกผนวช และไม่ออกผนวชจึงเป็นไป ตามอัธยาศัย ตามความเป็นจริงของผู้นั้น
เพราะฉะนั้น ควรพิจารณา ว่า ตัวท่านขณะนี้ เป็นอย่างไรก็ควรเป็นไป ตามอัธยาศัย ตามปกติ ตามความเป็นจริงของตัวท่านที่มีเหตุปัจจัย สะสมมาเช่นนี้ จึงเป็นอย่างนี้และสติปัฏฐาน ก็ระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏกับท่าน ตามเหตุปัจจัยที่ท่านสะสมมา ตามความเป็นจริง และต่อไปจะเป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย เช่นเดียวกัน
.
.ชีวิตของบรรพชิต เป็นชีวิตที่ยากนะคะถ้าผู้ใดไม่ได้มีอุปนิสสัย สะสมมาที่จะเป็นบรรพชิตจริงๆ การเป็นบรรพชิต ย่อมเป็นสิ่งที่ยากมากซึ่งท่านผู้ฟังก็จะเปรียบเทียบได้จากชีวิตตามความเป็นจริงระหว่างคฤหัสถ์ และ บรรพชิต.ซึ่งถ้าผู้ใดสะสมอุปนิสสัยมา ที่จะอบรมเจริญสติปัฏฐาน ขัดเกลากิเลส ดับกิเลส ในเพศบรรพชิต ท่านก็จะรู้ได้ว่า เหตุปัจจัยที่ท่านสะสมมาเป็นเหตุให้ท่านสามารถเจริญสติปัฏฐานในเพศบรรพชิตได้จริงๆ
ขอกล่าวถึงขัอความใน ขุททกนิกาย เถรคาถา ปาราสริยเถรคาถา ข้อ ๓๙๔
เพื่อให้ท่านผู้ฟังได้พิจารณาว่า ที่ท่านไม่ใช่บรรพชิต หรือ ไม่ได้สะสมเหตุปัจจัยมีอัธยาศัยที่จะขัดเกลากิเลสในเพศของบรรพชิต เพราะกิเลสของท่านที่สะสมมามีมากอย่างไร
ปาราสริยเถรคาถา มีข้อความว่าพระปาราสริยเถระผู้เป็นสมณะ มีจิตแน่วแน่ เป็นอารมณ์เดียวผู้สงบระงับ เจริญฌานอยู่ในป่าใหญ่ ฤดูดอกไม้ผลิ ได้มีความคิดว่าในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นนาถของโลกยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ความประพฤติของภิกษุ เป็นอย่างหนึ่ง เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว เดี๋ยวนี้ปรากฏเป็นอีกอย่างหนึ่ง
คือ ภิกษุ ทั้งหลาย แต่ปางก่อน ขบฉันอาหารประณีตก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม ก็เพียงยังอัตตภาพให้เป็นไปเท่านั้น ไม่ติดพัน ไม่พัวพันเลย
นี่เป็นอัธยาศัยจริงๆ ซึ่งแม้ว่าท่านผู้ฟังจะเป็นคฤหัสถ์ท่านก็ได้สาระประโยชน์จากการพิจารณาตัวท่านเอง ว่าต่างกันกับพระภิกษุในครั้งพุทธกาล อย่างไร
ขออนุโมทนา
นี่เป็นอัธยาศัยจริงๆ ซึ่งแม้ว่าท่านผู้ฟังจะเป็นคฤหัสถ์ท่านก็ได้สาระประโยชน์จากการพิจารณาตัวท่านเอง ว่าต่างกันกับพระภิกษุในครั้งพุทธกาล อย่างไร
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ
และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณพุทธรักษาที่นำบทความที่มีสาระสำคัญมาให้ศึกษาพิจารณาอยู่เสมอๆ ค่ะ