การทำสมาธิ กับ การทำวิปัสสนา ต่างกันอย่างไร

 
internet
วันที่  17 เม.ย. 2549
หมายเลข  1081
อ่าน  7,707

อยากทราบว่า การทำสมาธิ กับการทำวิปัสสนา ทั้ง ๒ อย่างนี้ต่างกันอย่างไรหรอครับ แล้วก็อยากทราบบทแผ่เมตตาครับ ขอบคุณครับ สาธุ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 17 เม.ย. 2549

เรื่องของสมถและวิปัสสนาเป็นเรื่องของผู้ที่มีปัญญา ถ้าขาดปัญญาแล้วจะเป็นสมถวิปัสสนาไม่ได้ แม้แต่การแผ่เมตตาก็ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนว่าเมตตาคืออะไร การแผ่คืออะไร สมาธิคืออะไร วิปัสสนาคืออะไร ไม่ควรไปทำตามใครๆ บอกโดยที่เราขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ สมาธิ มีทั้งสมาธิที่ผิดและสมาธิที่ถูก วิปัสสนาและการแผ่เมตตาก็เช่นกัน ถ้าเข้าใจผิดแล้วไปทำย่อมผิดเมื่อเข้าใจถูกต้องการเจริญเมตตา สมถและวิปัสสนาจึงถูกต้องได้โปรดศึกษาพระธรรมคำสอนให้เข้าใจก่อน อย่าพึ่งรีบร้อนที่จะเป็นผู้ปฏิบัติ เพราะอาจเป็นผู้ปฏิบัติผิดโดยไม่รู้ว่าปฏิบัติผิด

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ภพฺพาคมโน
วันที่ 18 เม.ย. 2549

ตามนัยพระสูตร

สมถะ = สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔

บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์

ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้เพราะล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง
ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวงนี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗ ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘

วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ

จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตาย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลินย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัดย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตาย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อมละความถือมั่นได้ ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prakaimuk.k
วันที่ 18 เม.ย. 2549

ขออนุโมทนาค่ะ ช่วยให้เข้าใจและเห็นอานิสงค์ของอนิจจสัญญา ทุกขสัญญา และอนัตตสัญญาได้ชัดเจนยิ่งขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Narakrit
วันที่ 2 ธ.ค. 2565

อ่านแล้วทั้งสมาธิและวิปัสสนา...หากจะเริ่มฝึกปฏิบัติควรเริ่มอะไรเป็นปฐมภูมิก่อนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ธ.ค. 2565

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ธ.ค. 2565
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 19 ก.พ. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ