การปฏิบัติธรรม

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  1 ม.ค. 2552
หมายเลข  10816
อ่าน  3,687

การปฏิบัติธรรม คือ การถึงเฉพาะลักษณะของธรรมที่มีอยู่จริงๆ ที่กำลังปรากฏโดยไม่ต้องไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาให้ผิดจากปกติ แม้ขณะที่กำลังอ่านอยู่นี่ ก็มีสภาพธรรม ค่ะ

คำว่า ปฏิบัติธรรม มาจากภาษาบาลีว่า ปฏิปัตติ

ปฏิ หมายความว่า เฉพาะ

ปัตติ หมายความว่า ถึง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 3 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
opanayigo
วันที่ 18 ม.ค. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
hadezz
วันที่ 15 ก.พ. 2552

การปฏิบัติธรรม แต่ก่อนแต่ไรมามีความคิดความเข้าใจว่าต้องอยู่ห้อง ในที่สงบ ต้องปลีกวิเวก หรือนั่งหลับตาภาวนาจนทรมานสังขาร ต้องมีความเพียร ถ้ามีผู้มารบกวน ก็ทำให้ขุ่นเคืองกันได้ ได้อ่าน ได้ฟังและศึกษาธรรมอย่างลึกซึ้งแล้วถึงได้รู้ว่า ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากไม่ต้องขออนุญาตสามีเพื่อไปนอน กิน อยู่ที่สำนักปฏิบัติ ให้เสียเวลาถึง ๗ วันบ้าง ๑๐ วันบ้าง หรือแม้แต่ที่บ้าน ไม่ต้องอยู่ในห้อง ในที่สงบหรือในที่ไหนๆ ของบ้านเราก็สามารถเจริญวิปัสสนา เจริญปัญญาตามสภาพธรรมที่เกิดตามความเป็นจริงเป็นปัจจุบัน ฟังธรรมที่บ้าน อ่านหนังสือธรรมที่บ้านก็เกิดปัญญาได้ตามความเหมาะที่ได้สะสมอยู่เนืองๆ เฝ้าดูสติของเราเองนั้นดีที่สุดแล้ว

ขออนุโมทนาค่ะ เรื่องการปฏิบัติไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ศิณอนงค์
วันที่ 17 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kammatan.com
วันที่ 18 ก.พ. 2552

ใช่แล้วครับ ปฏิบัติ คือ ถึงเฉพาะหน้า ซึ่งคนส่วนมากจะเข้าใจว่า ต้องไปทำ เลยทำให้ความหมายที่แท้จริงนั้นผิดไป สาธุ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 19 ก.พ. 2552

ปฏิบัติ คือ การถึงเฉพาะ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ขณะใดที่สภาพธรรมปรากฎให้รู้ สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นก็ถึงเฉพาะที่ลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา จึงเป็นความหมายที่ถูกต้องของการปฏิบัติธรรม คือ การถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะสติและปัญญาที่เกิดรู้ตามความเป็นจริง

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
bauloy
วันที่ 5 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 13 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
rara
วันที่ 9 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
dhammanath
วันที่ 13 ก.ค. 2553

คำว่า ปฏิบัติ มาจากคำบาลีว่า ปฏิปตฺติ ซึ่งประกอบด้วยคำว่า ปฏิ กับคำว่า ปตฺติปฏิ เป็นอุปสัค มีความหมายว่า เฉพาะ ตอบ ทวน กลับ ปตฺติ เป็นคำที่มีความหมายหลายประการเช่น พลเดินเท้า ส่วนบุญ การบรรลุ การถึงใบไม้ เป็นต้น

ปตฺติ มาจาก "ปท ธาตุ" เป็นไปในความถึง?

รวมกันเข้า สำเร็จรูปเป็น "ปฏิปตฺติ" ภาษาไทยเขียนเป็นปฏิบัติ ความหมายก็อย่างที่หลายท่านได้แสดงความคิดเห็นไว้แล้ว เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

ขออนุโมทนาครับ

ส่วนการหาที่สงัดปฏิบัติ หลีกออกจากความคลุกคลีด้วยหมู่คณะผู้คน โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว ผมก็ไม่กล้าให้ท่านเหล่านั้นผิดหรอกครับ ก็อาจเป็นการเหมาะสมสำหรับเงื่อนไขเหตุปัจจัยของแต่ละท่าน ในขณะเดียวกันก็เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าการปฏิบัติต้องดำเนินไปในชีวิตประจำวันของเรานี่เอง ที่ไม่กล้าให้ท่านที่หลีกออกจากหมู่คณะพรรคพวกเพื่อนพ้อง หาที่สงบสงัดเป็นการส่วนตัวผิด ก็เพราะเห็นว่าในพระไตรปิฎกมีพระพุทธพจน์ที่ผมไม่อาจปฏิเสธได้นั่นเอง

ขอนำข้อความบางส่วนมาเรียนเสนอให้พิจารณาดังต่อไปนี้ครับ

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ศาสนา) ไปในป่าก็ตาม ไปที่โคนไม้ก็ตาม ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายให้ตรง ตั้งสติไว้มั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก ย่อมมีสติหายใจเข้า ..."

ข้อความอย่างนี้มีปรากฏอยู่ในหลายพระสูตร และยังมีคำที่แสดงเป็นนัยทำนองเดียวกันนี้อีกมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prachern.s
วันที่ 13 ก.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ 10

ป่าและโคนไม้เป็นที่อยู่ของบรรพชิตผู้ไม่มีเรือน ป่าและโคนไม้ไม่ใช่ที่อยู่ของคฤหัสถ์ เมื่อภิกษุไปแล้วสู่ป่าและโคนไม้จะให้ท่านทำอะไร นอกจากสมณะธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
dhammanath
วันที่ 14 ก.ค. 2553

เรียนอาจารย์ประเชิญที่เคารพ

อาจารย์ครับ ในความเข้าใจของผมโคนไม้ ภิกษุอาจจะอยู่ชั่วคราวได้ ไม่ใช่ที่อยู่ประจำ จำพรรษาก็คงไม่ได้ด้วย ส่วนป่ามีความหมายกว้างเกินไป อาจจะมีเสนาสนะอยู่ก็ได้ ผมยอมรับครับว่า อาจารย์มีความรู้ดีในเรื่องของพระพุทธศาสนามากกว่าผม จึงใคร่ขอให้อาจารย์ช่วยตอบเพื่อให้ผมเข้าใจ และเพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านด้วย เอาแค่ ๓ ข้อก่อนครับคือ

ข้อที่ ๑. คำว่า "ภิกฺขเว แปลว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย" ท่านหมายเอาเฉพาะพระภิกษุทั้งหลายเท่านั้นเองหรือ หรืออย่างไร

ข้อที่ ๒. คำว่าป่าหรือโคนไม้ จะแสดงนัยถึงที่ๆ เงียบสงัดไม่ได้หรือ จะต้องเจาะจงเป็นป่าหรือโคนไม้เท่านั้นหรือ ถ้าเช่นนั้น "วา" ที่ว่ามีอัตถะเป็นอเนก จะแสดงนัยอย่างไร

ข้อที่ ๓. คำว่า "นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ) ตั้งกายให้ตรง ตั้งสติไว้มั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก ย่อมมีสติหายใจเข้า ..." (มหาสติปัฏฐานสูตร มหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๑๙/๒๕๒๘) ตรงนี้จัดว่าเป็นการ "ไปทำ" หรือเปล่าครับ ยังมีข้อความทำนองนี้ที่ผมสงสัยอีกเยอะครับอาจารย์ จะขอนำมาถามอีกครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
prachern.s
วันที่ 14 ก.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ 12

๑. คำว่า "ภิกฺขเว" ในบางแห่งหมายถึงพระภิกษุที่เป็นเพศบรรพชิตเท่านั้น แต่ในบางแห่งมีความหมายกว้างรวมถึงคนทุกเพศที่เห็นภัย

๒. แน่นอนครับ โดยอรรถแล้วหมายถึง ที่เงียบสงัด ซึ่งต้องมีองค์ประกอบของผู้ที่อยู่ในสถานที่นั้น เช่น มีปัญญา มีการศึกษาพระธรรมวินัยที่ดี อยู่ที่นั้นทำไม อยู่เพื่ออะไร เจริญอะไร เจริญอย่างไร รู้อะไร เป็นต้น

๓. เป็นเรื่องของผู้มีปัญญา ... ใช่ว่าทุกคนไปทำแล้วจิตจะสงบ เป็นสัมมาสมาธิ เป็นกุศล มีความเห็นถูก รู้ความจริง ... ดังนั้นต้องเป็นไปตามลำดับ จะไปเทียบกับคนในสมัยครั้งพุทธกาลไม่ได้ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
dhammanath
วันที่ 14 ก.ค. 2553

คำถามข้อที่ ๑.

ผมไม่ได้ถามถึงความหมายของคำ แต่ถามถึงการใช้ที่เป็นอาลปนะ คำร้องเรียก ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกที่ใช้แทนกลุ่มผู้ชุมนุมกันอยู่ แต่ไม่ทราบว่า มีความหมายอย่างเดียวทุกที่และทั่วไปหรือไม่

ขอขอบคุณครับอาจารย์

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
prachern.s
วันที่ 14 ก.ค. 2553

เรียนความเห็นที่ 14

เป็นคำที่ใช้เรียกพระภิกษุ ซึ่งเป็นหัวหน้าบริษัท แต่ก็รวมถึงพุทธบริษัทอื่นๆ ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
pamali
วันที่ 7 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
intra
วันที่ 1 ม.ค. 2555

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด เพื่อจะไม่ต้องหลงทางเหมือนหลายๆ คน

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
เซจาน้อย
วันที่ 7 ก.พ. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
jaturong
วันที่ 8 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
Chalee
วันที่ 15 ก.พ. 2555

พึ่งเข้าใจคำว่าปฏิบัติธรรมนี้แหละค่ะ สาธุ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
chatchai.k
วันที่ 9 ก.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ