ผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน

 
พุทธรักษา
วันที่  1 ม.ค. 2552
หมายเลข  10817
อ่าน  1,007

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

สนทนาธรรมกับท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สจริตกุล

ลองสังเกต ในวันหนึ่งๆ พูดถึงความดี ของตัวเอง บ้างหรือเปล่า คิดถึงความดี ของตัวเอง บ้างหรือเปล่า เปรียบเทียบ คิดถึง ความดี และ ความไม่ดี ของคนอื่น บ้างหรือเปล่า หรือว่า พอเห็นใคร ก็คิดว่า เป็นคนนั้น เป็นเรา เป็นเขา เป็นใครๆ นั่นคือ ลักษณะของกิเลส ที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะเหตุปัจจัย ตามความเป็นจริง

ขณะนั้น ถ้า "สติ" เกิด ระลึกรู้ "ลักษณะของกิเลส (มานะ) นั้น" ก็รู้ได้ว่า เป็นสภาพธรรม ที่เป็นอกุศลธรรมโดยเฉพาะ ขณะที่มีการ "ยกตน" และ "ข่มบุคคลอื่น" หรือ "เปรียบเทียบ" ..."การแสดงความต่างกัน" โดยมีเรา โดยมีเขา หรือบุคลอื่นๆ เป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นชีวิตประจำวัน

ในขณะนั้น ไม่ใช่การไปบังคับไม่ให้เกิด (เพราะย่อมทราบด้วยความเป็นผู้ตรงต่อลักษณะของธรรมะด้วย "สติ"ว่าเป็นไปไม่ได้) แต่สภาพธรรมนั้นเกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ให้ "สติระลึก" ได้ และ "ปัญญาจึงรู้" ว่าตัวเอง ยังมี "มานะ" มากหรือน้อย แค่ไหน เกิดขึ้นเมื่อไร และ มีบุคคลใดเป็นอารมณ์ ในขณะนั้น และเพื่อ การละคลายการยึดถือมานะ ในขณะนั้นต้องรู้ว่า ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา เขา ใครๆ ทั้งหมดแต่เป็นกิเลส ที่เป็นสภาพของ "มานะ"

เมื่อเห็นกิเลส คือ มานะ ที่เกิดให้รู้ได้ในขณะนั้นควรทราบด้วยว่า ควรจะละ "มานะ" หรือไม่ เมื่อมีการเปรียบเทียบ ระหว่างเรา เขา คนอื่นๆ แล้วมีการแสดงออกทางกาย ทางวาจา โดยมี "ลักษณะมานะ" คือ การยกตน ข่มบุคคลอื่นมีความเป็นเรา เป็นเขา เป็นใครๆ อยู่เรื่อยๆ ถ้า "สติสัมปชัญญะ" ที่ระลึกรู้ "ลักษณะ" ของกิเลส คือ "มานะ" ย่อมรู้ว่า ควรละมานะ ไม่ใช่ควรสะสมไว้ให้มากๆ

หากมีการ สังเกต สภาพของจิตใจในขณะนั้นจะทราบว่า ไม่อ่อนโยนเลย.เพราะความจริง ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม แท้จริงแล้ว ที่ยึดถือไว้ว่า เป็นเรา เป็นเขา เป็นคนอื่นนั้นก็เป็นเพียง "สภาพธรรม" ที่เกิดปรากฏ เพราะเหตุปัจจัย ที่ต่างๆ กันไป ในภพหนึ่ง ชาติหนึ่งซึ่งเป็นเพียง นามธรรม หรือ รูปธรรม เท่านั้น

ถ้าระลึกรู้ได้เช่นนี้ จิตใจจะอ่อนโยน เป็นเหตุให้ ไม่มีการยกตนและข่มผู้อื่นไม่มีการเปรียบเทียบบุคคลต่างๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา ในขณะนั้น เป็น "กุศลจิต" ซึ่งปราศจาก โลภะ หรือ ราคะหมายความว่า ขณะนั้นจิตปราศจาก มานะ ความยกตน ความถือตน ในขณะที่ระลึกรู้ได้.

ถ้าเป็น "ผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน" ก็จะทราบว่ายิ่ง "ปัญญา" เกิดขึ้นมากเท่าไรก็ยิ่งเห็น "กิเลส" ที่มีมากมายเหลือเกินในชีวิตประจำวัน ตามปกติ ตามความเป็นจริง (โดยความเป็นผู้ตรงต่อ "ลักษณะของสภาพธรรมที่ระลึกรู้" ในขณะนั้นๆ)

เพราะฉะนั้น ต้องดับ "ความเห็นผิด"ที่ยึดถือในสภาพธรรม ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ให้เป็นสมุจเฉท ก่อนที่จะ "ดับมานะ" ได้เป็นสมุจเฉท การดับกิเลส เป็น "สมุจเฉท" และไม่มี "มานะ" เกิดอีกเลย ต้อง ขัดเกลากิเลส "ทุกทาง" และจะต้องเป็น "ผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน"

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
choonj
วันที่ 2 ม.ค. 2552

ถ้าจะให้สังเกต ก็ต้องสังเกตด้วยฉันทะยังมีตัวตนที่สังเกต ถ้าสติระลึกก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นสติทีระลึกหรือเป็นความจำ ส่วนใหญ่จะเป็นการจำ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
เมตตา
วันที่ 2 ม.ค. 2552

เรียน พี่ชุณห์ที่นับถือที่พี่ว่า

ถ้าจะให้สังเกต ก็ต้องสังเกตด้วยฉันทะยังมีตัวตนที่สังเกต ในเมื่อรู้ว่าสังเกตด้วยฉันทะยังมีตัวตนที่สังเกต ซึ่งเป็นอกุศลจิตที่เกิดขึ้น ในเมื่อได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ควรที่จะศึกษา และพิจารณาพระธรรมให้เข้าใจขึ้นๆ ในลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ลักษณะของธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ปรากฎแล้ว ไม่มีใครบังคับไม่ให้เกิดได้ เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนใดๆ ทั้งสิ้น และที่กล่าวว่า ถ้าสติระลึกก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นสติทีระลึกหรือเป็นความจำ ส่วนใหญ่จะเป็นการจำ ครับ

ถ้ายังไม่แน่ใจก็อย่าไประลึกเลยค่ะ ไม่มีใครจะทราบตัวของเราเองได้ จุดประสงค์ของการฟังธรรมก็เพื่อให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎในขณะนี้ จึงควรฟังธรรมมากๆ และพิจารณาโดยละเอียดซึ่งจะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฎค่ะ

ขออนุโมทนาคุณพุทธรักษาที่โพส์สิ่งที่ดีๆ มาให้ศึกษากันค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
opanayigo
วันที่ 2 ม.ค. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 2 ม.ค. 2552

บัณฑิตหาโทษของตัวเองเพื่อแก้ไข ส่วนคนพาลสรรเสริญตัวเองค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Komsan
วันที่ 2 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เกมส์
วันที่ 3 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาทุกท่านครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 3 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาที่นำมาย้ำเตือนเพื่อจะได้ไม่ลืม และมีสัญญาที่มั่นคงว่า ไม่มีเรา หรือสัตว์ บุคคล ตัวตน มีแต่สภาพธรรมแต่ละลักษณะจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 3 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ajarnkruo
วันที่ 3 ม.ค. 2552

ความหมายของ "ลองสังเกต" ข้างต้นอธิบายเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพื่อให้เกิดการไตร่ตรอง ทบทวน และพิจารณาธรรมที่ปรากฏในชีวิตประจำวันอย่างเป็นเหตุเป็นผล และถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงเมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น ก็จะเป็นปัจจัยให้เป็นผู้ที่มีความละเอียดมากขึ้นที่จะไม่เผินและไม่ข้าม...โดยสติฯ เกิด...ระลึกรู้ในขณะที่สภาพธรรมนั้นปรากฏเช่น ระลึกรู้ลักษณะของมานเจตสิกที่ปรากฏ โดยความเป็นธรรมะ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
suwit02
วันที่ 3 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
narong.p
วันที่ 4 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาผู้ตั้งกระทู้นี้ครับ

อ่านแล้วสะสมความเข้าใจในความไม่มีตัวตน สัตว์บุคคล มั่นคง ยิ่งขึ้น ค่อยๆ ฟังสะสมความเข้าใจถูกในสภาพธรรม ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และขออนุโมทนาทุกความคิดเห็นของทุกท่านด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pornpaon
วันที่ 7 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
คุณ
วันที่ 10 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
pamali
วันที่ 23 มิ.ย. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ