พิสดาร คืออะไรครับ
แสดงธรรมโดยพิสดาร คำว่า "พิสดาร" ในที่นี้ คืออะไรครับ
การแสดงพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนใหญ่เป็นไปตามอัธยาศัยของผู้ฟัง บางครั้งผู้ฟังมีปัญญามาก เพียงยกหัวข้อขึ้นแสดงผู้ฟังก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว พระองค์ก็แสดงโดยย่อ สำหรับผู้ฟังบางท่าน เมื่อทรงแสดงเพียงอุเทศก็ไม่สามารถกำหนดได้ จึงทรงจำแนกโดยพิสดาร คือ แจกแจงธรรมโดยประการต่างๆ อย่างละเอียด ผู้ฟังจึงสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้
คำอธิบายจากอรรถกถา อายาจนสูตร มีดังนี้
[เล่มที่ 25] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 124
บุคคล ๔ จำพวก คือ อุคฆติตัญญู วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็เหมือนดอกบัว ๔ ชนิด เหล่านั้นนั่นเอง ในบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้น บุคคลใด ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง บุคคลนี้เรียกว่า อุคฆตติตัญญู. บุคคลใด ตรัสรู้ธรรมในเมื่อท่านจำแนกอรรถแห่งธรรมที่กล่าวโดยย่อให้พิสดาร บุคคลนี้เรียกว่าวิปจิตัญญู. บุคคลใดว่าโดยอุเทศโดยสอบถาม ใส่ใจโดยแยบคาย เสพ คบเข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตร ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับ บุคคลนี้เรียกว่า เนยยะ บุคคลใดสดับมากก็ดี กล่าวมากก็ดี ทรงจำได้มากก็ดี ให้ผู้อื่นสอนมากก็ดียังตรัสรู้ธรรมในชาตินั้นไม่ได้ บุคคลนี้เรียกว่า ปทปรมะ ในบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูหมื่นโลกธาตุซึ่งเสมือนดงอุบลเป็นต้นได้ทรงเห็นว่า อุคฆคิตัญญู เหมือนดอกบัวที่จะบานในวันนี้ วิปจิตัญญู เหมือนดอกบัวที่จะบานในวันพรุ่งนี้ เนยยะ เหมือนดอกบัวที่จะบานในวันที่ ๓ ปทปรมะ เหมือนดอกบัวที่เป็นภักษาแห่งปลาและเต่า และพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงเห็น ได้ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า สัตว์มีประมาณเท่านี้ มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย สัตว์มีประมาณเท่านี้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากในสัตว์แม้เหล่านั้น สัตว์มีประมาณเท่านี้ เป็นอุคฆติตัญญู
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเป็นผู้จำแนกธรรม สั่งสอนเวไนยสัตว์ พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาคุณอนุเคราะห์เกื้อกูลสัตว์โลกให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง ด้วยการแสดงพระธรรมที่เหมาะควรแก่อัธยาศัยของแต่ละบุคคล ผู้ที่ได้สั่งสมบารมีมาก็ได้ฟังและสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมบรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่างๆ ส่วนผู้ที่ไม่ได้บรรลุ ก็สั่งสมความเข้าใจถูกเห็นถูกเพื่อประโยชน์ในภายหน้าต่อไป จากการทรงแสดงพระธรรมของพระองค์ บางครั้งทรงยกเป็นอุทเทศ (หัวข้อ) ขึ้นแสดงเท่านั้น บางครั้งก็ทรงแสดงโดยละเอียด ซึ่งทั้งหมดทั้งปวง ก็เพื่อประโยชน์ของผู้ฟังอย่างแท้จริง เพราะจากการแสดงพระธรรมของพระองค์นั้น พระองค์ไม่ทรงหวังอะไรจากผู้ฟังแม้แต่น้อย นอกจากผู้ฟังจะเข้าใจเป็นปัญญาของตนเองเท่านั้น
(คำว่า พิสดาร ที่เข้าใจกันในภาษาไทย กับ คำว่าพิสดาร ในภาษาธรรม ความหมายไม่ตรงกัน คำว่า พิสดาร ในภาษาธรรม หมายถึง ละเอียด หรือ ขยายออกไปให้กว้างขวางขึ้น ครับ)
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ไม่ใช่ทรงปริวิตก หรือ ตรึก หรือ คิดทรงประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงทรงแสดงธรรม ผู้ฟังสามารถที่จะพิสูจน์ธรรมที่กำลังฟังได้ทุกขณะเมื่อมีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้นธรรมเป็นเรื่องละเอียด ไม่สามารถคิด หรือปฏิบัติเองโดยไม่ฟังพระธรรม นี่เป็นข้อที่สำคัญมาก
ขออนุโมทนาครับ คือที่ถามนี่ก็เพื่อจะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำนี้น่ะครับ เพื่อจะได้ไม่คิดไปเองครับ เป็นไปตามลำดับน่ะครับ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 10844 ความคิดเห็นที่ 8 โดย เกมส์
ขออนุโมทนาครับ คือ ที่ถามนี่ก็เพื่อจะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำนี้น่ะครับ เพื่อจะได้ไม่คิดไปเองครับ เป็นไปตามลำดับน่ะครับ
ขออนุโมทนาค่ะ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 10844 ความคิดเห็นที่ 8 โดย เกมส์
ขออนุโมทนาครับ คือที่ถามนี่ก็เพื่อจะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำนี้น่ะครับ เพื่อจะได้ไม่คิดไปเองครับ เป็นไปตามลำดับน่ะครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑-หน้าที่ 216
๖. กุมาปุตตเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระกุมาบุตรเถระ
[๑๗๓] ได้ยินว่า พระกุมาบุตรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า การฟังเป็นความดี ความประพฤติมักน้อยเป็น ความดี การอยู่โดยไม่ห่วงใยเป็นความดีทุกเมื่อ การถามสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นความดี การทำตามโอวาท โดยเคารพ เป็นความดี กิจมีการฟังเป็นต้นนี้ เป็น เครื่องสงบของผู้ไม่มีกังวล
ขออนุโมทนาในกุศลของทุกๆ ท่านครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์