บ้านธัมมะบอกว่าการ ดื่มสุรา ไม่จัดเป็นกรรม?

 
ภพฺพาคมโน
วันที่  18 เม.ย. 2549
หมายเลข  1086
อ่าน  2,871

หนูมาฟังธรรมที่บ้านธรรมะวันเสาร์ที่ ๑๕ เม.ย. บ้านธัมมะบอกว่า การดื่มสุราไม่จัดเป็นกรรม แต่เป็นกิเลส เพราะไม่จัดอยู่ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ หนูสงสัยว่า การดื่มสุรา ไม่ใช่อกุศลกรรม เหรอคะ จากในพระสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์ฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 18 เม.ย. 2549

ในวันเสาร์ที่ผ่านมาท่านอาจารย์มุ่งอธิบายกรรมกิเลส และอกุศลกรรมบถ ๑๐ ในกรรมกิเลสมี ๔ ประการ คือ ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ผิดกาเมฯ ๑ มุสาวาท ๑ ในอกุศลกรรมบถมี ๑๐ คือ

ทางกาย ๓ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ กาเมฯ

ทางวาจา ๔ พูดโกหก ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ

ทางใจ ๓ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ รวมเป็น ๑๐ ไม่มี ข้อสุราเมรัย

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

กรรมกิเลส ๔ [สิงคาลกสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kchat
วันที่ 18 เม.ย. 2549

จากสิงคาลกสูตร การดื่มน้ำเมา ไม่จัดเป็นกรรมกิเลส แต่จะจัดเป็นอกุศลกรรมหรือไม่ กรุณาช่วยอธิบาย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
saowanee.n
วันที่ 19 เม.ย. 2549

To my understanding, drinking is only akusala citta until one begins to do harm to others verbally or physically, then it becomes kamma. Refrain from drinking is one of the five precepts because when one gets intoxicated, one can commit all kind of sins : killing, stealing, having an affair or lying.

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 19 เม.ย. 2549

การดื่มสุราไม่จัดในอกุศลกรรมบถ แต่โดยนัยศีล ๕ การดื่มสุราผิดศีลข้อที่ ๕ และในสัพพลหุสสูตร อังคุตตรนิกาย กล่าวว่า การดื่มสุราเมรัยทำให้เกิดในอบาย ได้ก็แสดงว่า เป็นอกุศลกรรมจึงนำเกิดในอบาย และวิบากอย่างเบาให้เกิดเป็นคนบ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ - หน้าที่ 496

ข้อความบางตอนจาก...

๑๐. สัพพลหุสสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำไห้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิด เป็นมนุษย์

จบ สัพพลหุสสูตรที่ ๑๐

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ภพฺพาคมโน
วันที่ 20 เม.ย. 2549

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๕

อนึ่ง การเสพสุราเมรัย ไม่ได้จัดเป็นอกุสลกรรมบถอีกข้อหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สงเคราะห์เข้าในกาเมสุมิจฉาจาร เพราะเป็นความประพฤติผิดในกามคุณ คือ รสารมณ์เหมือนกัน

องค์ของสุรา มี ๔

๑. มทนียํ = เป็นน้ำเมา

๒. ปาตุกมฺมยตาจิตฺตํ = มีเจตนาจะดื่ม

๓. ตชฺชญฺจ วายามํ = กระทำการดื่ม

๔. ปิตญฺจ ปวิสติ = น้ำเมานั้น ล่วงลำคอลงไป

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 20 เม.ย. 2549

อภิธัมมัตถสังคหบาลี และอภิธัมมัตถวิภาวีนีฎีกา - หน้าที่ 220 ฯลฯ

เจตนาคิดจะล่วงฐานะที่ไม่ควรถึง ด้วยอำนาจการเสพอสัทธรรม ซึ่งเป็นไปทางกายทวาร ชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจารฯ อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า "แม้การดื่มสุรา ท่านก็สงเคราะห์เข้าในบทว่า กาเมสุมิจฉาจารนี้เหมือนกัน" เพราะเป็นการประพฤติผิดในกาม กล่าวคือรสฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ต้นไม้
วันที่ 24 เม.ย. 2549

ถ้าเป็นดังกล่าวข้างต้น เจ้าของโรงงานผลิต ผู้ขาย (ซาปั๊ว ยี่ปั๊ว) ผู้ส่งเสริมการขาย (พรีเซนเตอร์) ของสุราเมรัย ก็คงจะบาปเช่นเดียวกันใช่ไหมคะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 24 เม.ย. 2549

การผลิตและจำหน่ายสุราเป็นอาชีพที่อุบาสกอุบาสิกาไม่ควรทำ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ภพฺพาคมโน
วันที่ 26 เม.ย. 2549

อนุโมทนาค่ะ บ้านธรรมะ _/|_

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pinphaphatson
วันที่ 16 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 1 มี.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เฉลิมพร
วันที่ 9 เม.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ