ปัญญารู้อะไร...?

 
พุทธรักษา
วันที่  9 ม.ค. 2552
หมายเลข  10871
อ่าน  1,863



ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

แนวทางเจริญวิปัสสนาโดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ต้องทราบว่า ปัญญา รู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล กำลังเห็น เดี๋ยวนี้ ต้องไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนแต่เป็นจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย.. ชีวิตของแต่ละคนก็ดำรงอยู่ เพียงชั่วขณะจิตหนึ่งๆ เท่านั้น ปัญญารู้อะไร เมื่อปัญญา เป็น สภาพธรรม ที่รู้ถูกต้อง ปัญญา เริ่มจาก ความเข้าใจถูก ในลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ตามปกติ ตามตามความเป็นจริง

ปัญญา ไม่ใช่รู้อื่นแต่รู้สภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวันทุกขณะ ตั้งแต่ตื่นจนหลับไม่ว่าจะเป็นเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัทผัสและ คิดนึก เรื่องราวต่างๆ ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนี้ มีจริงๆ และเป็นอนัตตาเป็น ลักษณะของ จิต เจตสิก รูป ค่อยๆ ระลึก ค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้น ทีละเล็ก ทีละน้อยเพราะว่า การอบรมเจริญปัญญา นั้นเป็นจิรกาลภาวนาต้องอบรมไปเรื่อยๆ จนกว่า ปัญญาจะสมบูรณ์ซึ่งต้องอาศัยกาลเวลา ที่นานมาก

จิต เกิดดับสลับกัน อย่างรวดเร็วมากปัญญา จึงต้องรู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ตามปกติ ตามความเป็นจริงต้องทราบว่า ขณะนี้ เป็นธรรมะ ทั้งหมดไม่มีตัวตน เป็นแต่เพียงธาตุเป็นแต่เพียงสภาพธรรม ที่เกิด แล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น ปัญญา ที่เป็นโลกียะ นั้น ประจักษ์ ความจริง ของโลกคือ สภาพธรรม ที่เกิดขึ้น ในขณะนี้ แล้วดับไป ในขณะนี้ นั่นคือ ปัญญา ในพระพุทธศาสนาซึ่งต้องเริ่มจาก ปัญญาขั้นฟัง คือ การฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้โดยละเอียด ตลอด ๔๕ พรรษาพระองค์ทรงแสดงธรรมก็เพื่อที่จะให้ พุทธบริษัท ได้ฟังพระธรรม ที่พระองค์ทรงตรัสรู้

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
narong.p
วันที่ 10 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนา คุณพุทธรักษา ที่นำข้อความบางตอน จากการสนทนาของท่านอ.สุจินต์ มาตั้งกระทู้ เพื่อความเข้าใจธรรม ทีละเล็ก ทีละน้อย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 10 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
choonj
วันที่ 10 ม.ค. 2552

ดังนั้นการฟังธรรมเข้าใจจึงเป็นปัญญา การจำจนเป็นสัญญาที่มั่นคงไม่ใช่ปัญญาแต่จะเข้าใจผิดว่าเป็นปัญญา เพราะจำเป็นสัญญาไม่ใช่ปัญญา ต่างกันที่รู้ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 10 ม.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ปัญญารู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ซึ่งจะต้องเริ่มจากการฟังให้เข้าใจว่าธรรมคืออะไร อยู่ในขณะไหน เป็นต้น ดังนั้น ขณะที่เข้าใจปัญญาเกิดขึ้นพร้อมๆ กับเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วยรวมทั้งสัญญาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยเช่นกัน สัญญาก็เริ่มจำด้วยความเข้าใจที่เกิดขึ้นร่วมด้วยว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ดังนั้น สัญญาที่มั่นคง คือ สัญญาที่เกิดพร้อมกับปัญญา ที่เข้าใจว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราย่อมเป็นเหตุให้สติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราครับ ดังที่กล่าวไว้ว่า สัญญาที่มั่นคงเป็นเหตุให้สติปัฏฐานเกิด

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 10 ม.ค. 2552

ปัญญามีหลายระดับ การเชื่อกรรมและผลของกรรมก็เป็นปัญญา เชื่อเรื่องบุญบาป เชื่อว่าชาตินี้มี่ ชาติหน้าก็มี ฯลฯ ทำให้เราไม่ประมาท มีชีวิตอยู่เพื่ออบรมกุศลและปัญญาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 ม.ค. 2552

เรียน คุณชุณห์ ที่นับถือกรุณาพิจารณาข้อความนี้ จากการอธิบายของ คุณเผดิม (คห. ๔) อีกสักครั้งนะคะ

ดังนั้น ขณะที่เข้าใจ ปัญญาเกิดขึ้นพร้อมๆ กับเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย รวมทั้งสัญญาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เช่นกัน สัญญาก็เริ่มจำด้วยความเข้าใจที่เกิดขึ้นร่วมด้วยว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ดังนั้น สัญญาที่มั่นคง คือ สัญญาที่เกิดพร้อมกับปัญญา ที่เข้าใจว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราย่อมเป็นเหตุให้สติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เราครับ ดังที่ กล่าวไว้ว่า สัญญาที่มั่นคงเป็นเหตุให้สติปัฏฐานเกิด

ขออนุโมทนาครับ


สัญญาไม่ใช่ปัญญา แต่จำเป็น และเกื้อกูลต่อการเจริญขึ้นของปัญญา ค่ะ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
choonj
วันที่ 11 ม.ค. 2552

เรียน คุณพุทธรักษา ที่นับถือ

ผมคิดอยู่แล้ว เขียนไปจะมีคนที่เห็นต่าง แต่นี่แหละการสนทนาธรรม ก็ต้องหาจุดที่ถูกต้อง เพื่อความเข้าใจด้วยกัน รวมทั้งผมด้วย

เมื่อกล่าวถึงสัญญา หรือ สัพพจิตสาธารณะเจตสิก ทุกคนก็เข้าใจว่าเกิดกับจิตทุกดวง ผู้ศึกษาธัมมะไม่ต้องบอกก็ต้องเป็นที่เข้าใจ อยู่ที่ว่าจะปรากฎหรือไม่ เมื่ออ้างถึงมีสัญญาก็ไม่มีใครจะโต้แย้งได้ เช่นเดียวกับการอ้างเจตสิกที่เหลืออีกหกดวง ที่เกิดกับจิตทุกดวง แต่ควรจะอ้างให้ตรงสภาพธรรมที่กำลังสนทนา

ผมกำลังเปรียบเทียบสัญญาที่มั่นคง กับ ปัญญา ม่ได้กล่าวถึงเหตุให้เกิดสติและถ้าจะเป็นสติ ก็ต้องเกิดก่อนปัญญา คือ สติต้องระลึก ปัญญาจึงสามารถศึกษา จึงเป็นสภาพธรรมคนละขณะกัน ไม่ตรงกับที่ผมอ้างถึง คือ ปัญญา เลย

ทีนี้ คุณพุทธรักษาว่า สัญญารู้ กับ ปัญญารู้ ต่างกันหรือไม่ ถ้าไม่ต่างกันผมก็จะขอบคุณที่ได้รู้เพิ่มเติม เป็นผลของการสนทนา ถ้าต่างกันก็เป็นผลอย่างที่ผมเขียนไว้

ในขณะที่ปัญญารู้ มี่สัญญาแน่นอน แต่ไม่ปรากฎ มีแต่ปัญญารู้ปรากฎ จึงรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ การเจริญขึ้นของปัญญาเป็นหน้าที่ของสังขารธรรมไม่ใช่สัญญาอย่างเดียว ครับ

ผิดผลาดประการใด ขออภัย

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 11 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พุทธรักษา
วันที่ 12 ม.ค. 2552

ทีนี้ คุณพุทธรักษาว่า สัญญารู้ กับ ปัญญารู้ ต่างกันหรือไม่

ขอเรียนถาม คุณชุณห์ ว่า

สัญญา...รู้อะไร?

ปัญญา...รู้อะไร?

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
choonj
วันที่ 12 ม.ค. 2552

สัญญารู้ หมายถึง รู้จำ อารมณ์ทั้ง ๖ เช่น สีเขียว สีแดง ผู้หญิง ผู้ชาย ชื่อคนสัตว์วัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นต้น

ปัญญารู้ หมายถึง การรู้ลึกซึ้งถึงเหตุผลของธรรมชาติ เช่น บาปให้ผลเป็นทุกข์บุญให้ผลเป็นสุข ตลอดจนรู้สภาพธรรมที่เป็นความจริง คือ นามรูป และเมื่อรู้ความจริงย่อมละกิเลสด้วย

ผมขอจบการสนทนากระทู้นี้ เพราะต่างคน ต่างการสั่งสม จะเข้าใจอย่างเดียวกันไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pamali
วันที่ 23 มิ.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 17 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Sea
วันที่ 9 ธ.ค. 2564

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ