บาปเกิด ควรน้อมใจไปพิจารณาในขณะนั้น ๐๐๐
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
คู่มือศึกษาธรรมเล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓-๕
เรียบเรียงโดย อาจารย์สมพร ศรีวราทิตย์
เรื่อง พระเถระ ชื่อว่า ไสยสกะ
ว่าด้วย บาปเกิด ควรน้อมใจไปพิจารณาในขณะนั้น
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภ พระเถระ ชื่อว่า ไสยสกะ ท่านเป็นสัทธิวิหาริก ของพระโลฬุทายี ท่านได้บอกความไม่ยินดีของตน แก่พระโลฬุทายีเถระ เมื่อถูกชักชวน ในการทำปฐมสังฆาทิเสสและเมื่อความไม่ยินดีทวีขึ้น ได้ทำกรรมนั้นแล้ว
พระศาสดาตรัสว่า "กรรมเห็นปานนี้ เป็นกรรมยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อทุกข์ ทั้งภพนี้และภพหน้า"
พระศาสดาได้ตรัสพระธรรมเทศนา ว่า ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
แปลว่า ถ้าบุรุษ พึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจ ในบาปนั้น เพราะว่า ความสั่งสมบาป เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ ดังนี้
อธิบาย เนื้อความแห่งคาถานั้น ว่า หากว่า บุคคล พึงทำกรรมอันลามกไปครั้งเดียวก็ควรพิจารณา ในขณะนั้นแหละทั้งไม่ควรทำกรรมนั้นบ่อยๆ ด้วยอันคิดว่ากรรมชั่วนี้ เป็นกรรมไม่สมควรแก่เรา เป็นกรรมหยาบ ดังนี้ความพอใจ หรือความชอบใจแม้ใด พึงเกิดขึ้นบุรุษบรรเทาแม้กรรมชั่วนั้นแล้วไม่พึงทำกรรมนั้นอีกเลย
ถามว่า เพราะเหตุไร
ตอบว่า เพราะการสั่งสมบาป คือ การพอกพูนบาป เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ย่อมนำความทุกข์มาให้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ฯ
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นต้น ดังนี้แล
จบ เรื่องพระเถระ ชื่อว่า ไสยสกะ
ขออนุโมทนา
ขออุทิศกุศลแด่สรรพสัตว์
ปัญหาของผมอยู่ที่ว่ากรรมทีได้กระทำแล้วบางอย่าง เป็นกรรมทีจะนำอกุศลและทุกข์มาให้ สั่งสมไว้มากจนเป็นกิเลสแล้ว จะให้หยุดเบาหรือบรรเทานั้นเป็นของยาก แม้กระทั้งเป็นกรรมหยาบก็ยังยาก ทั้งๆ ที่รู้ว่าจะนำทุกข์มาให้ แต่เมื่อยังไม่มาก็ขอทำก่อน ตอนนี้ก็ต้องพึ่งทางเดียวในการเจริญปัญญาเมื่อเกิดก็จะละกิเลส ละการสั่งสมจึงต้องฟังธรรม ฟังให้เข้าใจ ไม่มีเรา มีแต่ธรรม ต่อ ครับ
ถ้าบุรุษ พึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจ ในบาปนั้น เพราะว่า ความสั่งสมบาป เป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ ดังนี้
สาธุ
ผมขอเสนอลิ้งค์ของธรรมบท ที่กล่าวในกระทู้ ดังนี้ครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 9
๒. เรื่องพระเสยยสกัตเถระ [๙๖]