ความสำคัญของการฟังกับการบรรยายธรรม

 
สารธรรม
วันที่  16 ม.ค. 2552
หมายเลข  10924
อ่าน  3,179

(พระเจดีย์ ณ วัดเจ็ดยอด อ.เมือง จ.เชียงใหม่)

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

... ข้อความบางตอนจาก ...

แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๕๓

บรรยายโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

... ความสำคัญของการฟังกับการบรรยายธรรม ...

ผู้ฟัง : อยากทราบว่าการฟังกับการบรรยายสำคัญตรงไหนหรือคะ

สุ : ฟังเพื่อให้ได้รับความเข้าใจ ผู้บรรยายเมื่อได้ศึกษา ปฏิบัติธรรม มีความเข้าใจ ก็ไม่ได้ต้องการจะเก็บความรู้ ความเข้าใจนั้นไว้เฉพาะตน เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ และผู้ที่จะได้บรรยายนั้น ก็ไม่ใช่ว่านึกขึ้นมาได้เองรู้ได้เอง แต่ต้องอาศัยการฟัง หรือว่าการศึกษาจากท่านที่รู้แล้ว และท่านที่แสดงแล้วเมื่อได้เห็นคุณว่าความรู้ที่ได้รับนั้น มาจากท่านที่รู้แล้ว และจากท่านที่แสดงแล้ว ก็ย่อมเห็นว่าเป็นความจำเป็นที่จะต้องเผยแพร่หรือว่าจะต้องแบ่งปันความรู้ที่ได้รับนั้นกับบุคคลอื่นต่อๆ ไปด้วยเป็นการอุปการะกันไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์

(พระพุทธรูปในพระเจดีย์ของวัดเจ็ดยอด อ.เมือง จ.เชียงใหม่)

... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ...

ดูก่อนอุตติยะ เราย่อมแสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย

๐ เพื่อความรู้ยิ่ง

๐ เพื่อความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย

๐ เพื่อก้าวล่วงเสียซึ่งความโศกและความร่ำไร

๐ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส

๐ เพื่อบรรลุญายธรรม

๐ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน.

(ข้อความบางตอนจาก)

๕. อุตติยสูตร

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่สาวกเพื่อความรู้ยิ่ง

[เล่มที่ 38] อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ ๓๑๒

... คลิกเพื่ออ่าน ...

จุดประสงค์ในการบรรยาย แนวทางเจริญวิปัสสนา

ขออุทิศส่วนกุศลแด่สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 16 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 16 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนา

ท่านผู้เป็นครูที่แท้จริง เมื่อท่านรู้แล้วย่อมไม่เก็บความรู้นั้นไว้โดยไม่เผยแพร่ ด้วยเห็นประโยชน์ของความรู้นั้นเพราะความรู้ ที่เป็นประโยชน์ จะยิ่งเป็นประโยชน์กว้างขวาง มากขึ้นเป็นประโยชน์ไพบูลย์ ต่อสาธารณะชน ผู้เห็นคุณค่า

เพราะการเผยแพร่ความรู้นั้น แก่สาธารณะก็เพื่อประโยน์ เท่านั้น ไม่มีโทษ แต่ท่าน ย่อมถ่ายทอดความรู้นั้น ได้แก่ ผู้ที่ใคร่ในการศึกษาผู้ใคร่แก่การศึกษา จึงควรน้อมใจลงสดับฟัง ท่านผู้เป็นครู

ผู้ใคร่ในความรู้ ย่อมฟังครู ด้วยความเคารพ นอบน้อม อย่างยิ่งและไม่ลืม ที่จะเพียร อดทน ในการฟังคำสุภาษิตนั้นเนืองๆ เพื่อความเข้าใจ เพื่อความรู้ในสิ่งที่ครูสอน ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น โดยไม่หยุด ไม่ท้อเช่นเดียวกับครูให้สมกับเจตนาที่แท้จริงของครู และไม่ลืมที่จะน้อมนำ มาประพฤติปฏิบัติตาม ในสิ่งที่ครูสอนเท่าที่กำลังปัญญา และความเข้าใจ ของศิษย์ ที่รู้จักตนเองตามความเป็นจริงเพื่อตอบแทน ความเมตตา ความกรุณา และความเสียสละ ของครูเพื่อบูชา พระคุณของครู อย่างแท้จริงที่ท่านสอนให้รู้ ในสิ่งที่ยังไม่รู้ และมิอาจรู้ ด้วยเพียง กำลังปัญญา ของตนเอง


 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 17 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
choonj
วันที่ 17 ม.ค. 2552

เมื่อเกิดมาเป็นคน เป็นสัตว์ประเสริฐ สามารถเจริญปัญญา ซึ่งสัตว์ในอบายไม่สามารถเจริญปัญญาได้ จึงไม่ควรทิ้งโอกาสอันน้อยนี้ในการเจริญปัญญา เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางโลกและทางธรรม เมื่อไม่มีปํญญาก็ทำอะไรไม่ได้ เห็นได้จากคนทั่วไปที่เรื่องง่ายๆ ก็ไม่รู้ แล้วจะมีชิวิตทีดีได้ยังไง การเป็นผู้ฟังทีดีในสิ่งทีถูกเพื่อให้เข้าใจจึงเป็นหัวใจในการดำรงชีวิต เพื่อให้ปัญญาเจริญขึ้นเรือยๆ ไม่มีปัญญาก็หมดท่า มีปัญญาทุกอย่างก็ดี ชีวิตก็อยู่ง่ายจนกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพานได้ เมื่อรู้และปัญญาเกิดแล้วก็เป็นครูสอนหรือบรรยายให้ผู้ด้อยกว่า เป็นการเจริญกุศลและเจริญปัญญาของตัวเองด้วย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pradit
วันที่ 31 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ