จิตที่คิดไม่ใช่จิตที่เห็น

 
เมตตา
วันที่  19 ม.ค. 2552
หมายเลข  10936
อ่าน  1,440

การที่ปัญญาจะรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงนั้น จะต้องรู้ชัดว่าขณะที่คิดไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นจิตที่กำลังรู้เรื่องที่คิด จิตที่คิดไม่ใช่จิตที่เห็น จิตที่เห็นรู้อารมณ์ทางตา จิตคิดรู้อารมณ์ทางใจ ขณะที่จิตเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฎทางตานั้นไม่ใช่จิตคิดนึก ขณะที่จิตเห็นสิ่งที่ปรากฎทางตาก็เป็นเพียงสีต่างๆ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ ไม่ใช่สมมติบัญญัติใดๆ เลย จิตที่คิดเกิดทางใจหลังจากได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสจึงคิดนึกเรื่องสิ่งที่ปรากฎทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เป็นเรื่องราวสมมติบัญญัติของสิ่งที่ปรากฎ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
choonj
วันที่ 19 ม.ค. 2552

เรียนเมตตา เมื่อปัญญารู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่มีคำว่า "จะต้อง" ถ้ามีคำว่าจะต้องก็คนละขณะแล้ว ปัญญารู้ชัดว่านี้เห็นนี่คิด ปัญญายิงไกลและยิงไว มี "จะต้อง" อาจมีตัวตนแล้ว ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ajarnkruo
วันที่ 19 ม.ค. 2552

แม้พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงปรักปรำภาษาชนบทครับเราจะใช้ภาษาใด คำใด แสดงธรรมก็ได้ถ้าหากว่าภาษานั้น คำนั้น ทำให้เกิดความเข้าใจในสภาพธรรมยิ่งขึ้นคือ เป็นภาษา เป็นคำ ที่ช่วยให้ฟังแล้ว หรืออ่านแล้วเกิดการละคลายการยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล

...ขออนุโมทนาครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
choonj
วันที่ 19 ม.ค. 2552

ปรักปรำภาษาชนบท ทีแรกอ่านแล้วก็งงครับ แต่พอพิจารณาไป และอ่านความ คิดเห็นของผมแล้ว ก็คิดว่ากำลังปรักปรำเจ้าของกระทู้หรือเปล่า ความหมายเข้าข่าย ปรักปรำได้ จึงขออภัยมาที่นี้ด้วย แต่ขอบอกจริงๆ ไม่มีเจตนา มีเจตนาที่จะหาความถูก ต้องอย่างเดียว และคุณเมตตากับผมก็ฟังธรรมอยู่ด้วยกันทุกอาทิตย์ที่มูลนิธิฯ มีขนมก็ ยังแบ่งปันกันอยู่ ขออภัยขออภัย วันหลังถ้ามีจะระวังมากกว่านี้ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 19 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ศิณอนงค์
วันที่ 20 ม.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เมตตา
วันที่ 20 ม.ค. 2552

เรียน พี่ choonj ที่นับถือ

ก่อนอื่นต้องขออนุโมทนาคุณ ajarnkruo เป็นอย่างยิ่ง ที่กรุณาอธิบายไว้ได้ชัดเจนซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากหากพี่ choonj จะพิจารณาทุกๆ ถ้วยคำที่คุณ ajarnkruo ยกมา จะเกิดผลดีต่อการศึกษาพระธรรมมากค่ะ ที่พี่ choonj กล่าวว่าเจตนาหาความถูกต้องนั้น เป็นสิ่งที่ควรแต่ต้องพิจารณาไตร่ตรองให้เกิดความ เข้าใจในพระธรรมถูกต้องจริงๆ ยังไม่ต้องไปไกลถึงรู้ว่าคนละขณะจิต พระธรรมเป็น ของยาก ละเอียด และลึกซึ้งมากควรที่จะฟัง และพิจารณาลักษณะสภาพธรรมที่กำลัง ปรากฎอยู่ขณะนี้ให้เกิดความเข้าใจขึ้นๆ ทีละน้อยสะสมไป จะมีประโยชน์กว่าน่ะค่ะ ที่นี่ น่ารื่นรมย์จริงๆ น่ะค่ะ มีแต่กัลยาณมิตรที่หวังดีต่อกัน และเมตตาเองก็ต้องขออนุโมทนา พี่ชุณห์ด้วยค่ะที่แบ่งปันขนมอยู่เสมอ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ajarnkruo
วันที่ 20 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาที่จะได้ช่วยกันหาความถูกต้องต่อไปครับที่เสนอความเห็น ก็คิดว่า ตนอาจจะเข้าใจคุณ choonj ผิดไปก็ได้แต่เมื่ออ่านข้อความของกระทู้นี้หลายๆ รอบแล้ว ก็สังเกตเห็นว่าเมื่อกระทู้นี้ ตั้งต้นด้วยสภาพนามธรรมที่เป็น "ปัญญา" แล้วจะใช้คำตามหลังว่า จะต้องรู้ ควรรู้ ต้องรู้ ในสภาพคิด หรือ สภาพเห็น ฯลฯ ก็ตามจะไม่จบลงด้วยความ "เป็นตัวตน" แน่นอน เพราะปัญญาย่อมรู้ธรรมะตามความเป็นจริงผมเข้าใจว่าคุณ เมตตา คงจะหมายความว่าอย่างนี้ครับส่วนเรื่องความเป็นกัลยาณมิตรต่อกันของทั้งสองท่าน ก็ขออนุโมทนาอีกครั้งครับที่ร่วมสนทนาธรรมด้วยก็เป็นไปเพื่อเกื้อกูลให้เกิดความเข้าใจธรรมะเท่านั้นไม่มีเจตนามุ่งหมายให้เป็นไปในทางอกุศลแต่อย่างใดเช่นกันจึงขออนุโมทนา คุณ choonj และ คุณเมตตา อีกครั้งครับ (อ่านข้อความแล้วทำให้เห็นว่ามีหลายจุดที่ควรอนุโมทนาในกุศลของท่านจริงๆ ครับ)

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
choonj
วันที่ 20 ม.ค. 2552

เรียน อาจารย์ครูโอ ที่เคารพ

ก่อนอื่นผมขออนุโมทนาและขอบคุณที่เข้าใจเจตนา ผู้ที่ศึกษาธรรมก็จะเข้าใจแตกต่างกันไปแล้วแต่การสั่งสม แม้แต่พระอรหันต์ในอดีตเมื่อจะชมป่า ก็จะชมแตกต่างกันไปจนต้องไปเรียนถามพระพุทธเจ้าว่าของใครถูก การสนทนาธรรมถ้าจะมุ่งสู่ความถูกต้องเพื่อการเจริญปัญญา โดยไม่ต้องสนใจถึงการกระทบกระทั่งกัน การสนทนาก็จะได้ประโยชน์ ผู้ศึกษาธรรมมีเมตตาก็ไม่สนกับการกระทบที่จะให้เกิดอกุศลอยู่แล้ว

ผมจะขอแสดงจุดต่างๆ ที่ได้เสนอตามความเข้าใจของผมดังนี้ จุดที่ ๑ ปัญญาเมื่อเกิดก็รู้ได้อารมณ์เดียว คือ รู้เห็นก็เป็นแต่เห็น คิดก็เช่นกัน ถ้าจะเอาสองอย่างมาเปรียบเทียบแล้ว การเข้าใจปัญญารู้ผิดไปหรือเปล่า ผมก็คิดไปเป็นการรู้ของปัญญา แต่คุณเมตตาว่ายังไม่ต้องไกลถึงความรู้ของคนละขณะจิต ตรงนี้ก็ไม่ตรงจุดประสงค์กันแล้ว จุดที่ ๒ เมื่อใช้คำว่า "จะต้อง" ผู้ศึกษาธรรมก็มีหลายระดับ สำหรับผู้ศึกษาใหม่ๆ

เมื่อได้ยินคำว่า "จะตัอง" ผมคิดว่าเขาต้องมีตัวตนทันที่ มีตนที่จะ แล้วเราจะให้เขาเข้าใจการมีตัวตนขณะเริ่มต้นเลยหรือ จุดที่ ๓ ผมใช้คำว่า อาจมีตัวตนแล้วนะ หมายความว่ามีตัวตนก็ได้ ไม่มีตัวตนก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้มีหรือไม่มีปัญญา

ผมมาอ่านกระทู้อีกที มีความคิดว่า คุณเมตตา อาจเอามาจากคำสอนของ อ. แต่ เอามาส่วนเดียว เมื่อไม่รู้จุดมุ่งหมาย เลยเข้าใจผิด ถ้าจุดมุ่งหมายสอนผู้มาใหม่ให้รู้กิจของจิต ผมก็เป็นคนคิดมากฟุ้งซ่านไปเอง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ศิณอนงค์
วันที่ 21 ม.ค. 2552

ส่วนความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉัน บางทีคนมาใหม่จะไม่เข้าใจเลย ว่าไม่ใช่เรา เป็นอย่างไร และเป็นไปได้หรือที่จะไม่มีเรา เพราะแต่ก่อนก็เคยไม่เข้าใจท่านอาจารย์เลยว่าทำไมถึงเน้นว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ทั้งๆ ที่ทางโลกจะชอบบอกว่า เป็นตัวของตัวเอง

ค้นหาตัวตนให้เจอ ฯลฯ เมื่อมีผู้สงสัยถามถึง ท่านอาจารย์ก็เมตตาตอบว่า เพราะการจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมขั้นแรก คือ พระโสดาบันนั้น ก็คือ ละความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน สัตว์บุคคล ซึ่งไม่ใช่เราแน่นอน ดิฉันได้ฟังแล้ว ก็เห็นถึงความยาก ละเอียดลึกซึ้ง แต่ก็ยังมีหลายคำที่ท่านกรุณาสอนด้วยสมมติภาษิต เช่น ต้องฟังให้มั่นคงจนเป็นปัญญาของเราจริงๆ ซึ่งนี่ก็เป็นภาษาที่จะให้เข้าใจว่า ฟังจนเป็นปัญญาที่สามารถเข้าใจได้จริงๆ โดยไม่ต้องสงสัยถามใครอีก ซึ่งนั่นก็ยากมากๆ เห็นถึงพระปัญญาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระสาวกหลายท่าน แบบนี้นี่เอง ถึงเรียกว่า การทวนกระแส

ขออนุโมทนามูลนิธิฯ และทุกท่าน ซึ่งช่วยแสดงธรรม ที่เสมือน ช่วยเปิดของที่คว่ำ เสมือนแสงสว่างส่องทางแก่คนหลงค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
เมตตา
วันที่ 22 ม.ค. 2552

เรียนพี่ choonj ที่นับถือ จะต้องรู้ชัดว่าขณะที่คิดไม่ใช่ตัวตน เป็นกิจของปัญญาค่ะ การอธิบายก็ต้องกล่าวเช่นนี้ ไม่เช่นนั้นจะอธิบายให้เข้าใจอย่างไรค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 23 ม.ค. 2552
อนุโมทนาคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pornpaon
วันที่ 24 ม.ค. 2552

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

อ่านแล้วนึกถึงการใช้คำศัพท์ต่างๆ ในหลายๆ พระสูตร หากอ่านเผินๆ อาจนึกไปว่า มีความเป็นตัวตน ในการใช้ศัพท์นั้น ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว จะเป็นอย่างนั้นไปไม่ได้ เลย ทั้งสามปิฎกต้องสอดคล้องกัน แม้ในการอ่านสิ่งที่พี่เมตตายกมา ดิฉันก็ไม่ได้ เข้าใจผิดว่ามีความเป็นตัวตน แต่เข้าใจว่า ปัญญา ย่อมต้องรู้ชัด ในสภาพธรรมนั้นๆ ที่เกิดขึ้นปรากฎ ไม่ได้มีใครไปสั่ง ให้ปัญญาเป็นไป เช่นนั้น (ใครก็สั่งปัญญาไม่ได้) เพราะเป็นกิจเป็นหน้าที่ของปัญญาที่ต้องรู้ตามความเป็นจริงเช่นนั้น

ขออนุโมทนาคุณชุณห์ ที่เป็นห่วงผู้ที่ศึกษา และมาฟังธรรมใหม่ๆ ซึ่งข้อนี้ ดิฉัน เคยได้รับมิตรจิตมิตรใจ เป็นห่วงเป็นใย เมื่อมาฟังที่มูลนิธิฯใหม่ๆ จากคุณชุณห์เช่นกัน ยังจำได้เสมอ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 7 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ