ไม่เข้าใจโนจเมสิยาสูตรครับ
อ่านโนจเมสิยาสูตร (พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 464) ไม่เข้าใจครับ
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มีและบริขารของเราจักไม่มี เมื่อเวทนามีอยู่.. เมื่อสัญญามีอยู่... เมื่อสังขารมีอยู่... เมื่อวิญญาณมีอยู่ เพราะถือมั่นวิญญาณ เพราะยืดมั่นวิญญาณ จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่าเราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และ บริขารของเราจักไม่มี
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี ใช่ไหม
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า
คำถาม คือ ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นเพราะทั้งยึดมั่น และไม่ยึดมั่นในขันธ์ หรือ
การไม่ยึดมั่นในขันธ์จึงไม่เกิดทิฏฐิ เพราะยึดมั่นในขันธ์จึงเกิดทิฏฐิครับดังข้อความที่ว่า
.....เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี ใช่ไหม
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า
ตามความคิดเห็นที่ 1
โปรดอธิบาย การไม่ยึดมั่นในขันธ์ จะไม่เกิดทิฏฐิอะไร? การไม่ถือมั่นในขันธ์ จะเกิด ทิฏฐิว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี หรือว่า ไม่เกิด ทิฏฐิว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขารของเราจักไม่มี
พระสูตรน่าสนใจมากครับจากข้อความที่ว่า เมื่อรูปมีอยู่ เพราะถือมั่นรูป เพราะยึดมั่นรูป จึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี..... คำว่า เราไม่พึงมี (ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิอันเกิดเพราะยึดถือมั่นรูป) หมายถึงอะไรครับ และต่างจาก ไม่มีเรา (ที่ได้ยินอาจารย์พูดบ่อยๆ ) อย่างไรครับ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ถือมั่นสิ่งนั้น พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี และบริขาร ของเราจักไม่มี ใช่ไหม
ภิ. ไม่พึงเกิดทิฏฐิขึ้นอย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า
คำว่า เราไม่พึงมี ในที่นี้หมายถึง มิจฉาทิฏฐิประเภทอุทเฉททิฏฐิ ครับ
ขออนุโมทนาท่านอาจารย์ prachern.s ค่ะ
มิจฉาทิฏฐิประเภทอุทเฉททิฏฐิ,คือ มีความเห็นผิดว่าขาดสูญ ตายแล้วสูญ ไม่มีการเกิดขึ้นของขันธ์อีก ไม่มีการรับผลของกรรมที่ทำไว้ในชาตินี้ฯ...
- การเห็นถูกในความดับของขันธ์ เป็นอย่างไร
- การเกิดขึ้นของขันธ์อีกเป็นอย่างไร
- การได้รับผลของกรรมที่ทำไว้ในชาตินี้ ในการเกิดขึ้นของขันธ์อีกเป็นอย่างไร
เชิญท่านสนทนาธรรม ขออนุโมทนา
- เพราะความดับเหตุของขันธ์ ขันธ์จึงไม่เกิดขึ้นอีก (นิโรธะ)
- การเกิดขึ้นของขันธ์อีกเพราะมีเหตุให้เกิดขึ้น ขันธ์จึงเกิดขึ้น
- วิบากจิต วิบากเจตสิก กัมมชรูป ที่เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย
- การเกิดขึ้นของขันธ์อีก เพราะมีเหตุให้เกิดขึ้น ขันธ์จึงเกิดขึ้น
หมายความว่า ขันธ์ดับไปแล้ว แต่เหตุเกิด ขันธ์จึงเกิดหรือ?
หมายความว่า ขันธ์ไม่ดับหรือ เหตุไม่ดับหรือ?
ขันธ์ทั้งห้าเกิดดับทุกขณะ เพราะมีปัจจัยจึงเกิดสืบต่อยาวนานเป็นนาที เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี หลายสิบปี เป็นชาติๆ หลายสิบร้อยพันชาติ เป็นกัปป์ๆ หลายแสนกัปป์จนนับไม่ถ้วน การเกิดสืบต่อยาวนานอย่างนี้เพราะมีเหตุคือ ตัณหา ขันธ์จึงเกิดขึ้น เมื่อดับตัณหาเสียได้ขันธ์ในชาติต่อไปจึงไม่เกิด
การเกิดดับสืบต่อกัน ที่เกิดก็เกิดไป ที่ดับก็ดับตาม ดังต้นไม้แตกหน่อ ดังต้นไม้เกิด เมล็ดงอกไปเต็มสวน แม้ดับขันธ์เก่าแล้ว ยังมีขันธ์ใหม่อีก กระทำกรรมแล้วจึงเกิด วิบาก กรรมชาตินี้เกิดวิบากชาติหน้า
ก่อนขันธ์ดับ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดขันธ์ใหม่ขึ้นก่อน ดังหน่อและเมล็ด ดังจุดเทียนเล่ม ใหม่ แม้เทียนเล่มเก่าดับไปแต่เทียนเล่มใหม่ไม่ได้ดับตามไปด้วย ดังหน่อและเมล็ดที่งอกไปเต็มสวน ต้นไม้ที่ให้กำเนิดตายไปแล้ว แต่หน่อใหม่ไม่ตายตามไปด้วย ฉะนั้น สาธุ
ขออนุโมทนา