อกุศลธรรมและอกุศลกรรม

 
fueng
วันที่  20 เม.ย. 2549
หมายเลข  1102
อ่าน  7,379
อกุศลธรรมและอกุศลกรรมมีความหมายต่างกันนอย่างไร ช่วยยกตัวอย่างด้วยครับ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 20 เม.ย. 2549

อกุศลธรรม คือ ธรรมที่เป็นอกุศล ได้แก่ อกุศลจิต อกุศลเจตสิกทั้งหมดอกุศลกรรม คือ

กรรมที่เป็นอกุศลได้แก่อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือเจตนาฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ผิด

ในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ อภิชา ๑ พยาบาท

๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ ในพระสูตรบางครั้งพูดถึงอกุศลธรรมแต่หมายถึงอกุศลกรรมก็มี ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
siwa
วันที่ 25 ก.ย. 2549

" อภิฌา " ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ คืออะไรค่ะ จะหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ไหนค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 26 ก.ย. 2549

คำว่า " อภิชฌา " ในพระไตรปิฎกมีหลายความหมาย ในบางแห่งหมายถึงอกุศล

ธรรมประเภท โลภะทุกระดับ ในบางแห่งหมายถึงโลภะที่มีกำลังแรงคิดอยากได้สิ่งของ

ของผู้อื่นในทางไม่ชอบธรรม เป็นอกุศลกรรมบถ เท่าที่พบในพระไตรปิฎกอรรถกถามี

อธิบายไว้เพียงสั้นๆ ดังนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
study
วันที่ 26 ก.ย. 2549

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

บทว่า อภิชฺฌายติ แปลว่า การเพ่ง. อธิบายว่า เป็นผู้มีหน้าเฉพาะ

ต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นไป เพราะความที่น้อมไปในภัณฑะของผู้อื่นนั้น. อภิ-

ชฌา นั้นมีการเพ่งต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่าโอ หนอ วัตถุนี้พึง

เป็นของเรา มีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนอทินนา. ทาน. อภิชฌานั้น

สัมภาระ (องค์) ๒ คือ ภัณฑะของผู้อื่น ๑ น้อมภัณฑะนั้นไปเพื่อตน ๑. ก็

ครั้นเมื่อความโลภอันมีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง แม้บังเกิดขึ้นแล้ว บุคคลไม่

น้อมภัณฑะนั้นไปเพื่อตนว่า โอหนอ วัตถุนี้ พึงเป็นของเรา ดังนี้ เพียงใด

ความแตกแห่งกรรมบถ ก็ไม่มีเพียงนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 26 ก.ย. 2549

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

.......ธรรมชาติที่เพ่งเล็ง ชื่อว่า อภิชฌา. อธิบายว่า เป็นผู้มุ่งต่อสิ่งของของผู้อื่น ย่อมเป็นไปโดยความเป็นผู้น้อมไปสู่สมบัติของผู้อื่น อภิชฌานั้นมีการเพ่งเล่งภัณฑะของบุคคลอื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่า โอหนอ สิ่งนี้พึงเป็นของเรา ดังนี้ ชื่อว่า มีโทษน้อยและโทษมาก เหมือนอทินนาทาน.อภิชฌานั้น มีองค์ ๒ คือ ปรภณฺฑํ (สิ่งของของบุคคลอื่น) ๑. อตฺตโนปริณามนญฺจ (น้อมมาเพื่อตน) ๑. ที่จริง เมื่อความโลภในวัตถุอันเป็นของผู้

อื่น แม้เกิดแล้ว กรรมบถยังไม่แตกไปก่อน จนกว่า เขาน้อมมาเพื่อตนด้วยคำ

ว่า โอหนอ วัตถุนี้พึงเป็นของเรา ดังนี้.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
siwa
วันที่ 26 ก.ย. 2549

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ