ความหมายของคำว่า สตินทรีย์ [ธรรมสังคณี]

 
JANYAPINPARD
วันที่  30 ม.ค. 2552
หมายเลข  11027
อ่าน  5,016

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

ความหมายของคำว่า สตินทรีย์

ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะเป็นเหตุระลึก หรือว่า ย่อมระลึกเอง หรือว่าเป็นเพียงการระลึกเท่านั้น. ก็สตินั้น ชื่อว่า เป็นเพียงการระลึกเท่านั้น. ก็สตินั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถเป็นอธิบดีโดยครอบงำความเป็นผู้หลงลืมด้วยสติ

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการอุปการะ สตินั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สตินทรีย์.

ก็สตินี้นั้นมีการระลึก (การไม่ฟั่นเฟือน) เป็นลักษณะ.

ก็สตินี้นั้นมีการระลึก (การไม่ฟั่นเฟือน) เป็นลักษณะและมีการเข้าไปประคองไว้เป็นลักษณะ.

สติย่อมให้กำหนด ย่อมให้ระลึกกุศลกรรมโดยชอบ เหมือนขุนคลังของพระราชารักษารัตนะ ๑๐ อย่าง ย่อมยังพระราชาให้กำหนด ให้ระลึกถึงอิสริยสมบัติในเวลาเย็นเวลาเช้า ฉะนั้น.

ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระราชาว่า มหาบพิตร ขุนคลังของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมให้พระเจ้าจักรพรรดิให้ระลึกถึงอิสริยสมบัติทั้งเวลาเย็นและเวลาเช้าว่า ข้าแต่เทวะ ช้างมีประมาณเท่านี้ ม้ามีประมาณเท่านี้ รถมีประมาณเท่านี้ พลเดินเท้ามีประมาณเท่านี้ เงินมีประมาณเท่านี้ ทองมีประมาณเท่านี้ สมบัติทั้งปวงมีประมาณเท่านี้ ขอเทวะจงระลึกถึงอิสริยสมบัตินั้น ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมให้ระลึกถึงกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ พละ ๕ เหล่านี้ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ นี้อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้สมถะ นี้วิปัสสนา เหล่านี้เป็นอริยสัจ นี้เป็นวิชชา นี้เป็นวิมุตติ เหล่านั้นเป็นโลกุตรธรรม มหาบพิตร สติมีการระลึก นี้เป็นวิชชา นี้เป็นวิมุตติ เหล่านั้นเป็นโลกุตรธรรม มหาบพิตร สติมีการระลึกเป็นลักษณะอย่างนี้แล.

ก็สติใคร่ครวญคติทั้งหลายแห่งธรรมที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ รู้ว่าธรรมทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้นเหล่านี้ ว่าไม่มีประโยชน์ย่อมบรรเทาธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ รู้ว่าธรรมมีกายสุจริตเป็นต้นเหล่านี้เป็นประโยชน์ ย่อมประคับประคองธรรมที่เป็นประโยชน์ เหมือนปริณายกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ รู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นประโยชน์ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป ย่อมน้อมเข้ามาซึ่งสิ่งเป็นประโยชน์ ฉะนั้น.

ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระถึงถวายพระพรพระราชาว่า

[๓๘] สัมมาสติ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก

สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม

สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม

สติ สตินทรีย์ สติพละ ความระลึกชอบในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัมมาสติมีในสมัยนั้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 30 ม.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
p.methanawingmai
วันที่ 23 มี.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 15 มิ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ