ความหมายของคำว่าวิตก [ธรรมสังคณี]

 
JANYAPINPARD
วันที่  30 ม.ค. 2552
หมายเลข  11029
อ่าน  2,009

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

ความหมายของคำว่าวิตก

วิตกฺเกตีติ วิตกฺโก วิตกกฺนํ วา วิตกฺโก

ธรรมที่ชื่อว่า วิตก เพราะอรรถว่า ตรึก อีกอย่างหนึ่ง การตรึก คือ การจรดอารมณ์ ชื่อว่า วิตก.

วิตกนี้นั้น มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมเณ จิตฺตสฺสอภินิโรปนลกฺขโณ) จริงอยู่ วิตกนั้นยกจิตขึ้นในอารมณ์ เหมือนอย่างว่า คนบางคนอาศัยญาติหรือมิตรที่เป็นราชวัลลภ จึงเข้าไปสู่พระราชมณเฑียรได้ฉันใด จิตก็อาศัยวิตก ฉันนั้น เพราะฉะนั้น วิตกนั้น ท่านจึงกล่าว มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ.

อนึ่ง พระนาคเสนเถระกล่าวว่า วิตกมีการเคาะอารมณ์เป็นลักษณะ ขอถวายพระพร มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุคคลตีกลอง หลังจากนั้นก็มีเสียงกลองดังกระหึ่มออกไป ฉันใด มหาบพิตรพึงเข้าพระทัย วิตกเหมือนบุคคลตีกลอง พึงเข้าพระทัยวิจารเหมือนเสียงกลองดังกระหึ่ม ฉันนั้น.

วิตกนั้น มีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นรส (อาหนนปริยาหนนรโส) จริงอย่างนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมกระทำจิตนั้น อันวิตกให้กระทบแล้วบ่อยๆ

วิตกนั้นมีการนำจิตมาในอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยปจฺจุปฏฺฐาโน) และมีนามขันธ์ ๓ ที่เหลือ (เวทนา สัญญา วิญญาณขันธ์) เป็นปทัฏฐาน (เสสขนฺธตฺตย ปทฏฺฐาโน)

[๒๘๑] วิตก มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิตก มีในสมัยนั้น


Tag  วิตก  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
p.methanawingmai
วันที่ 23 มี.ค. 2561

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
orawan.c
วันที่ 15 มิ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ