เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ - ๐๗ ก.พ. ๒๕๕๒

 
บ้านธัมมะ
วันที่  2 ก.พ. 2552
หมายเลข  11066
อ่าน  2,425

... สนทนาธรรมที่ ...

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

พระสูตร ที่นำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ

วันเสาร์ ๗ ก.พ. ๒๕๕๒ เวลา ๐๙:๐๐ - ๑๒:๐๐น. คือ

เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓- หน้าที่ ๓๓๑

[เล่มที่ 42] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓- หน้าที่ ๓๓๑

๔. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ [๑๕๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของ

พระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพปาปสฺส อกรณํ "

เป็นต้น.

กาลแห่งพระพุทธเจ้าต่างกัน แต่คำสอนเหมือนกัน

ได้ยินว่า พระเถระนั่งในที่พักกลางวัน คิดว่า " พระศาสดาตรัส

บอกเหตุแห่งพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ทุกอย่าง คือ พระชนนีและพระ-

ชนก การกำหนดพระชนมายุ ไม้เป็นที่ตรัสรู้ สาวกสันนิบาต อัครสาวก

อุปัฏฐาก. แต่อุโบสถมิได้ตรัสบอกไว้; อุโบสถแห่งพระพุทธเจ้าแม้

เหล่านั้นเหมือนอย่างนี้ หรือเป็นอย่างอื่น. " ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามเนื้อความนั้น. ก็เพราะความแตกต่างแห่งกาลแห่งพระพุทธเจ้าเหล่านั้นเท่านั้น ได้มีแล้ว, ความแตกต่างแห่งคาถาไม่มี; ด้วยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงกระทำอุโบสถในทุกๆ ๗ ปี, เพราะพระโอวาทที่พระองค์ประทานแล้วในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้ ๗ ปี, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขีและเวสสภู ทรงกระทำอุโบสถในทุกๆ ๖ ปี. (เพราะพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์นั้นทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้๖ ปี) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ และ โกนาคมนะได้ทรงกระทำอุโบสถทุกๆ ปี, (เพราะพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์นั้น ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้ปีหนึ่งๆ ) ;พระกัสสปทสพล ได้ทรงกระทำอุโบสถทุกๆ ๖ เดือน, เพราะพระโอวาทที่พระองค์ทรงประทานในวันหนึ่ง พอไปได้ ๖ เดือน; ฉะนั้นพระศาสดา จึงตรัสความแตกต่างกันแห่งกาลนี้ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ส่วนโอวาทคาถาของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นอย่างนี้นี่แหละ." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงกระทำอุโบสถแห่งพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ซึ่งเป็นอันเดียวกันทั้งนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๔. สพฺพปาปสฺส อกรณ กุสลสฺสูปสมฺปทา

สจิตฺตปริโยทปน เอต พุทฺธาน สาสน.

ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกฺขา

นิพฺพาน ปรม วทนฺติ พุทฺธา

น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี

สมโณ โหติ ปร วิเหฐยนฺโต.

อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สวโร

มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสน

อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอต พุทฺธาน สาสน.

" ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศลให้ถึงพร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ความอดทนคือความอดกลั้น เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม, ผู้ทำร้ายผู้อื่น ไม่ชื่อว่าบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ. ความไม่กล่าวร้าย ๑ ความไม่ทำร้าย ๑

ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณในภัตตาหาร ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ ความประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต ๑ นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. "


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 ก.พ. 2552

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่ อกุศลกรรมทุก

ชนิด. การยังกุศลให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ออกบวชจนถึงพระอรหัตตมรรค และ

การยังกุศลที่ตนให้เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ชื่อว่า อุปสมฺปทา. การยังจิตของตนให้ผ่องใสจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ชื่อว่า สจิตฺตปริโยทปน.

บาทพระคาถาว่า เอต พุทฺธานสาสน๑ โดยอรรถว่า นี้เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์.

บทว่า ขนฺติ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอดทน กล่าวคือ ความอด

กลั้นนี้ เป็นตบะอย่างยอดยิ่ง คืออย่างสูงสุดในพระศาสนานี้.

บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ ปรมวทนฺติ พุทฺธา ความว่า พุทธ-

บุคคลทั้ง ๓ จำพวกนี้ คือ พระพุทธะจำพวก ๑ พระปัจเจกพุทธะจำพวก ๑ พระอนุพุทธะจำพวก ๑ ย่อมกล่าวพระนิพพานว่า " เป็นธรรมชาติอันสูงสุด. "

บทว่า น หิ ปพฺพชิโต โดยความว่า บุคคลผู้ที่ล้างผลาญบีบคั้นสัตว์อื่นอยู่ ด้วยเครื่องประหารต่างๆ มีฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. บทว่า สมโณ ความว่า บุคคลผู้ยังเบียดเบียนสัตว์อื่นอยู่ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะด้วยเหมือนกัน. การไม่ติเตียนเอง และการไม่ยังผู้อื่นให้ติเตียน ชื่อว่า อนูปวาโท. การไม่ทำร้ายเอง และการไม่ใช้ผู้อื่นให้ทำร้าย ชื่อว่า อนูปฆาโต.

บทว่า ปาติโมกฺเข ได้แก่ ศีลที่เป็นประธาน. การปิด ชื่อว่า สวโร.

ความเป็นผู้รู้จักพอดี คือความรู้จักประมาณ ชื่อว่า มตฺตญฺญุตา. บทว่า ปนฺติ ได้แก่ เงียบ. บทว่า อธิจิตฺเต ความว่า ในจิตอันยิ่งกล่าว คือ จิตที่สหรคตด้วยสมาบัติ ๘. การกระทำความเพียร ชื่อว่าอาโยโค. บทว่า เอต ความว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์. ก็ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีลอันเป็นไปทางวาจา ด้วยอนูปวาท ตรัสศีลอันเป็นไปทางกาย ด้วยอนูปฆาต. ตรัสปาติโมกขสีลกับอินทริยสังวรสีล ด้วยคำนี้ว่า ปาติโมกฺเข จ สวโร.ตรัสอาชีวปาริสุทธิสีลและปัจจัยสันนิสิตสีล ด้วยมัตตัญญุตา, ตรัสเสนาสนะอันสัปปายะ ด้วยปันตเสนาสนะ, ตรัสสมาบัติ ๘ ด้วยอธิจิต.ด้วยประการนี้ สิกขาแม้ทั้ง ๓ ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ทีเดียว ฉะนี้แล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ฉะนี้แล.

เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 2 ก.พ. 2552

สาธุ

ผมเข้าใจว่า ปันตเสนาสนะ คือ เสนาสนะอันสงัด

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 2 ก.พ. 2552


ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ch_7698
วันที่ 2 ก.พ. 2552


ครบรอบอีก 1 ปี กับคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงตรัสใว้กับสาวกในครั้งนั้น

รวมท่านผู้ฟังทั้งหลายด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
opanayigo
วันที่ 2 ก.พ. 2552
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 4 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 4 ก.พ. 2552
อนุโมทนา
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jans
วันที่ 6 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนา ค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
hadezz
วันที่ 7 ก.พ. 2552
อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ