มีความฟุ้งซ่านคิดวิตกกังวลจะแก้อย่างไร
ความวิตกกังวลล่วงหน้ากับเหตุการณ์ต่างๆ เป็นอกุศลวิตกของผู้ที่ยังละอกุศล
ยังไม่ได้ซึ่งก็เป็นธรรมดาทุกๆ คนก็มีกันทั้งนั้น บางคนมีมาก บางคนมีน้อยแล้ว
แต่การสะสม การเจริญกุศลทุกๆ ประการ ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้กุศลจิต
เกิดแทนอกุศลวิตก และกุศลที่จะเป็นหนทางดับอกุศลวิตก ไม่ให้เกิดอีกเลย
ก็คือ การอบรมเจริญปัญญาขั้นสติปัฏฐาน จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคล เป็น
ลำดับขั้นจนถึงพระอรหันต์ จึงจะไม่มีอกุศลวิตกอีกเลย
เชิญคลิกอ่าน....อกุศลวิตกเกิดเพราะไม่มนสิการโดยแยบคาย [อโยนิโสมนสิการสูตร]
เรื่องวิตกกังวลผมเป็นมาก มากๆ ๆ จนจะเป็นโรคประสาท ที่เป็นเช่นนี้เพราะปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข และหรือบางครั้งไม่สามารถแก้ไขได้ ไม่ว่าจะเนื่องจากเงื่อนไขใดๆ ก็ตามแล้วที่แย่กว่านั้นก็คือ ไม่สามารถหาทางออกให้กับตนเองได้ ผมอาศัยการสนทนากับผู้ที่เราเคารพนับถือ ขอความเห็นและวิธีแก้ไขปัญหาครับ ทางแก้ที่แท้จริงมันมีนะครับ ธรรมมะของพระพุทธเจ้าเป็นเลิศในโลก แต่เราเอามาใช้ไม่ได้ทันท่วงที แล้วเราขาดปัญญาจนไม่สามารถเข้าใจธรรมมะอย่างแท้จริง ดังนั้นเราจึงไม่ได้แก้ไขปัญหาที่ต้นตอ เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจึงทำได้แค่แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเท่านั้นเอง ผมเห็นใจคุณจัง แต่ผมก็ขจัดความกังวลในใจผมไม่ได้เช่นกันครับ
เรียนถามท่านวิทยากรว่า
ความวิตกกังวลเป็นกรรมของผู้นั้นด้วยใช่ไหม และถ้าจัดว่าเป็นกรรม แล้วจะมีวิบากเป็นอย่างไรคะ และขออนุโมทนาสมาชิก : anu prachern.s audience และมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
ขณะที่มีความวิตกกังวล ขณะนั้นเป็นเพียงอกุศลจิตเท่านั้นไม่ได้ทำกรรมอะไรจึงไม่มีวิบาก
โดยนัยของปฏิจจสมุบาท เพราะมีอวิชชาจึงมีสังขาร คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร และ อเนญชาภิสังขาร ซึ่งความวิตกกังวลเกิดร่วมกับอปุญญาภิสังขาร เมื่อดับอวิชชาได้แล้ว อปุญญาภิสังขารและความวิตกกังวลก็ดับ ฉะนั้น จึงควรกล่าวได้ว่าอกุศลทั้งปวงมีอวิชชาเป็นปัจจัย
ความวิตกกังวลคงเป็นโทสะ เพราะเป็นความขุ่นใจ ไม่สบายใจ ซึ่งเป็นอกุศลประเภทหนึ่งมีอวิชชาเป็นปัจจัย ขออนุโมทนาท่านวิทยากรของมูลนิธิฯ ที่ช่วยให้ความกระจ่างตราบใดที่ยังมีอวิชชา ความวิตกกังวลก็เกิดได้เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิด คงไม่มีใครยับยั้งได้ จนกว่าจะเจริญปัญญาดับอวิชชาเป็นสมุทเฉทแล้วใช่ไหมครับ
ตราบใดที่เรายังเป็นปุุถุชน ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวลทุกคนก็มีเป็นเรื่องธรรมดาของคนที่ยังมีกิเลส จะละความฟุ้งซ่านได้ ต่อเมื่อเราค่อยๆ อบรมปัญญาจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์จึงจะละความฟุ้งซ่านได้หมด
อนิมิตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีนิมิต) ...กรุณาอธิบายสมาธิที่ไม่มีนิมิต ตัดมาจาก web..นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย คือ รูปเครื่องกำหนดจิต จับเป็นอารมณ์ นิมิตนี้ส่วนใหญ่เป็นเครื่องหมายของกสิณ แต่ทว่า กรรมฐานหมวดอื่นๆ ก็มีเหมือนกัน เช่น อสุภ-กรรมฐานก็มีรูปอสุภนิมิต อาหาเรปฏิกูลสัญญา ก็มีรูปอาหารเป็นนิมิต อย่างนี้ รวมความว่า นิมิตนั้นแยกออกเป็น ๒ อย่างคือ นิมิตที่เป็นเครื่องหมายกำหนด นิมิตจำเป็นที่นักปฏิบัติจำเป็นต้องกำหนดอย่างหนึ่ง นิมิตเลื่อนลอย เป็นนิมิตตัดรอนความดีที่นักปฏิบัติควรละประการหนึ่ง.. นิมิตเป็นสมมุตบัญญัติใช่หรือไม่
เจริญอนิมิตตสมาธิ..เจริญอย่างไร