เด็กทารก ไม่ได้ทำบาปอะไร แต่ก็ไม่จัดว่ามีศีลใดๆ ทั้งสิ้น

 
sittirat
วันที่  22 เม.ย. 2549
หมายเลข  1111
อ่าน  1,577

ผู้ที่จัดว่ามีศีล คือ ผู้ที่สมาทานศีลทุกเช้า เพราะศีลเกิดจากการตั้งใจ ... คนที่อยู่ไป วันๆ คนที่ไม่ได้สมาทานไว้ คนที่ไม่ได้ตั้งใจงดเว้นเอาไว้ จัดว่าไม่มีศีล เปรียบเสมือน เด็กทารก ไม่ได้ทำบาปอะไร แต่ก็ไม่จัดว่ามีศีลใดๆ ทั้งสิ้น หรือวัวควายก็ไม่ได้ทำบาป อะไร แต่ก็ไม่จัดว่ามีศีล เพราะไม่ได้ตั้งใจงดเว้นหรือสมาทานไว้นั่นเอง ยกเว้นก็แต่ว่า จะมีสถานการณ์เฉพาะหน้ามาลองใจ เช่น เห็นเงินตกอยู่แต่ไม่คิดจะเอา เป็นต้น ...

ทีมงานช่วยตอบด้วยว่าถูกต้องมั้ยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 เม.ย. 2549

ควรเข้าใจก่อนว่า อะไรเป็นศีล ในปฏิสัมภิทามรรคกล่าวว่า เจตนาเจตสิก การสังวร การไม่ก้าวล่วง เป็นศีล ศีลมีวิรัติ ๓ อย่าง คือ เจตนาวิรัติ สมาทานวิรัติ สมุจเฉทวิรัติ ผู้ที่มีศีลใช่ว่าต้องสมาทานเท่านั้น การตั้งใจด้วยเจตนาวิรัติ งดเว้น และไม่ก้าวล่วง ชื่อว่า เป็นผู้มีศีล และเมื่อสมาทานครั้งหนึ่ง ไม่มีการก้าวล่วงเลย ชื่อว่า เป็นผู้มีศีล ไม่จำเป็นต้องสมาทานใหม่ทุกวัน หรือมีความตั้งใจจะงดเว้นกายทุจริต เป็นต้น ชื่อว่า มีศีล ไม่ต้องสมาทานซ้ำอีกทุกวัน และศีลจะบริสุทธิ์ได้ด้วยเหตุหลายอย่าง ส่วนสัตว์ เดรัจฉานและทารก ถ้าเขามีเจตนาเว้นก็มีศีลได้ แต่ถ้าไม่มีเจตนาเว้นเลย ไม่เรียกว่า ทุศีลหรือมีศีล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 23 เม.ย. 2549

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้าที่ 627

อนึ่ง ศีลย่อมบริสุทธิ์โดยอาการ ๔ อย่างคือโดยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ๑ โดยการสมาน ๑ โดยไม่ก้าวล่วง ๑และโดยทำให้เป็นปกติเมือมีการก้าวล่วง ๑ จริงอยู่ บางคนมีตนเป็นใหญ่เพราะอัธยาศัยบริสุทธิ์ เกลียดบาปยังหิริให้ปรากฏในภายใน แล้วมีสมา- จารบริสุทธิ์ด้วยดี. อนึ่ง บางคนเมื่อมีการสมาทาน ถือโลกเป็นใหญ่ สะดุ้งจารบริสุทธิ์ด้วยดี. อนึ่ง บางคนเมื่อมีการสมาทาน ถือโลกเป็นใหญ่ สะดุ้งต่อบาปยังโอตตัปปะให้ปรากฏ เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี. ด้วยประการฉะนี้ คนเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในศีล เพราะไม่ล่วงแม้ทั้งสองอย่าง. ก็แต่ว่าบางคราว เพราะหลงลืมไปศีลก็จะพึงขาดไปเป็นต้น. กระทำศีลที่ขาดไปนั้นให้เป็นปกติโดยเร็ว ด้วยการอยู่กรรมเป็นต้น เพื่อความถึงพร้อมแห่งหิริ-โอตตัปปะตามที่กล่าวแล้วนั้น.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ภพฺพาคมโน
วันที่ 26 เม.ย. 2549

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

แม้แต่ความคิดว่า ศีลทั้งหลายดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เด็กกุมารอ่อนผู้ยังนอนหงายอยู่ สีลัพพตปรามาสในศีลทั้งหลายจักเกิดขึ้นแก่เด็กนั้นแต่ที่ไหน ส่วนสีลัพพตปรามาสอันเป็นอนุสัยเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
krongthong
วันที่ 27 เม.ย. 2549
ขอสอบถามเพิ่มเติมว่า การอยู่กรรมเพื่อกระทำศีลที่ขาดไป ให้เป็นปกติโดยเร็ว ตามที่กล่าวในความคิดเห็นที่ 2 นั้นทำอย่างไรคะ ขอบคุณค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 27 เม.ย. 2549

อยู่กรรมในที่นี้หมายถึง ภิกษุต้องอาบัติหนัก (สังฆาทิเสส) การออกจากอาบัติหนัก ต้องประพฤติวัตรตามพระวินัย (อยู่ปริวาส มานัต ฯ) จึงพ้นจากอาบัติหนักนั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
udomjit
วันที่ 3 ก.ค. 2550

เนื่องจากเป็นสมาชิกใหม่ค่ะ กำลังไล่อ่านที่ทาง webmaster ได้ตอบในเรื่องต่างๆ ไว้ค่ะ เมื่อ search คำว่าศีล แล้วอ่านมาเรื่อยๆ สรุปว่า ทารกยังไม่ใช่ผู้มีศีลและไม่ใช่ผู้ไม่มีศีลใช่หรือเปล่าค่ะ (ส่วนสัตว์เดรัจฉานและทารก ถ้าเขามีเจตนาเว้นก็มีศีลได้ แต่ถ้าไม่มีเจตนาเว้นเลยไม่เรียกว่าทุศีลหรือมีศีล ที่ขีดเส้นนี่ คือ copy จากความคิดเห็นที่หนึ่งค่ะ) ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 3 ก.ค. 2550
ถูกต้องครับ เพราะคำว่าศีล ในที่นี้หมายถึงกุศลศีล
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 ก.ค. 2550

สัตว์เดรัจฉานและทารก เข้าใจความหมายของศีลหรือ ... จึงกล่าวว่า " ถ้าเขามีเจตนาเว้นก็มีศีลได้ " เข้าใจผิด ถูก ประการใด

กรุณาอธิบายด้วย ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
study
วันที่ 3 ก.ค. 2550

ถ้าทารกหรือสัตว์เดรัจฉานนั้นฉลาด เช่น พระโพธิสัตว์ ย่อมมีเจตนาเว้นจากอกุศลกรรมได้

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 5 ก.ค. 2550
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ