คำว่า ส่วนเบื้องขวา

 
chavalit_d
วันที่  4 ก.พ. 2552
หมายเลข  11124
อ่าน  2,074

สุปุพพัณหสูตร

[๕๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกายประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย ประพฤติสุจริตด้วยวาจาประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น

สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็น ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี และบูชาดี ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา

วจีกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา มโนกรรมเป็นส่วนเบื้องขวา

ความปรารถนาของท่านเป็นส่วนเบื้องขวา สัตว์ทั้งหลายทำ กรรมอันเป็นส่วนเบื้องขวาแล้ว ย่อมได้ผลประโยชน์อัน เป็นส่วนเบื้องขวา ท่านเหล่านั้นได้ประโยชน์แล้ว จงได้รับ ความสุข จงงอกงามในพระพุทธศาสนา จงไม่มีโรค ถึง ความสุข พร้อมด้วยญาติทั้งมวล

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chavalit_d
วันที่ 6 ก.พ. 2552

เอ... เกิดอะไรขึ้นครับ ส่วนหัวของคำถามหายไปเหลือสั้นๆ

ผมอยากถามว่า คำว่าส่วนเบื้องขวาในพระสูตรนี้มีความหมายว่าอย่างไรครับ ขอบคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.พ. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความที่ยกมา นั้น เป็นข้อความในพระคาถาของสุปุพพัณหสูตร อังคุตตรนิกายติกนิบาต เท่าที่ตรวจสอบกับพระบาลี และ อรรถกถาแล้ว ปรากฏว่า คำว่าเป็นส่วนเบื้องขวา นั้น แปลมาจากภาษาบาลีว่า ปทกฺขิณ (เข้าใจว่าผู้ถามนำมาจากพระไตรปิฎกฉบับของมหาจุฬาฯ) บางฉบับท่านจะแปลทับศัพท์ เพราะในอรรถกถาท่านได้แก้ไว้แล้ว หรือถ้าจะแปลว่าเป็นส่วนเบื้องขวา ก็ต้องเทียบกับข้อความในอรรถกถาด้วยเพราะเหตุว่าในอรรถกถาท่านแก้ไว้ว่า เป็นความเจริญ หมายถึง ความสุจริตทั้งทางกายทางวาจา และทางใจ นั้น ประกอบด้วยความเจริญ เพราะเป็นพฤติกรรมที่ดีงาม และเป็นไปเพื่อความเจริญด้วย กล่าวคือต้องเป็นขณะที่เป็นกุศลเท่านั้น จึงจะเป็นไปเพื่อความเจริญได้ เมื่อเหตุดี ผลก็ต้องดีด้วย (เหตุย่อมสมควรแก่ผล) ดังนั้น ในชีวิต-ประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเวลาใดก็ตาม เมื่อกุศลจิตเกิดขึ้นเป็นไปในทาน เป็นไปในศีลเป็นไปในการอบรมเจริญปัญญา แล้ว ย่อมเป็นเวลาที่ดี ซึ่งจะตรงกันข้ามกับขณะที่เป็นอกุศล เพราะอกุศล เป็นโทษ ให้ผลไม่ทุกข์ และไม่เป็นไปเพื่อความเจริญ ครับ ขอเชิญอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้นได้ที่นี่ ครับ

สุปุพพัณหสูตร ว่าด้วยเวลาที่เป็นฤกษ์ดี ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ