สงสัยเรื่องบุพกรรมของพระพุทธเจ้า

 
pue
วันที่  23 เม.ย. 2549
หมายเลข  1114
อ่าน  2,939
ได้รับฟังเรื่องบุพกรรมของพระพุทธเจ้าในชาติหนึ่ง ที่พระองค์ได้ฆ่าพี่น้องตนเองโดยผลักลงช่องภูเขาแล้วกลิ้งหินทับ จึงได้รับวิบากจากการที่พระเทวทัตกลิ้งหินทำร้ายพระองค์จนห้อเลือด จึงเกิดข้อสงสัยว่าทำไมผลของกรรมจึงไม่เสมอกัน ในเมื่อเหตุเป็นการฆ่าคน แล้วผลที่ได้รับทำไมแค่บาดเจ็บที่เท้า ขอบคุณครับ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 เม.ย. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ต้นไม้
วันที่ 24 เม.ย. 2549

...เรียนถามท่านวิทยากร...

บทว่า สิลาเวโธ ได้แก่ ผู้มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว กลิ้งศิลาทับ ที่กล่าวว่า พระ-โพธิสัตว์กลิ้งหินทับน้องชายต่างมารดา หนูอยากทราบว่าน้องชายต่างมารดาผู้นั้นคือ พระเทวทัต ใช่หรือไม่คะ และเรื่องนี้กล่าวไว้ในที่ใด ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 24 เม.ย. 2549

ยังไม่พบข้อความว่าน้องชายต่างมารดาที่ถูกพระโพธิสัตว์กลิ้งหินทับ

เป็นอดีตชาติของพระเทวทัต

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ชายสามหลอด
วันที่ 29 เม.ย. 2549

แล้วเรื่องเวลาในชาดกนี่ทำไมมากนัก? เช่นมีพระชาติหนึ่งเกิดเป็นกษัตริย์ (พบเส้นผมหงอกขาวเพียงเส้นเดียว สละราชสมบัติออกบวช) ในสมัยนั้นมนุษย์มีอายุเป็นหมื่นปี ทั้งมีเรื่องราวในพระชาติต่างๆ อีกมาก (ตำบลที่เกิดเหตุก็จะเป็นในชมพูทวีป เช่นแคว้นกาสี และแคว้นใกล้เคียง) ทีนี้ถ้ารวมอายุในแต่ละชาดกซึ่งมากกว่าสิบชาติมารวมกัน คาบเวลาทั้งหมดน่าจะมากกว่าระยะเวลาในประวัติของมนุษยชาติที่เรารู้ในเวลานี้อีก

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 30 เม.ย. 2549

สงสาร (สังสารวัฎฏ์) นี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ยาวนานมากกว่า

ระยะเวลาในประวัติของมนุษยชาติที่เรารู้ในเวลานี้ นานจนไม่อาจประมาณได้ โปรด

พิจารณาจากพระสูตรที่ขอนำมาให้ท่านอ่านนะครับ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระญาณหยั่งรู้ไม่มีที่สิ้นสุด คือ ไม่มีขอบเขต

จึงทรงแสดงให้พวกเราได้ทราบว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ

ทรงอุปมาว่า น้ำตาของพวกเราที่เคยร้องไห้ ในช่วงเวลาที่เราเวียนว่ายตายเกิดใน

สังสารวัฏฏ์ (ทรงใช้ข้อความว่า "พวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา") ยังมากกว่าปริมาณน้ำใน

มหาสมุทรทั้ง 4 แห่งรวมกันเสียอีก น้ำนมมารดาที่เราดื่มกินขณะที่เวียนว่ายตายเกิดใน

สังสารวัฏฏ์ก็เช่นเดียวกัน พวกเราเกิดมานับชาติไม่ถ้วน แต่ก็ยังไม่เคยเบื่อหน่ายใน

การเกิด จนกว่าปัญญาจะเกิดจึงจะเริ่มเบื่อหน่ายบ้างนะครับ

เล่มที่ 26 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้า 509

เชิญคลิกอ่าน..... อัสสุสูตร ว่าด้วยเปรียบน้ำตากับน้ำในมหาสมุทร

และ

เล่มที่ 26 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ หน้า 512

เชิญคลิกอ่าน..... ขีรสูตร ว่าด้วยเปรียบน้ำนมกับน้ำในมหาสมุทร

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
study
วันที่ 30 เม.ย. 2549

จากพระสูตรที่ยกมา ก็เห็นได้ว่าสังสารวัฏฏ์ยาวมาก คือ ไม่ใช่เพียงกัปนี้กัปเดียวมีการตายเกิดนับกัปไม่ถ้วน อีกอย่างหนึ่งกาลเวลาทางโลกที่กล่าวกัน อาจไม่ละเอียดเหมือนกับความจริงที่ พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ