การอันตรธานของพระธรรม [อรรถกถาวรรคที่ ๑๐]

 
JANYAPINPARD
วันที่  6 ก.พ. 2552
หมายเลข  11159
อ่าน  5,890

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

ก็ในคำที่ตรัสไว้ในที่สุดแห่งสูตรทั้งปวงว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น ย่อมยังธรรมนี้ให้อันตรธานไปนั้น ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ อย่าง คือ ย่อมยังธรรมนี้ให้อันตรธานไปนั้น ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ อย่าง คือ อธิคมอันตรธาน

อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑

ปฏิปัตติ อันตรธานอันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑

ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่งปริยัติ ๑

ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑

ธาตุอันตรธาน อันตรธานแห่งธาตุ ๑.

ใน ๕ อย่างนั้น มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่า อธิคม

อธิคมนั้น เมื่อเสื่อม ย่อมเสื่อมไปตั้งแต่ปฏิสัมภิทา จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐๐ ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้

ต่อแต่นั้นก็อภิญญา ๖ แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด ครั้นกาลล่วงไปๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เอง ก็เป็นพระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน เมื่อท่านเหล่านั้นยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่า ย่อมเสื่อมไปเพราะความสิ้นไปแห่งชีวิต ของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุดดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม.

ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล บังเกิดได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ เมื่อกาลล่วงไปๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์และจะประกอบความเพียรเนืองๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้งมรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรม จึงท้อใจ มากไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 24 มี.ค. 2552

ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล บังเกิดได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ เมื่อกาลล่วงไปๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์และจะประกอบความเพียรเนืองๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้งมรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรม จึงท้อใจ มากไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน (ในการทำชั่ว) ตั้งแต่นั้นก็พากันย่ำยี สิกขาบทเล็กน้อย

เมื่อกาล ล่วงไปๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย ต่อแต่นั้นต้องครุกาบัติ เพียงอาบัติปาราชิกเท่านั้นยังคงอยู่ เมื่อภิกษุ ๑๐๐ รูปบ้าง ๑๐๐๐ รูปบ้าง ผู้รักษาอาบัติปาราชิก ยังทรงชีพอยู่ การปฏิบัติชื่อว่ายังไม่อันตรธาน จะอันตรธานไป เพราะภิกษุรูปสุดท้ายทำลายศีล หรือสิ้นชีวิต ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า อันตรธานแห่งการปฏิบัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 24 มี.ค. 2552

บทว่า ปริยตฺติ ได้แก่ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์คือ พระไตรปิฎก บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่ายังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น. เมื่อกาลล่วงไปๆ พระราชาและพระยุพราชในกุลียุค ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพระราชาและยุพราชเหล่านั้น ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ราชอมาตย์ เป็นต้น ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แต่นั้นชาวแคว้นและชาวชนบท ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม. ข้าวกล้าย่อมไม่บริบูรณ์เมื่อข้าวกล้าเหล่านั้นไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัย ก็ไม่สามารถจะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยปัจจัยก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกอันเตวาสิก.

เมื่อเวลาล่วงไปๆ ปริยัติ ย่อมเสื่อม ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำอรรถไว้ได้ ทรงจำไว้ได้แต่พระบาลีเท่านั้น แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไป ก็ไม่สามารถจะทรงบาลีไว้ได้ทั้งสิ้น. อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน เมื่อเสื่อม ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว เมื่อปัฏฐานมหาปกรณ์เสื่อม ยมก กถาวัตถุ บุคคลบัญญัติ ธาตุกถา ธัมมสังคณี ก็เสื่อม

เมื่ออภิธรรมปิฎก เสื่อมไปอย่างนี้ สุตตันตปิฎกก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา อังคุตตรนิกายเสื่อมก่อน เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อม เอกาทสกนิบาตเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ทสกนิบาต ฯลฯ ต่อนั้นเอกนิบาต เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ สังยุตตนิกาย ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่มหาวรรค เสื่อมก่อน แต่นั้นสฬายตนวรรคขันธกวรรค นิทานวรรค สคาถวรรค เมื่อสังยุตตินิกายเสื่อมไปอย่างนี้ มัชฌิมนิกายย่อมเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา จริงอยู่ อุปริปัณณาสก์เสื่อมก่อน ต่อนั้น มัชฌิมปัณณาสก์ ต่อนั้น มูลปัณณาสก์. เมื่อมัชฌิมนิกายเสื่อมอย่างนี้ ทีฆนิกาย เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่ปาฏิยวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นมหาวรรค แต่นั้นสีลขันธวรรค เมื่อทีฆนิกายเสื่อมอย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกชื่อว่าย่อมเสื่อม. ทรงไว้เฉพาะชาดกกับวินัยปิฎก เท่านั้น.

ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้นทรงพระวินัยปิฎก ส่วนภิกษุผู้หวังในลาภ คิดว่า แม้เมื่อกล่าวแต่พระสูตรก็ไม่มีผู้จะกำหนดได้ จึงทรงไว้เฉพาะชาดกเท่านั้น. เมื่อเวลาล่วงไปๆ แม้แค่ชาดกก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้ ครั้งนั้น บรรดาชาดกเหล่านั้นเวสสันตรชาดกเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ปุณณกชาดก มหานารทชาดกเสื่อมไปโดยย้อนลำดับ ในที่สุดอปัณณกชาดกก็เสื่อม. เมื่อชาดกเสื่อมไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมทรงไว้เฉพาะพระวินัยปิฎกเท่านั้น. เมื่อกาลล่วงไปๆ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้

แม้แต่พระวินัยปิฎกแต่นั้นก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา คัมภีร์บริวารเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ขันธกะภิกษุณีวิภังค์ ก็เสื่อม แต่นั้น ก็ทรงไว้เพียงอุโปสถขันธกเท่านั้นตามลำดับ. แม้ในกาลนั้น ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่เสื่อม ก็คาถา ๔ บาทยังหมุนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน

ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 24 มี.ค. 2552

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

เพียงนั้น. ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์ หนึ่งแสนลงในผอบทองตั้งบนคอช้างแล้วให้ตีกลองร้องประกาศไปในพระนครว่า ชนผู้รู้คาถา ๔ บท ที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือเอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยวตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป. ราชบุรุษทั้งหลาย จึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม. ในกาลนั้น ปริยัตติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธานแห่งพระปริยัตติ.

เมื่อกาลล่วงไปๆ การรับจีวร การรับบาตร การคู้ การเหยียด การดูแล การเหลียวดู ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส. ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ปลายแขนถือเที่ยวไป เหมือนสมณนิครนถ์ถือบาตรน้ำเต้าเที่ยวไป. แม้ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เพศก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน. เมื่อกาลล่วงไปๆ เอาบาตรลงจากปลายแขนหิ้วไปด้วยมือหรือด้วยสาแหรกเที่ยวไป แม้จีวรก็ไม่ทำการย้อมให้ถูกต้องกระทำให้มีสีแดงใช้. เมื่อกาลล่วงไป การย้อมจีวรก็ดี การตัด ชายผ้าก็ดี การเจาะรังดุมก็ดี ย่อมไม่มี ทำเพียงเครื่องหมายแล้วใช้สอย ต่อมากลับเลิกรังดุม ไม่ทำเครื่องหมาย ต่อมา ไม่การทำทั้ง ๒ อย่าง ตัดชายผ้าเที่ยวไปเหมือนพวกปริพาชก เมื่อกาลล่วงไปก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้ากาสายะชิ้นเล็กๆ เข้าที่มือหรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการเลี้ยงภรรยา เที่ยวไถ่หว่านเลี้ยงชีพ. ในกาลนั้น ชนเมื่อให้ทักขิณา ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 25 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
homenumber5
วันที่ 6 มี.ค. 2553

ปริยตฺติ ได้แก่ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่ายังบริบูรณ์อยู่เพียงนั้น. เมื่อกาลล่วงไปๆ พระราชาและพระยุพราชในกุลียุค ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพระราชาและยุพราชเหล่านั้น ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ราชอมาตย์เป็นต้น ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แต่นั้นชาวแคว้นและชาวชนบท ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ฝนย่อมไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม. ข้าวกล้าย่อมไม่บริบูรณ์เมื่อข้าวกล้าเหล่านั้นไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัย ก็ไม่สามารถจะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยปัจจัยก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกอันเตวาสิก.

เมื่อเวลาล่วงไปๆ ปริยัติ ย่อมเสื่อม ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำอรรถไว้ได้ ทรงจำไว้ได้แต่พระบาลีเท่านั้น. แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไป ก็ไม่สามารถจะทรงบาลีไว้ได้ทั้งสิ้น. อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน. เมื่อเสื่อม ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว

ข้อความที่เน้นตัวเข้ม แสดงว่า ศาสนิกต้องช่วยกันทรงจำพระปริยัติธรรมเพื่อยังศาสนาพุทธไว้ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ผู้ในบูชาะรรมของพุทธองค์คือได้บูชาพระพุทธเจ้า

ขอเชิญชวนศาสนิกมาสิกขาพระปริยัติเพื่อยังพระพุทธศาสนา

มาช่วยกันทำนุบำรุงพระภิกษุให้ช่วยกันทรงจำพระปริยัติธรรม

อย่าให้เกิดกลียุคกันเลย

สาธุอนุโมทนามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pamali
วันที่ 11 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์น้้น ...

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tanakase
วันที่ 16 ม.ค. 2555

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
natre
วันที่ 18 พ.ย. 2555

ขอขอบคุณท่านที่ถามกระทู้และท่านผู้ตอบกระทู้ เมื่ออ่านจบทำให้เกิดสลดใจแก่ผมมาก

ทำให้เห็นคุณค่าของพระธรรมและที่สำคัญที่สุดในกาลสมัยนื่คือ "ผู้ถ่ายทอดพระธรรมที่ถูก ที่ตรง" ซึ่งผมก็มีในใจผมแล้วในขณะนี้ ... ที่ทำให้การบูชาของผมเหมือนกับได้บูชาพระพุทธเจ้าด้วยเหตุมาจากการบูชาพระธรรมและการบูชาพระธรรมก็ด้วยเหตุมาจากการได้ฟังธรรมที่ถูกและตรงจากทางมูลนิธิฯ (มีท่านอาจารย์สุจินต์ เป็นต้น)

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Witt
วันที่ 11 ส.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ