อุเบกขา [อรรถกถาสฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗]
[เล่มที่ 23] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ หน้าที่ 300
อรรถกถาสฬายตนวิภังคสูตรที่ ๗
บทว่า เคหสิตานิ ได้แก่ อาศัย กามคุณ
บทว่า เนกฺขมฺมสิตานิ ได้แก่ อาศัยวิปัสสนา
บทว่า โลกามิสปฏิสํยุตฺตานํ คือ ประกอบด้วยตัณหา
อุเบกขาในอัญญาณ ชื่อว่า อุเบกขา ในบทนี้ว่า อุเปกฺขา
บทว่า อโนธิชินสฺส ความว่า ขีณาสพ ชื่อว่า โอธิชินะ เพราะความที่พระขีณาสพชนะข้าศึกคือกิเลสแล้วดำรงอยู่ เพราะฉะนั้นบทนี้ ได้แก่ ปุถุชนผู้ไม่สิ้นอาสวะ ขีณาสพแล ชื่อว่า วิปากชินะ เพราะความที่พระขีณาสพชนะวิบากต่อไปดำรงอยู่ แม้ในบทนี้ว่า อวิปากชินสฺส เพราะฉะนั้น ผู้ไม่สิ้นอาสวะนั้นเทียว
บทว่า อนาทีนวทสฺสาวิโน ได้แก่ ผู้ไม่เห็นโดยความเป็นโทษ
บทว่า อิมา ฉ เคหสิตา อุเปกฺขา ความว่า อุเบกขาที่ไม่กลับสู่รูปเป็นต้น ดุจแมลงวันที่จับงบน้ำอ้อย เมื่ออิฏฐารมณ์ไปสู่คลองในทวาร ๖ อย่างนี้ทิศอยู่ในรูป เป็นต้นนั้น เกิดขึ้นนี้ พึงทราบว่า อุเบกขาอาศัยเรือน ๖
บทว่า ในรูป เป็นต้นนั้น เกิดขึ้นนี้ พึงทราบว่า อุเบกขาอาศัยเรือน ๖
บทว่า รูปํ สา สาติวตฺตติ ความว่า อุเบกขานั้นไม่ล่วงเลยรูป ไม่ตั้งอยู่ด้วยอำนาจความเบื่อหน่ายในรูปนั้น
บทว่า อิมา ฉ เนกฺขมฺมสิตา อุเปกฺขา ความว่า อุเบกขาเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ยินดีในอิฏฐารมณ์ ไม่ยินร้ายในอนิฏฐารมณ์ เมื่ออารมณ์ที่น่าปรารถนา เป็นต้น ไปสู่คลองในทวาร ๖ อย่างนี้ ไม่หลุ่มหลงด้วยการพิจารณาไม่รอบคอบ ประกอบด้วยอุเบกขาญาณเหล่านั้น พึงทราบว่าอุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖