การศึกษาพระไตรปิฏก [พรหมชาลสูตร] - 1

 
JANYAPINPARD
วันที่  6 ก.พ. 2552
หมายเลข  11168
อ่าน  1,516

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 100

ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบว่า แต่ละปิฎกมีคัมภีรภาวะ ทั้ง ๔ คือความลึกซึ้งโดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธ ในคัมภีร์ภาวะทั้ง ๔ นั้น ธรรมได้แก่ บาลี อรรถได้แก่เนื้อความของบาลีนั้น แหละเทศนาได้แก่การแสดงซึ่งบาลีนั้น อันกำหนดไว้อย่างดีด้วยใจ ปฏิเวธ ได้แก่ความหยั่งรู้บาลี และเนื้อความของบาลีตามความเป็นจริง ก็เพราะธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธเหล่านี้ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ผู้มีปัญญาน้อยทั้งหลาย หยั่งรู้ได้ยาก และเป็นที่พึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้น พึ่งไม่ได้ฉะนั้น จึงเป็นของลึกซึ้ง.

ในปิฎก ๓ นี้ พึงทราบคัมภีรภาวะทั้ง ๔ อย่าง ในแต่ล่ะปิฎกด้วยประการฉะนี้. อีกนัยหนึ่ง ธรรมได้แก่เหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่าญาณในเหตุ ชื่อ ธรรมปฏิสัมภิทา. อรรถได้แก่ผลแห่งเหตุ ข้อนี้สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผลแห่งเหตุ ชื่ออรรถปฏิสัมภิทา เทศนาได้แก่บัญญัติ อธิบายว่า การแสดงธรรมตามสภาวธรรม อีกอย่างหนึ่ง การแสดงด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลม สังเขปและพิสดารเป็นต้นเรียกว่า เทศนา ปฏิเวธได้แก่การตรัสรู้ และปฏิเวธนั้น เป็นได้ทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระ ได้แก่ ความรู้จริงไม่เปลี่ยนแปลง ในเหตุทั้งหลายสมควรแก่ผล ในผลทั้งหลายสมควรแก่เหตุ ในบัญญัติทั้งหลายสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยอารมณ์ และโดยความไม่หลง สภาวะแห่งธรรมทั้งหลายนั้นๆ ที่กล่าวแล้วในปิฎกนั้นๆ ไม่วิปริต กล่าวคือบัณฑิตกำหนดเป็นมาตรฐาน ควรแทงตลอด


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ