การศึกษาพระไตรปิฏก [พรหมชาลสูตร] - 2

 
JANYAPINPARD
วันที่  6 ก.พ. 2552
หมายเลข  11169
อ่าน  1,366

[เล่มที่ 11] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า101-102

สภาวธรรมที่มีเหตุใดๆ ก็ดี สภาวธรรมที่มีผลใดๆ ก็ดี เนื้อความที่ควรให้รู้ด้วยประการใดๆ ย่อมเป็นเป้าหมายสำคัญแห่งญาณของผู้ฟังทั้งหลาย เทศนานี้ใด ที่ส่องเนื้อความนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้นๆ ก็ดี ปฏิเวธใดกล่าวคือความรู้จริงไม่วิปริตในปิฎก ๓ นี้ อย่างหนึ่ง สภาวะแห่งธรรมทั้งหลายนั้นๆ ที่ไม่วิปริต กล่าวคือ ที่บัณฑิตกำหนดเป็น มาตรฐาน ควรแทงตลอด คุณชาตนี้ทั้งหมด ผู้มีปัญญาทรามทั้งหลาย ซึ่งมิได้สั่งสมกุศลสมภารไว้ หยั่งรู้ได้ยาก และพึ่งไม่ได้ เหมือนมหาสมุทร สัตว์เล็กทั้งหลาย มีกระต่าย เป็นต้น พึ่งไม่ได้ เพราะเหตุนั้นสภาวธรรมที่มีเหตุหรือสภาวธรรมที่มีผลนั้นๆ จึงลึกซึ้ง คัมภีรภาวะทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎก ๓ นี้ แต่ละปิฎก ผู้ศึกษาพึงทราบในบัดนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ ก็คาถานี้ว่า พึงแสดงประเภทของเทศนา ประเภทของศาสนา ประเภทของกถา และสิกขา ปหานะ คัมภีรภาพ ตามสมควรในปิฎกเหล่านั้น ดังนี้

เป็นคาถามีเนื้อความอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ส่วนประเภทแห่งการเล่าเรียน ๓ อย่าง ในปิฎก ๓ ในคาถานี้ว่า

ภิกษุย่อมถึงซึ่งประเภทแห่งปริยัติใด ซึ่งสมบัติใด แม้ซึ่งวิบัติใด ในปิฎกใด ด้วยอาการใด พึงแสดง ซึ่งประเภทแห่งปริยัติทั้งหมดแม้นั้น ด้วยอาการ นั้น ดังนี้ พึงทราบต่อไป.

จริงอยู่ การเล่าเรียนมี ๓ อย่าง คือ อลคัททูปมาปริยัติ การเล่าเรียนเหมือนจับงูข้างหาง นิสสรณัตถปริยัติ การเล่าเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อออกไป ภัณฑาคาริกปริยัติ การเล่าเรียนของพระอรหันต์เปรียบด้วยขุนคลัง. ในปริยัติ ๓ ประเภทนั้น ปริยัติใด ที่บุคคลเรียนผิดทาง คือเรียนเพราะเหตุมีติเตียนผู้อื่นเป็นต้น ปริยัตินี้ ชื่อ อลคัททูปมา ฯลฯ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 24 ธ.ค. 2563

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ