เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

 
dhamma.s
วันที่  24 เม.ย. 2549
หมายเลข  1119
อ่าน  2,631
เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม หมายความว่าอย่างไร จะศึกษาได้จากที่ใด

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 25 เม.ย. 2549

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน แปลว่า การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ได้แก่ ข้อปฏิบัติหรือปฏิปทาเพื่อให้ถึงโลกุตตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ในอรรถกถามีอธิบายไว้หลายแห่ง

โปรดอ่านข้อความโดยตรง

[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 422

เชิญคลิกอ่านที่ ... ปฏิปทาอันสมควร

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 25 เม.ย. 2549

ในธรรมกถิกสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้.

[เล่มที่ 26] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้า 77

บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่าย.

บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อคลายกำหนัด.

บทว่า นิโรธาย ได้แก่ เพื่อความดับสนิท.

ความในคำว่า ปฏิปนฺโน โหติ นี้ พึงทราบว่า ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีลจนถึงอรหัตตมรรค.

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ได้แก่ ปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่นิพพานธรรมอันเป็นโลกุตระ.

บทว่า อนุธมฺมภูตํ ได้แก่ อันมีสภาวะที่สมควร.

บทว่า นิพฺพิทา วิราคา นิโรธา ได้แก่ เพราะเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและเพราะดับไป.

บทว่า อนุปาทา วิมุตฺโต ได้แก่ พ้นเพราะไม่ยึดถือธรรมอะไรๆ ด้วยอุปาทาน ๔.

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้า 347

ข้อว่า โสตาปตฺติยงฺคานิ ความว่า องค์แห่งการบรรลุกระแส. อธิบายว่า เหตุแห่งการได้โสดาปัตติมรรค.

ข้อว่า สปฺปุริสสํเสโว ความว่า การเข้าไปคบหาสัตบุรุษ มีพระพุทธเจ้า เป็นต้น.

ข้อว่า สทฺธมฺมสฺสวนํ ความว่า การฟังธรรม คือ พระไตรปิฏกอันเป็นที่สบาย.

ข้อว่า โยนิโสมนสิกาโร ความว่า การทำไว้ในใจด้วยอำนาจอนิจจลักษณะ เป็นต้น.

ข้อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ความว่า ปฏิบัติ ข้อปฏิบัติอันมีในส่วนเบื้องต้น อันเป็นธรรมไปตามโลกุตตรธรรม.

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า84

ในอนุธรรมสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนสฺส ความว่า ผู้ปฏิบัติปุพพภาคปฏิปทาอันเป็นธรรมสมควรแก่โลกุตตรธรรม ๙.

บทว่า อยมนุธมฺโม ความว่า ธรรมนี้เป็นอนุโลมธรรม.

บทว่า นิพฺพิทาพหุโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่มากไปด้วยความกระสัน.

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 134

และเป็นพหูสูตทางปฏิเวธ จึงชื่อว่า เป็นผู้ทรงธรรม เพราะจำทรงธรรม คือปริยัติและปฏิเวธนั่นเอง.

คำว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติธรรม คือวิปัสสนาอันเป็นธรรมที่ไปตามธรรมของพระอริยเจ้า.

คำว่า สามีจิปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร.

คำว่า อนุธมฺมจาริโน คือ เป็นผู้ประพฤติตามธรรมเป็นปกติ.

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 103

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ โลกุตรธรรม ๙ คือ ปฏิบัติข้อปฏิบัติเบื้องต้นพร้อมทั้งศีล.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์.

บทว่า อนฺตกโร สิยา ความว่า บุคคลพึงเป็นผู้ทำที่สุด คือพึงเป็นผู้ทำให้ขาดตอน ได้แก่ พึงเป็นผู้ทำให้สุดทาง (ทุกข์) .

จบอรรถกถาอวกุชชิตสูตรที่ ๑๐

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nee
วันที่ 25 เม.ย. 2549

การเลี้ยงดูพ่อ แม่ คอยรับใช้อาจารย์ ผู้มีพระคุณ การเจริญกุศลทุกอย่าง โดยเฉพาะการอบรมเจริญสติปัฎฐาน นี้เรียกว่า การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ศึกษาธรรมะได้จากพระไตรปิฎก และอรรถกถา และเว็บไซต์บ้านธัมมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
คุณ
วันที่ 21 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ