กถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 270
กถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม
ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรมต่อไป
ใจ ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งจิตที่เป็นกามาวจรจิตเป็นต้น ชื่อว่า มโน
(ใจ) ในบรรดามโนที่เป็นกามาวจรเป็นต้นเหล่านั้น มโนแม้ทั้งหมดมี ๘๙ อย่างคือ มโนที่เป็นกามาวจร ๕๔ อย่าง
มโนที่เป็นรูปาวจรมี ๑๕ อย่าง
มโนที่เป็นอรูปาวจรมี ๑๒ อย่าง
มโนที่เป็นโลกุตรมี ๘ อย่าง
ในบรรดามโนเหล่านั้น ธรรมดามโนนี้ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นมโน เหมือนอย่างว่าธรรมดาว่า เจตนานี้ ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นกรรม เพราะโดยที่สุดแม้เจตนาที่สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๕) ในมหาปกรณ์ก็ทรงแสดงไว้ว่า เป็นกรรมนั่นแหละ ฉันใด ธรรมดาว่า มโนนี้ก็ไม่ควรกล่าวว่า ไม่ใช่มโนทวารฉันนั้นเหมือนกัน.
[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 271
ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีผู้ท้วงกล่าวว่า ธรรมดาว่า กรรมนี้ย่อมทำซึ่งอะไร
ตอบว่า ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อมตั้งใจ ย่อมดำริ ย่อมให้สำเร็จ. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาในปัญจวิญญาณ ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวมซึ่งอะไร ตอบว่า ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ซึ่งสหชาตธรรมทั้งหลาย.
จริงอยู่ เจตนาในปัญจวิญญาณแม้นั้น ย่อมประมวล ย่อมตกแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อมตั้งใจ ย่อมดำริ ย่อมให้สำเร็จสัมปยุตขันธ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน.
อีกอย่างหนึ่ง มีประโยชน์อะไร ด้วยการกล่าวถึงข้อนี้ เพราะท่านได้กล่าวคำนี้ไว้ด้วยสามารถแห่งการรวบรวมมโน (ใจ) ไว้ทั้งหมด ก็ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีคำสันนิษฐานดังนี้ มโน ๒๙ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกุศลและอกุศลอันเป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม แต่เจตนาใดที่ให้สำเร็จในมโนทวารนั้นย่อมถือเอาซึ่งอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทัสสนะ และความไม่มีอภิชฌา ไม่พยาบาท และสัมมาทัสสนะด้วยเจตนาใด นี้ชื่อว่า มโนกรรม. เบื้องหน้าแต่นี้บัณฑิตพึงทราบการกำหนดกรรมและการกำหนดทวารทั้งหมด โดยนัยที่กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ ดังนี้แล.
จบกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม