เป็นผู้มีหน้าเฉพาะต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นไป [อภิชฺฌายติ]
เมตตา
วันที่ 9 ก.พ. 2552
หมายเลข 11207
อ่าน 1,086
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 397
บทว่า อภิชฺฌายติ แปลว่า การเพ่ง. อธิบายว่า เป็นผู้มีหน้าเฉพาะ
ต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นไป เพราะความที่น้อมไปในภัณฑะของผู้อื่นนั้น. อภิ-
ชฌา นั้นมีการเพ่งต่อภัณฑะของผู้อื่นเป็นลักษณะอย่างนี้ว่าโอ หนอ วัตถุนี้พึง
เป็นของเรา มีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนอทินนา. ทาน. อภิชฌานั้น
สัมภาระ (องค์) ๒ คือ ภัณฑะของผู้อื่น ๑ น้อมภัณฑะนั้นไปเพื่อตน ๑. ก็
ครั้นเมื่อความโลภอันมีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง แม้บังเกิดขึ้นแล้ว บุคคลไม่
น้อมภัณฑะนั้นไปเพื่อตนว่า โอหนอ วัตถุนี้ พึงเป็นของเรา ดังนี้ เพียงใด
ความแตกแห่งกรรมบถ ก็ไม่มีเพียงนั้น.