รูปนั่ง - เป็นรูป ใช่หรือไม่ใช่

 
พุทธรักษา
วันที่  18 ก.พ. 2552
หมายเลข  11286
อ่าน  1,189

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ท่านผู้ฟัง
เมื่อพูดถึงเรื่องรูป เมื่อ ๓ อาทิตย์ก่อน ผมไปอยู่ที่ลำปางได้สนทนากับท่านพระภิกษุรูปหนึ่ง ท่านถามผมว่า "รูปนั่ง มีไหม ผมตอบว่า "ไม่มี" ท่านถามอีกว่า "ที่นั่งอยู่นั้น คืออะไร ผมบอกว่า เป็นอาการของ มหาภูตรูป และ อุปาทายรูป ท่านก็ถามอีกว่า "อาการของมหาภูตรูป และ อุปาทายรูป นี่น่ะ เป็นรูปใช่ไหม" แค่นี้ละครับ เลยเสียหลักท่าน ท่านเลยบอกว่า "ในเมื่อเป็นอาการของมหาภูตรุป และ อุปาทายรูป เป็นรูปแล้ว ทีนี้ สติจะตั้งไว้ที่รูป ระลึกที่รูป แล้วรู้ที่รูป จะไม่ได้เชียวหรือ" ตรงนี้ละครับ

ผมก็ไม่รู้จะตอบท่านว่าอย่างไร ก็เลยมาถามอาจารย์ว่า รูปนั่ง เป็นอาการของมหาภูตรูป และ อุปาทายรูป ใช่ไหม แล้วอาการของมหาภูตรูป และ อุปาทายรูป เป็นรูป ใช่หรือไม่ใช่

ท่านอาจารย์ อาการของมหาภูตรูป คือ อาการที่เบา อาการที่อ่อน อาการที่ควรแก่การงานแต่ไม่ใช่ ท่านั่ง ท่านอน ท่ายืน ท่าเดิน

ท่านผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น สติก็ระลึกรู้อาการของรูป และเป็นสติปัฏฐานได้ซิครับ

ท่านอาจารย์ สติของใครจะระลึกรู้อาการเบา อาการอ่อน อาการควรแก่การงานได้ถ้าสติ ไม่ระลึกรู้ที่ลักษณะของมหาภูตรูปเสียก่อน เพราะว่า อาการที่เบา อ่อน ควรแก่การงานนั้น ไม่ใช่ไปแยกออกจากมหาภูตรูป

ฉะนั้น เวลาที่มหาภูตรูปปรากฏที่กาย เป็นกายวิญญาณกายวิญญาณ เป็นสภาพที่รู้ลักษณะที่ อ่อน-แข็ง เย็น-ร้อน ตึง-ไหวซึ่งเป็นลักษณะของมหาภูตรูป ที่กระทบกับกายปสาท แต่ ความเบา ความอ่อน ความควรแก่การงาน ของรูปปรากฏทางมโนทวาร ไม่ใช่ทางปัญจทวาร

ฉะนั้น ไม่มีใครสามารถที่จะเอาสติ ไปตั้งที่อาการเบา อาการอ่อน อาการควรแก่การงานได้ลอยๆ โดยที่ไม่รู้ลักษณะของมหาภูตรูป

ท่านผู้ฟัง ก็ในเมื่อ วิการรูป ๓ ที่อาจารย์กล่าว มันก็เป็นรูป ฉะนั้น สติก็ตั้งอยู่ที่รูปนั้นได้ซิครับ

ท่านอาจารย์ ได้ค่ะ แต่ว่าจะต้องรู้ ว่า มหาภูตรูป ปรากฏที่ไหน วิการรูป รู้ได้ที่ไหน ไม่ใช่ไปแยกวิการรูปออกจากมหาภูตรูป

ท่านผู้ฟัง ใช่ครับ ก็ อุปาทายรูป ทั้งหมด ต้องอาศัยมหาภูตรูปเกิด ฉะนั้น ความอ่อน ความเบา ความควรแก่การงาน ก็มีจริง ถ้าความอ่อน ความเบา ความควรแก่การงานเกิดขึ้นเมื่อไรสติก็ระลึกรู้ได้นี่ครับ

ท่านอาจารย์ แต่ไม่ใช่แยกจากมหาภูตรูป ฉะนั้น จึงไม่ใช่สติระลึกรู้ท่านั่ง ท่านอน ท่ายืน ท่าเดิน อย่าลืมว่า ถ้าไม่แยกวิการูปออกจากมหาภูตรูปก็ต้องมีลักษณะของมหาภูตรูป ปรากฏที่กายทวารทางปัญจทวารวิถีจิตก่อน แล้วหลังจากนั้น ทางมโนทวารวิถีจิต จึงจะรู้ลักษณะที่เบา อ่อน ควรแก่การงาน ของมหาภูตรูปที่ปรากฏ ต่อจากทางปัญจทวาร (ทางกายทวาร)

ท่านผู้ฟัง ก็มหาภูตรูปปรากฏ แล้วถ้าไม่ใส่ใจในมหาภูตรูป แตไปใส่ใจในวิการรูป ไม่ได้หรือ

ท่านอาจารย์ วิการรูป มีลอยๆ ไม่ได้ค่ะ

ท่านผู้ฟัง ใช่ครับ แม้มหาภูตรูปจะมีอยู่ แล้วไม่ได่ใส่ใจ

ท่านอาจารย์ แล้วมหาภูตรูป จะไม่ปรากฏเลยหรือ ในเมื่อมหาภูตรูป ไม่ได้แยกจากวิการรูป จะมีแต่ลักษณะของวิการรูป ปรากฏลอยๆ โดยลักษณะของมหาภูตรูปไม่ปรากฏ ได้หรือ ปัญญา ต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงความเข้าใจ จึงจะไม่คลาดเคลื่อนเพราะว่า เวลาที่ลักษณะของมหาภูตรูปปรากฏสติต้องระลึกรู้ได้ ว่า มหาภูตรูป ที่ไม่มีวิการรูป ก็อย่างหนึ่ง มหาภูตรูป ที่มีวิการรูป ก็อีกอย่างหนึ่ง

ฉะนั้น การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ต้องรู้ตรงตามความเป็นจริงคือ ไม่แยกมหาภูตรูปจากวิการรูป...เพราะแยกกันไม่ได้ จะมีการรู้ลักษณะของวิการรูป โดยไม่มีลักษณะของมหาภูตรูปปรากฏ ไม่ได้

เมื่อลักษณะของมหาภูตรูปนั้น ปรากฏทางกายทวารมโนทวารวิถีจิตเกิดต่อ รู้ลักษณะของมหาภูตรูปนั้น แต่ว่า ทางมโนทวารวิถีจิตสติ ยังสามารถที่จะระลึกรู้ ความละเอียด ของมหาภูตรูป ที่ปรากฏ ว่ามหาภูตรูปนั้น มีลักษณะที่เบา อ่อน ควรแก่การงานต่างจากมหาภูตรูปอื่น ซึ่งสติเคยระลึกรู้ โดย (มหาภูตรูปอื่นนั้น) ไม่มีลักษณะที่เบา อ่อน ควรแก่การงาน

ขณะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ในขณะนั้น ไม่มีท่าทางใดๆ ไม่มีรูปนั่ง ไม่มีท่าทางยืน ท่าทางนอน ท่าทางเดินเพราะว่า ขณะนั้น เป็นลักษณะของมหาภูตรูป ที่ประกอบด้วยลักษณะของ วิการรูป ซึ่งกำลังปรากฏ นั่นเอง

แนวทางเจริญวิปัสสนาโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ถอดเทปโดย คุณสงวน สุจริตกุล


ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 19 ก.พ. 2552

ปัญญา ต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงความเข้าใจ จึงจะไม่คลาดเคลื่อน

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คุณ
วันที่ 20 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
คุณ
วันที่ 20 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณ
วันที่ 20 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pamali
วันที่ 18 มิ.ย. 2553

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ