กุศลวิบาก อกุศลวิบาก
วิบากของกรรม คือ อะไร มีนัยพิสดารอย่างไรบ้าง
ส่วนมากคนเราจะไม่ชอบอกุศลวิบาก เมื่อตนได้รับบ้าง เห็นคนอื่นได้รับบ้าง ก็จะ
คิดปรุงแต่งไปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โกรธ กลัว กังวล ฟุ้งซ่าน เศร้าหมอง ท้อแท้ สงสัย
คับแค้นใจ ฯลฯ
ในทางสังคม คนละเว้นจากกรรมชั่วบางประการ ก็ใช่ว่าเห็นโทษด้วยความเป็นโทษ แต่เป็นเพราะถูกบังคับทางสังคม หรือทางกฏหมาย
กล่าวโดยเฉพาะ เมื่อเกิดภัยพิบัติจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเกิดความเสียหายต่อชีวิต
และทรัพย์สินมากน้อยเพียงใด แม้จะเศร้าใจ แต่คนโดยทั่วไป ก็จะปลงได้เป็นส่วนมาก
แต่ถ้าเหตุร้ายเกิดจากเจตนาของบุคคลก็เป็นเรื่องใหญ่ อาจเกิดการโกรธแค้นพยาบาท
จองเวร คับเค้นใจ พาลถึงคำสอนที่ตนยึกถืออยู่ว่าประโยชน์อะไร
ถามโดยเฉพาะว่า เคยได้ยินมาว่า เช่น นายโกรธ ตีหัว นายโกง นายโกรธได้กระทำ
อกุศลกรรม ส่วนนายโกงได้รับอกุศลวิบาก ถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่นายโกรธกับนายโกง
ต้องมีความสัมพันธ์ทางกรรมต่อกันในอดีต อาที ชาติก่อน นายโกงเคยตีหัวนายโกรธ
การที่กรรมใดจะให้ผล ต้องขึ้นอยู่กับปัจจับใดบ้าง
ผมได้ยินมาว่า โอกาส ก็เป็นปัจจัยหนึ่งใช่หรือไม่ ผมก็เห็นอีกว่า ปัจจัยโอกาสนี้มี
ความสำคัญมาก เพราะโยงกับเจตนาในปัจจุบันด้วย ว่าจะนำไปสู่โอกาส หรือที่เรียกว่า
ความเสี่ยง
ตามหลักไตรลักษณ์ เมื่อมีการทำกรรมใดๆ แล้ว ผลของวิบากของกรรม ต้องขึ้นตรง
ต่อหลักไตรลักษณ์ด้วยหรือไม่ ถามโดยเฉพาะคือ ถ้าบุคคลทำกรรมหนึ่งแล้ว วิบากที่
แน่นอนย่อมบัญญัติขึ้นแล้วอย่างตายตัว หรือว่าวิบากนั้นมีความไม่แน่นอน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
วิบากคือผลของกรรม มีทั้งที่เป็นผลของกรรมดีและไม่ดี ในเรื่องของกรรมนั้นเป็น
เรื่องละเอียดลึกซึ้ง ในกรณีที่ยกตัวอย่างมานั้น ไม่จำเป็นเสมอไปว่าเคยทำกรรมกันไว้
ในอดีตครับ เช่น นายนิรยบาลผู้ที่ลงโทษในนรก ก็ไม่ได้จำเป็นเสมอไปว่าเพราะเคย
ไปทำกรรมกับนายนิรยบาลไว้ นายนิรยบาลจึงมาลงโทษ แต่เพราะกรรมนั้นเป็นปัจจัย
พร้อมจึงถูกลงโทษ ซึ่งถ้าพิจารณาในเรื่องสภาพธรรมแล้ว เมื่อสร้างเหตุขึ้น (กุศลกรรม
หรืออกุศลกรรม) ไม่ว่ากับใคร เมื่อกรรมนั้นให้ผลก็ให้ผลทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายนั่นเอง
ไม่ว่าใครจะทำให้ก็ตาม
ส่วนการที่กรรมใดจะให้ผลก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
คติ ภพภูมิที่เกิด เกิดในภพภูมิที่ดี เช่น เทวดา โอกาสที่ผลของกุศลจะให้ผลก็มี มากกว่า ส่วนถ้าเกิดในนรก โอกาสที่ผลของอกุศลจะให้ผลมากกว่าผลของกุศลกรรม
อุปธิ รูปร่าง หน้าตา
กาล ช่วงเวลาที่เกิด
ปโยคะ ความเพียร
สภาพธรรมทั้งหลายที่มีปัจจัยปรุงแต่งย่อมไม่พ้นไปจากไตรลักษณ์ คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา เมื่อสร้างเหตุขึ้นคือกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมก็แล้วแต่เหตุ
ปัจจัยว่ากรรมจะให้ผลหรือไม่อย่างไร อาจจะไม่ให้ผลก็ได้แต่ถ้าจะให้ผลก็อาจให้ผลใน
ชาตินี้ ชาติหน้าหรือชาติถัดๆ ไปครับ แล้วแต่เหตุปัจจัยจริงๆ ครับ เรื่องกรรมจึงเป็นเรื่อง
ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง ไม่ได้กำหนดแน่นอนตายตัวว่าทำกรรมแล้วต้องให้ผลทุกครั้ง
ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย เช่น บุคคลที่เป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพาน กรรมอื่นๆ
มากมายที่ได้ทำไว้ก็ไม่สามารถให้ผลได้เพราะไม่มีการเกิดอีกนั่นเอง กรรมเหล่านั้นก็
เป็นอโหสิกรรมไป เป็นต้น ขออนุโมทนาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
คิดเล่นๆ นะครับ
การท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์นั้น หาเบื้องต้นปลายมิได้นั้น กรรมใด อันทำลงแล้ว ก็ประมาณมิได้เช่นกัน ทุกอย่างน่าจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพียงแต่ว่าเมื่อไหร่เท่านั้นเองขึ้นอยู่ลำดับการให้ผลของกรรมประกอบกับการปรุงแต่งของสังขารขันธ์ไม่ไม่เที่ยงขึ้นๆ ลงๆ จนกว่าจะเป็นพระอริยบุคคล น่ากลัวจริงๆ ครับ
เมื่อเรามุ่งปฏิบัติธรรมแล้วเราต้องรอคนอื่นไหม
ขอขอบพระคุณ
ส่วนการที่กรรมใดจะให้ผลก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
คติ ภพภูมิที่เกิด เกิดในภพภูมิที่ดี เช่น เทวดา โอกาสที่ผลของกุศลจะให้ผลก็มี มากกว่า ส่วนถ้าเกิดในนรก โอกาสที่ผลของอกุศลจะให้ผลมากกว่าผลของกุศลกรรม
อุปธิ รูปร่าง หน้าตา
กาล ช่วงเวลาที่เกิด
ปโยคะ ความเพียร
ความเพียรเป็นปัจจัยอย่างไรครับ
คิดเล่นๆ นะครับ
การท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏฏ์นั้น หาเบื้องต้นปลายมิได้นั้น กรรมใด อันทำลงแล้ว ก็ประมาณมิได้เช่นกัน ทุกอย่างน่าจะเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพียงแต่ว่าเมื่อไหร่เท่านั้นเองขึ้นอยู่ลำดับการให้ผลของกรรมประกอบกับการปรุงแต่งของสังขารขันธ์ไม่ไม่เที่ยงขึ้นๆ ลงๆ จนกว่าจะเป็นพระอริยบุคคล น่ากลัวจริงๆ ครับ
เมื่อเรามุ่งปฏิบัติธรรมแล้วเราต้องรอคนอื่นไหม
ขอขอบพระคุณ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับปฏิบัติ การปฏิบัติธรรมการฟังธรรมกับการปฏิบัติ
ไปปฏิบัติธรรม? ไปปฏิบัติธรรม..... ปฏิบัติธรรมคืออะไรค่ะ สำนักปฏิบัติธรรม และ เจริญวิปัสนา การอบรมเจริญปัญญาขาดปริยัติไม่ได้ ไม่ใช่จะไปปฏิบัติเลย สมัยนี้ไม่ชอบการศึกษาค่ะ ชอบไปทำ ไปปฏิบัติ
ส่วนการที่กรรมใดจะให้ผลก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น
คติ ภพภูมิที่เกิด เกิดในภพภูมิที่ดี เช่น เทวดา โอกาสที่ผลของกุศลจะให้ผลก็มี มากกว่า ส่วนถ้าเกิดในนรก โอกาสที่ผลของอกุศลจะให้ผลมากกว่าผลของกุศลกรรม
อุปธิ รูปร่าง หน้าตา
กาล ช่วงเวลาที่เกิด
ปโยคะ ความเพียร
ความเพียรเป็นปัจจัยอย่างไรครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ปโยคะ หมายถึง ความเพียรเป็นไปในทางกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม
ผู้ที่ทำบาปกรรมไว้แต่เพราะประกอบความเพียรในทางกุศลกรรม (ปโยคสมบัติ)
ย่อมจะเป็นปัจจัยให้ผลของกุศลกรรมให้ผลเพราะประกอบความเพียรในทางกุศลธรรม
เนืองๆ ดังนั้นปโยคะ จึงไม่ใช่หมายถึงความเพียรทั่วไปแต่เป็นความเพียรอันเป็นไปใน
ทางกุศลหรืออกุศลครับจึงเป็นปัจจัยให้ผลของกศลกรรมหรืออกุศลกรรมให้ผล ส่วน
ปโยควิบัติคือการประกอบความเพียรในทางอกุศลกรรมครับ เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.....ปโยคสมบัติและปโยควิบัติ [ วิภังค์ ]
ดังนั้นไม่ใช่ว่าความเพียรทั่วๆ ไปเป็นปโยคะสมบัติ
เช่นคนป่วย ไปกินยา แล้วหายโรค ......
การกินยานั้นไม่ใช่ ปโยคะสมบัติ ..... ไม่เรียกว่า ปโยคะสมบัติ
ขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ซึ่งในคิลานสูตรพระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า
คนไข้บางประเภทในโลกนี้ ได้อาหารที่เหมาะ ได้ยาที่เหมาะ ได้คนพยาบาลที่
สมควร จึงหายจากอาพาธนั้น ไม่ได้อาหารที่เหมาะ ... ยาที่เหมาะ... คนพยาบาลที่
สมควร ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้น
คนไข้บางประเภทในโลกนี้ จะได้อาหารที่เหมาะหรือไม่ได้อาหารที่เหมาะก็ตาม ได้
ยาที่เหมาะหรือไม่ได้ยาที่เหมาะก็ตาม ได้คนพยาบาลที่สมควรหรือไม่ได้คนพยาบาลที่
สมควรก็ตาม ก็คงหายจากอาพาธนั้น คนไข้บางประเภทในโลกนี้ จะได้อาหารที่เหมาะ หรือไม่ได้อาหารที่เหมาะก็ตาม ได้
ยาที่เหมาะหรือไม่ได้ยาที่เหมาะก็ตาม ได้คนพยาบาลที่สมควรหรือไม่ได้คนพยาบาลที่
สมควรก็ตาม ก็คงไม่หายจากอาพาธนั้น ดังนั้นการหายจากโรคเกิดจากยาก็ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าเพราะยา ยานั้นจึงเป็น
ปโยคสมบัติครับ โดยนัยนี้ เมื่อกล่าวถึงเรื่องปโยคสมบัติ กำลังกล่าวถึงผลของอกุศล
ไม่มีโอกาสให้ผลเพราะปโยคสมบัติเป็นปัจจัย ซึ่งปโยคสมบัติเป็นปัจจัยคือการทำกุศล
ประการต่างๆ ครับมีกายสุจริต เป็นต้น
เชิญคลิกอ่านอีกที่นี่ครับ....ปโยคสมบัติและปโยควิบัติ [ วิภังค์ ] อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
คำว่าปฏิบัติธรรม ต่างจากคำว่า เจริญวิปัสสนาอย่างไรครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
โดยทั่วไปก็จะใช้คำว่าปฏิบัติธรรมคือการเจริญวิปัสสนา แต่ควรเข้าใจว่าการปฏิบัติ
ธรรม ไม่ใช่การไปทำปฏิบัติ แต่คือธรรมปฏิบัติหน้าที่คือสติและปัญญาเกิดรู้ความจริงที่
มีในขณะนี้ เช่นเดียวกับการเจริญวิปัสสนานั่นเองครับ ซึ่งคำว่าปฏิบัติธรรมเต็มๆ นั้นคือ
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ซึ่งหมายรวมทั้งกุศลขั้นทาน ศีลและการอบรมวิปัสสนา
ด้วยครับ ซึ่งถ้าเป็นความหมายของการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่หมายถึงการเจริญ
วิปัสสนา คือการปฏิบัติธรรมคือการเจริญวิปัสสนา สมควรแก่ธรรมคือการบรรลุ มรรค
ผลนั่นเองครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์