เรื่องการกิน

 
WS202398
วันที่  20 ก.พ. 2552
หมายเลข  11303
อ่าน  1,028

พระวินัยหรือพระสูตรไหนครับ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยตรงเรื่องเนื้อกินได้ คือ

ไม่ได้ยิน ไม่เห็น ไม่รังเกียจ ที่ใด

ฆราวาส เรื่องการกิน มี 2 อย่าง คือ ซื้อของมาทำกับข้าว กับซื้อสำเร็จรูป ทั้งสอง

อย่างมีนัยใกล้เคียงกัน ความยินดีพอใจในอาหาร ไม่ว่าอาหารนั้นเป็นอะไร ด้วยโลภะ

ก็ถือว่าเป็นอกุศล

การละเว้นจากการฆ่าสัตว์ แต่เวลาซื้ออาหารหรือจ่ายตลาด ก็คิดถึงส่วนประกอบ

ที่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์นั้น มีส่วนเสมอกับการคิดถึง พืชอาหารหรือไม่

ถามโดยเฉพาะคือ จริงอยู่ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบการฆ่าสัตว์ แต่การเลือกพิจารณา

ซื้อหาอาหารที่ทำจากพืชหรือจากสัตว์ มีส่วนเหมือนส่วนต่างกันหรือไม่ หรือเหมือนกัน

เพราะเป็นอาหารเหมือนกัน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 21 ก.พ. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระวินัยหรือพระสูตรไหนครับที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยตรงเรื่องเนื้อกินได้ คือ

ไม่ได้ยิน ไม่เห็น ไม่รังเกียจ ที่ใด เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.........เนื้อบริสุทธิ์ โดยส่วน ๓ ฉันได้ [ มหาวิภังค์ ]

ขณะใดที่มีความติดข้องต้องการไม่ว่าจะเป็นการคิดถึงอาหารประเภทใดก็เป็นโลภะ

เหมือนกันครับ สำคัญที่จิตเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเลือกซื้ออาหารประเภทเนื้อ ขณะนั้นไม่

ได้มีเจตนาฆ่า เช่นเดียวกับอาหารประเภทอื่นๆ หากเป็นเรื่องราวก็สับสนแต่ถ้ามุ่งที่ตัว

สภาพธรรม ขณะใดมีความติดข้อง ต้องการก็เป็นโลภะทั้งนั้น ส่วนอารมณ์ของจิตนั้นก็

แล้วแต่ว่าเป็นสิ่งใดครับ สำคัญที่จิตครับ ขออนุโมทนา อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornchai.s
วันที่ 22 ก.พ. 2552
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
WS202398
วันที่ 24 ก.พ. 2552

ปาณาติบาต หมายรวมถึงการรังเก การทำให้เดือดร้อน การทำให้บาดเจ็บหรือไม่ อย่างไรเท่าภูมิรู้ที่มีอยู่ ผมเห็นว่า วินัย กับ ธรรม มีนัย ต่างกันบางแง่มุม

ผมเข้าใจว่า ถ้ามองในเชิงปรมัตถธรรม ทุกอย่างก็สามารถตอบหรือให้เหตุให้ผลได้

ไม่อาจโต้แย้งสัจจธรรมได้ผมเห็นเพิ่มเติมอีกว่า นักมังสวิรัสนั้น ถ้ามองในแง่ปรมัตถ์

ส่วนหนึ่งก็มิได้มีเจตนาถืออย่างนั้นด้วยความเห็นผิดในศีลและพรต เขาเหล่านั้นก็รู้ดีว่าการถือเช่นนี้มิใช่จะนำเขาไปสู่ความหมดของกิเลส เพียงแต่เป็นการคิดในแบบโลก

สมมติ ในโลกสมมติที่เขาอาศัยอยู่ เป็นการปฏิบัติการทางสังคม เป็นการเพิ่มฐานความรู้ในความเป็นอยู่ ในสภาพความเป็นจริงไม่ว่าอดีตปัจจุบันหรืออนาคต คนขาย

ย่อมน่าจะมี คนซื้อย่อมน่าจะมี ในแง่ของนักบวชไม่ค่อยจะเป็นปัญหา หากเป็นฆราวาส

เล่า อาหารเนื้อมีที่มา 2 ประการ คือ ตนหรือคนของตน ฆ่าเอง หรือใช้ให้ฆ่า หรือซื้อหา

จากผู้ขายถ้าจะถือหลักที่ว่า ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่รังเกียจก็ไม่มีปัญหา เพราะถ้าเป็นนักบวชก็

รับอาหารจากผู้ให้ทานอยู่แล้วฆราวาสผู้ต้องจัดหาเพื่อตนมีข้อปลีกย่อย ข้อแม้ขึ้นมาว่า

หากไม่มีเงิน หากหาที่ซื้อไม่ได้ และก็ไม่ควรเลี้ยงไว้เองอยู๋แล้วเพื่อฆ่าหรือค้าขายสัตว์

เป็น ก็หมายความว่าต้องมีภูมิรู้ทางด้านอาหารมังสวิรัสเกิดขึ้น เพื่อที่จะรักษาร่างกายนี้

ให้สามารถปฏิบัติงานต่อไปได้ไม่เป็นโรคถ้าไม่มีภูมิปัญญาด้านอาหารด้านโภชนาการ

ก็อาจมีปัญหาด้านสุขภาพได้ผู้มีความรู้ความสามารถด้วนมังสวิรัสแล้ว ถ้าเขาจะยินดี

เฉพาะมังสวิรัส ผมเห็นว่าก้ไม่เห็นจะเสียหายตรงใหน เว้นแต่ให้เห็นตามเป็นจริงว่าข้อ

ปฏิบัติเช่นนี้มิได้ก่อให้เกิดปัญญาเท่านั้น ไม่ถือมั่น

บางคนใช้ตรรรกว่า คนกินมังบางคน ก็บี้มดตบยุง ผมเห็นว่าจริงครับ แต่เราก็ต้องมอง

โดยปรมัตถ์เป็นขณะๆ เช่นกันแต่ก็มีความเห็นที่น่าสนใจที่ว่า แม้การผลิตพืชอาหาร

โดยทั่วไปก็ต้องเบียดเบียนสัตว์เช่นกัน การไถพรวน ทำร้ายสัตว์ในดิน การกำจัดศัตรู

พืชต่างๆ ดังนนั้นพืชอาหารหรือเนื้อสัตว์ก็มีที่มาในเชิงเบียดเบียนเช่นกัน

การรักษาศีลข้อ 1 ของการเกษตรกรรมนี้เป็นของยากแท้ในความเห็นของผม

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 24 ก.พ. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย หากเป็นเรื่องราวก็จะยังไม่แจ่มชัดแต่ถ้ามองที่ตัวสภาพธรรมคือขณะนั้นมีเจตนาฆ่า

หรือไม่ ถ้ามีเจตนาฆ่าและสัตว์ตายด้วยความพยายามนั้นเป็นปาณาติบาต ขณะเลือก

ซื้ออาหารที่เป็นเนื้อมีเจตนาฆ่าไหม? ขณะที่ซื้ออาหารที่เป็นพืช ผัก มีเจตนาฆ่าไหม

ขณะที่รับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ ขณะนั้นมีเจตนาฆ่าไหม? จึงต้องพิจารณาจิต

ในขณะนั้นเพราะจะเป็นอกุศลกรรมเป็นปาณาติบาตหรือไม่สำคัญที่เจตนาในขณะนั้น

ขออนุโมทนาครับ อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 25 ก.พ. 2552

ที่ท่านกล่าวว่า.... ถามโดยเฉพาะคือ จริงอยู่ถ้าไม่เข้าองค์ประกอบการฆ่าสัตว์ แต่การเลือกพิจารณาซื้อหาอาหารที่ทำจากพืชหรือจากสัตว์ มีส่วนเหมือนส่วนต่างกันหรือไม่ หรือเหมือนกัน เพราะเป็นอาหารเหมือนกัน
.
.
.ตอนที่พิจารณาเลือก....ลองสังเกต "ลักษณะ"ของจิตในขณะนั้น ว่าเลือก................เพราะเหตุใด.?

สาเหตุของการเลือก คืออะไร.? ผลจากการเลือก......เพืออะไร.?
.
ขณะที่มีเจตนาฆ่า แล้วสัตว์ตายไม่ว่าจะเหตุผลใดก็ตาม การกระทำนั้นเป็นปาณาติบาตแล้วจึงต่างกับขณะที่ไม่ได้ฆ่า...คือ ตอนที่พิจารณาเลือก.
.
การทานอาหารมังสาวิรัตินั้น ไม่เสียหายก็ต่อเมื่อ ไม่นำมาซึ่งความเดือดร้อนทั้งแก่ตนและผู้อื่น ไม่วุ่นวายเพราะต้องเลือก ต้องจัดหา โดยเป็นภาระที่ยุ่งยากทั้งต่อตนและผู้อื่นและถ้าเป็นผู้ที่ทานอะไรก็ได้ ตามมี ตามได้ เป็นผู้เลี้ยงง่าย...จะเดือดร้อนน้อยกว่าไหม.?
.
ถ้าทานอาหารมังสาวิรัติโดยเป็นอัธยาศัยที่ได้สะสมมาจริงๆ ไม่ใช่เพราะสาเหตุอื่น.........ใครจะห้ามอัธยาศัยของใครได้.!ซึ่งอันนี้....ก็ต้องเป็นผู้ตรงต่อความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง.
.
ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นเกษตรกร และอาชีพเกษตรกรนี้ก็กว้างนะคะเกษตรกรบางสาขาก็ไม่ได้มีเจตนาฆ่าสัตว์ เพราะไม่มีเหตุปัจจัยให้ฆ่า.
.
เรื่องการกิน

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมไว้มากมายที่น่าพิจารณาเช่นไม่ควรกินเพื่อเล่น...เพื่อตกแต่ง....แต่กินเพื่อยังชีพ เป็นต้นในบางสูตร ทรงแสดงเรื่องการกิน โดยให้พิจารณาว่าเปรียบเหมือนบริโภคเนื้อบุตร ฯลฯพระธรรมที่ทรงแสดงให้ผู้ฟังได้พิจารณา ล้วนแต่เป็นไปเพื่อการละความหมายที่แท้จริงของการละ ก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องด้วย ว่าละอะไร.!.
.
.
ขออนุโมทนาในความสนใจใคร่รู้ในพระธรรมค่ะ.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ