ปทภาชนีย์ ปฐมภาณวาร เอกัคคตา..สัมมาสมาธิ..สมถะ..วิปัสสนา

 
pornpaon
วันที่  22 ก.พ. 2552
หมายเลข  11323
อ่าน  1,396

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 357

[๒๖] เอกัคคตา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป

ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า เอกัคคตา มีในสมัยนั้น.

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 360

[๓๙] สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต

ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป

ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิมีในสมัยนั้น.

[๔๓] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป

ความสงบ สมาธินทรีย์ กำลังคือสมาธิ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สมาธิพละ มีในสมัยนั้น.

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 364

[๕๕] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.

[๕๖] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งวิญญาณขันธ์ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.

[เล่มที่ 75] พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 367

[๖๔] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ ในสมัยนั้น อันใดนี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น.

[๗๐] วิปัสสนา มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม

ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ

ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด

ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส

ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก

ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา

ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา

ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม

สัมมาทิฏฐิในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิปัสสนา มีในสมัยนั้น. สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
orawan.c
วันที่ 21 มิ.ย. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 21 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ