พิจารณาอย่างไร...จึงเป็นโยนิโสมนสิการ

 
พุทธรักษา
วันที่  23 ก.พ. 2552
หมายเลข  11334
อ่าน  2,747

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

ท่านผู้ฟัง ผมขอถามพยัญชนะอีกประโยคหนึ่ง คือ ในพระไตรปิฎกพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่าผู้ที่จะเจริญมรรคมีองค์ ๘ หรือการเจริญสติปัฏฐานนั้นก่อนที่จะเจริญ ต้องอาศัย "โยนิโสมนสิการ" ลักษณะของโยนิโมมนสิการ เป็นอย่างไร ลักษณะของ "การพิจารณาโดยแยบคาย" พิจารณาอย่างไรครับ

ท่านอาจารย์ ในขั้นของการฟัง รู้ว่า กิเลสมีจริง แยบคาย คือพิจารณารู้จริงๆ ว่ากิเลสมีจริง ปัญญาเท่านั้นที่ดับกิเลสได้ ที่ละกิเลสได้จริงๆ ไม่ใช่กำลังใจ ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่ความสงบ โยนิโสมนสิการ คือพิจารณาโดยแยบคายว่าเป็นจริงหรือถูกต้องอย่างที่กล่าวนี้หรือเปล่า ถ้ากล่าวว่า กิเลสมีจริงในขณะนี้ ดับไม่ได้หรอก จริงหรือไม่จริง ถ้าใครคิดว่าจริง หมายความว่า ขณะนั้นเป็นอโยนิโสมนสิการ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้ากิเลสเป็นสิ่งที่ละไม่ได้ พระองค์ก็จะไม่ทรงแสดงหนทาง ที่จะละหรือดับกิเลส "โยนิโสมนสิการ" คือ พิจารณา ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ว่าที่ถูกต้องนั้นเป็นอย่างไร

ปัญญาและกุศล เป็นสิ่งที่อบรมได้ โยนิโสมนสิการ คือพิจารณาว่า ข้อความนี้จริงหรือไม่จริง พระผู้มีพระภาคตรัสว่าถ้ากุศลเป็นสิ่งที่อบรมให้เจริญขึ้นไม่ได้พระองค์ก็จะไม่ทรงแสดงธรรม ให้อบรมเจริญกุศล

ท่านผู้ฟัง "การยึดถือ" จะเอาอะไรทำลาย

ท่านอาจารย์   ปัญญาอย่างเดียวเท่านั้น ปัญญาคือความรู้ ความรู้ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และต้องระลึกรู้จนกว่าจะเข้าใจว่าขณะนี้อะไรกำลังปรากฏ ถ้ายังไม่ทราบว่าขณะนี้อะไรกำลังปรากฏ ปัญญาก็รู้ไม่ได้ เพราะว่าปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง

โดยความเป็นจริง มีแต่สภาพธรรม เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ แต่เมื่อสติไม่ระลึกจึงไม่รู้ว่า แท้จริงแล้วไม่มีเรา ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลใดๆ มีแต่สภาพธรรมแต่ละอย่างที่กำลังปรากฏแต่ละทาง เพราะฉะนั้น ปัญญาก็รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้จริงๆ ทางหนึ่งทางใด ทีละทางๆ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ซึ่งต้องปรากฏทีละทางๆ ตามปกติตามความเป็นจริงของสภาพธรรมแต่ละอย่าง แต่ละทางนั้นๆ

ท่านผู้ฟัง   ถ้าเผลอ หลงลืมสติ

ท่านอาจารย์ เผลอก็เผลอซิคะ บังคับบัญชาไม่ได้ค่ะ คนที่ไม่หลงลืมสติเลยคือพระอรหันต์ เรื่องหลงลืมสติเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่า กี่ภพกี่ชาติมาแล้วที่สะสมปัจจัยที่จะทำให้หลงลืมสติ ฉันใด ฉะนั้น การไม่หลงลืมสติ ก็ต้องสะสมปัจจัยที่จะทำให้ไม่หลงลืมสติ ฉันนั้น เมื่อมีปัจจัยที่จะทำให้หลงลืมสติก็หลงลืมสติ เมื่อสะสมปัจจัยใหม่ที่จะทำให้สติเจริญขึ้นสติก็เกิดขึ้นบ่อยๆ เนืองๆ แต่ไม่ต้องคิดว่าจะต้องมากนะคะ แค่ไหนก็แค่นั้น สติเกิดขณะหนึ่งก็ยังดีกว่าที่สติไม่เกิดและไม่มีการระลึกรู้สภาพธรรมเสียเลย

แนวทางเจริญวิปัสสนาโดยอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ขออนุโมทนา




  ความคิดเห็นที่ 1  
 
orawan.c
วันที่ 24 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สุภาพร
วันที่ 24 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สามมหาอำนาจ
วันที่ 24 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนา .... สติมาปัญญาเกิด สติคือเพื่อนแท้ของชีวิต อย่าทิ้งเพื่อนนี้เพราะจะทำให้ชีวิตเศร้าหมอง หากยังไม่มีเพื่อนนี้ก็สมควรฝึกอบรมตัวเองให้มีและพัฒนาให้มีอยู่กับจิตใจนี้ตลอดเวลาก็จะดียิ่งนัก ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ก็ขอให้มีเพื่อน "สติ" นี้รู้อยู่ด้วยในทุกปัจจุบันขณะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 24 ก.พ. 2552

ขณะนี้ อะไรกำลังปรากฏ ... โดยปรมัตถ์นั้น ไม่รู้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 24 ก.พ. 2552
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Sam
วันที่ 24 ก.พ. 2552

เมื่อมีปัจจัย ที่จะทำให้หลงลืมสติก็หลงลืมสติ เมื่อสะสมปัจจัยใหม่ที่จะทำให้สติเจริญขึ้นสติก็เกิดขึ้นบ่อยๆ เนืองๆ

ปัจจัยที่จะทำให้สติเจริญขึ้น คือการฟังพระธรรมให้เข้าใจยิ่งขึ้น

ขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ฯ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 24 ก.พ. 2552
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 11334 ขณะนี้ อะไรกำลังปรากฏ ... โดยปรมัตถ์นั้น ไม่รู้

ถ้ามีปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด ก็ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ไม่ว่าจะรู้รูปารมณ์ ทางตา หรือสัททารมณ์ ทางหู เป็นต้น ขณะนั้นมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ อารมณ์ คือ รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย (ปัญจทวารวิถีจิต) ส่วนธรรมารมณ์ รู้ได้ทางใจเท่านั้น (คือทางมโนทวารวิถีจิต) มีแต่สภาพธรรมแต่ละอย่างที่ปรากฏแต่ละทางทั้ง ๖ ทวารตามกิจของสภาพธรรมนั้นๆ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เป็นเพียงสภาพธรรมเท่านั้น

ส่วนทางมโนทวารวิถีจิต ก็รู้อารมณ์ต่อจากทางปัญทวารที่เพิ่งดับไป หลังจากภวังค์เกิดคั่นแล้วรู้บัญญัติก็ได้ เช่น เห็นรูป เป็นตัวตน คน สัตว์ สิ่งต่างๆ เป็นต้น ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ก็ยึดถือบัญญัตินั้นว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

ถ้าเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบันขึ้นไป ดับความสงสัยในสภาพธรรมเป็นสมุจเฉทแล้วท่านจะไม่มีความเห็นผิด คือไม่ยึดถือว่าบัญญัตินั้น เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน หรือรู้ปรมัตถธรรม เช่น รู้ว่า เป็นเพียงความคิดนึก จากการรู้อารมณ์ต่อจากทางปัญจทวารที่เพิ่งดับไปโดยรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่คิดนึกนั้นตามความเป็นจริงว่าสภาพธรรมนั้นๆ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
เมตตา
วันที่ 25 ก.พ. 2552

ถ้ายังไม่ทราบว่า ขณะนี้อะไรกำลังปรากฏ ปัญญาก็รู้ไม่ได้ เพราะว่า ปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง โดยความเป็นจริงมีแต่สภาพธรรมเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ปัญญาเท่านั้นที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎตรงตามความเป็นจริงค่ะ ไม่มีวิธีอื่นค่ะ

ขอกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณพุทธรักษา และทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
คุณ
วันที่ 25 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
จำแนกไว้ดีจ๊ะ
วันที่ 25 ก.พ. 2552

ความคิดเห็นที่ 7

สาธุครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
suwit02
วันที่ 25 ก.พ. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Komsan
วันที่ 1 มี.ค. 2552
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
สามมหาอำนาจ
วันที่ 21 เม.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
pamali
วันที่ 17 มิ.ย. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
pimpan
วันที่ 25 ส.ค. 2553
อนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
raynu.p
วันที่ 27 ส.ค. 2553

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
patcharin
วันที่ 27 ส.ค. 2553

กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ค่ะ

และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ