การให้เงินขอทาน เป็นบุญรือบาป
ขณะที่จิตคิดนั้นเป็นกุศลอยากจะให้แต่ ขณะนั้นก็อยากจะช่วยเขา โดยที่เราไม่ให้
เงินเขาเพราะว่า เดี๋ยวนี้ ขอทานเป็นลักษณะของขบวนการ แต่เราก็ไม่รู้ว่าใครขอทาน
จริงหรือปลอม..แต่รู้วาถ้าเราคิดจะทำก็ควรทำไม่ต้องสนใจ ตามแต่ปัจจัยที่จะเกิด.....
เพราะขณะจิตนั้นเป็นกุศล...แต่เรา......จะทำจิตขณะต่อไปอย่างไรเพราะเราต้องช่วยเขา
โดยการไม่ให้ทาน.... (จากกุศลกลายเป็นอกุศล) ....งงงง
ควรทราบว่าการช่วยเหลือผู้อื่น มีการช่วยเหลือหลายวิธี ไม่ได้ติดอยู่ที่ว่าจะ
ต้องให้เงินเท่านั้น อาจจะให้น้ำดื่ม อาหาร สิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้ หรือคำพูด
ที่เป็นประโยชน์ก็ได้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือเขาต้องการเงิน เป็นต้นจึงมาขอทาน ไม่ว่า
จะมาในรูปแบบไหนก็ตามที ถ้าเราไม่ให้เขาอาจจะอดอยากก็ได้ ที่สำคัญคือเรา
เองต้องรู้ว่าสภาพจิตของเราเป็นอย่างไร ตามธรรมดาสภาพของจิตใจกลับกลอก
เกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็ว ไม่ให้ด้วยจิตอะไร ถูกลวงหรือเปล่าถ้าจิตอ่อนโยน
แล้ว จะไม่ให้หรือบุญอยู่ที่จิต ถ้าจิตเป็นกุศลก็เป็นบุญ...
เคยให้ทานกับคนแก่บ้าง คนพิการบ้าง ขณะจิตนั้นเป็นกุศลเพราะสละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น แต่ก็สลับกับอกุศลเพราะความสงสาร และมารู้ภายหลังว่า
เขาเหล่านั้นมาจากต่างจังหวัดมาเป็นลักษณะขบวนการเหมือนกัน ซึ่งเราไม่สา-
มารถรู้ได้ก่อนแน่นอน ที่สำคัญจิตขณะนั้นสละเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจิตขณะนั้นก็
เป็นกุศล ขออนุโมทนาค่ะ
พิสูจน์ให้เห็นสัจจธรรมที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดง....ทุกสิ่งเป็นอนัตตา เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามเหตุปัจจัยและต้องดับไปตามเหตุปัจจัย.แม้ในชีวิตประจำวัน ความอนัตตาก็ปรากฏ
.
.
.ว่า...จิตที่เป็นกุศล...เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลธรรมได้จิตที่เป็นอกุศล.....ก็เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลธรรมก็ได้เป็นต้น...ฯ
จิตเกิดดับสลับกันได้...เดี๋ยวเป็นกุศล (บุญ) เดี๋ยวเป็นอกุศล (บาป) เพราะทุกอย่างเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป...ตามเหตุปัจจัย.
พระพุทธองค์จึงทรงแสดง เรื่องสภาพธรรม...เป็นอนัตตาไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีใคร..............ฯที่จะมีอำนาจไปบังคับบัญชาให้สภาพธรรมต่างๆ เกิดขึ้นได้ตามใจชอบมีแต่ธรรม....เท่านั้น ที่ทำกิจของตนๆ .
จิตที่สละเพื่อประโยชน์ผู้อื่น จิตขณะนั้นก็เป็นกุศล
ขออนุโมทนาค่ะ
ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก ขอบพระคุณครับ
คำตอบโดยท่านอาจารย์สุจินต์... ได้กรุณาอธิบายไว้ชัดเจนดีแล้วขอเชิญท่านอ่านได้ที่นี่ค่ะ
.
.
.
กุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด อกุศลและอกุศล เป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้เกิด กุศล
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล ขณะใดสละเพื่อประโยชน์ผู้อื่นเป็นกุศลที่เป็นไปในทานครับ เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับทานควรให้ในที่ใดหนอแล [อิสสัตถสูตร]
บุคคลเปรียบเหมือนฝน ๓ จำพวก [อวุฏฐิกสูตร] อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
๗. ชัปปสูตร
ว่าด้วยผู้รับที่ทำให้ทานมีผลมาก
[๔๙๗] ครั้งนั้น ปริพาชกวัจฉโคตร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ฯลฯ ปริพาชกวัจฉโคตรนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้วกราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าได้ยินเขาว่า พระ-
สมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่คนอื่นๆ
ควรให้แก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่สาวกของคนอื่นๆ ทานที่ให้แก่
เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่คนอื่นๆ ไม่มีผลมาก ให้แก่สาวกของเราเท่านั้น
มีผลมาก ให้แก่สาวกของคนอื่นๆ ไม่มีผลมาก ดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 228
ชนเหล่าที่กล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ฯลฯ
ให้แก่สาวกของคนอื่นๆ ไม่มีผลมาก ดังนี้ ชนเหล่านั้นกล่าวตามคำที่พระ-
โคดมผู้เจริญได้ตรัสไว้จริงละหรือ เขาไม่ใส่ความพระโคดมผู้เจริญด้วยเรื่อง
อันไม่จริงละหรือ เขากล่าวแก้ธรรมสมควรแก่ธรรมละหรือ การถือตามถ้อยคำ
ที่ชอบแก่เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง จะไม่ตกอยู่ในฐานที่น่าตำหนิละหรือความจริง
พวกข้าพระเจ้าไม่ประสงค์จะใส่ความพระโคดมผู้เจริญเลย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า วัจฉะ ชนเหล่าที่กล่าวว่า พระ-
สมณโคดมตรัสว่า ทานควรให้แก่เราเท่านั้น ฯลฯ ให้แก่สาวกของคนอื่นๆ
ไม่มีผลมาก ดังนี้ ชนเหล่านั้นมิได้กล่าวตามคำที่เรากล่าว อนึ่ง ชนเหล่านั้น
ใส่ความเราด้วยเรื่องอันไม่มีไม่เป็นจริง วัจฉะ ผู้ใดห้ามคนอื่นที่ให้ทาน ผู้นั้น
ชื่อว่าทำอันตรายต่อคน ๓ คน ทำร้ายต่อคน ๓ คน ๓ คนคือใคร คือทำ
อันตรายต่อบุญของทายก ทำอันตรายต่อลาภของปฏิคาหก อนึ่ง ตัวของผู้นั้น
ชื่อว่าถูกก่น (ขุดรากคือความดี) และถูกประหาร (ตายไปจากความดี) เสียก่อน
แล้ว วัจฉะ ผู้ใดห้ามคนอื่นที่ให้ทาน ผู้นั้นชื่อว่าทำอันตรายต่อคน ๓ คน
ทำร้ายต่อคน ๓ คนนี้
เราตถาคตกล่าวอย่างนี้ต่างหาก วัจฉะ ว่า แม้สัตว์ทั้งหลายที่อยู่ใน
หลุมโสโครกหรือท่อโสโครก ผู้ใดเทน้ำล้างหม้อก็ดี น้ำล้างชามก็ดี ลงไปใน
หลุมและท่อโสโครกนั้น ด้วยเจตนาให้สัตว์ในนั้นได้เลี้ยงชีพ อย่างนี้เราตถาคต
ยังกล่าวการได้บุญอันมีกิริยาที่ทำอย่างนั้นเป็นมูล จะกล่าวอะไร (ถึงการให้ทาน)
ในผู้ที่เป็นมนุษย์เล่า
แต่นั่นแหละ วัจฉะ เราตถาคตกล่าวว่า ทานที่ให้แก่ผู้มีศีลมีผลมาก
หาได้กล่าวอย่างนั้นในผู้ทุศีลไม่ และผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 229
องค์ ๕ ละองค์ ๕ คืออะไร คือ ละกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ
อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ละองค์ ๕ นี้ ประกอบด้วยองค์
๕ คืออะไร คือ ประกอบด้วยสีลขันธ์ (กองศีล) สมาธิขันธ์ (กองสมาธิ)
ปัญญาขันธ์ (กองปัญญา) วิมุตติขันธ์ (กองวิมุตติ) วิมุตติญาณทัสสนขันธ์
(กองวิมุตติญาณทัสนะ) อันเป็นอเสขะ ผู้มีศีลนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์
เราตถาคตกล่าวว่า ทานที่ให้ในผู้มีศีล ที่ละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕
อย่างนี้ มีผลมาก
ในโคเมียทั้งหลาย เช่น แม่โคสีดำ
สีขาว สีแดง สีเขียว สีด่าง สีปกติ หรือ
สีนกพิราบก็ตาม โคผู้ ซึ่งฝึกแล้วเป็นโค
ทนงาน มีกำลัง ฝีเท้าดี ย่อมเกิดในแม่โค
เหล่านั้นได้ทุกเหล่า คนทั้งหลายใช้มันใน
การหนักเท่านั้น หาได้พิถีพิถันสีของมันไม่
ฉันเดียวกันนั่นแล ในหมู่มนุษย์
ในชนชาติใดชาติหนึ่ง จะเป็นชาติกษัตริย์
พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณฑาล หรือ
ปุกกุสะ บุคคลผู้ซึ่งฝึกตนแล้ว มีพรต
อันดี ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีลพูด
เป็นสัจ มีใจประกอบด้วยหิริ ละชาติและ
มรณะแล้ว จบพรหมจรรย์แล้ว ปลงของ
หนักแล้ว ปลอดโปร่งแล้ว เสร็จกิจ ไม่มี
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 230
อาสวะ ถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ดับกิเลส
ได้เพราะไม่ยึดถือแล้ว ย่อมเกิดในชาติ
เหล่านั้นได้ทุกชาติ ทักษิณาทานที่ให้ใน
บุคคลนั้นอันเป็นเนื้อนาที่ปราศจากโทษ
ย่อมมีผลไพบูลย์
ส่วนคนเขลาทรามปัญญา มิได้สดับ
ไม่รู้จัก (บุญเขต) ให้ทานไปภายนอก
(เขต) ไม่เข้าใกล้สัตบุรุษทั้งหลายเลย
ฝ่ายคนเหล่าใดเข้าใกล้สัตบุรุษผู้มี
ปัญญานับว่าเป็นปราชญ์ และศรัทธาของ
เขามีรากฐานมั่นคงในองค์พระสุคต คน
เหล่านั้นย่อมไปเทวโลก มิฉะนั้น เกิดใน
สกุล ณ โลกนี้ ก็จะเป็นบัณฑิตได้บรรลุ
พระนิพพานโดยลำดับ.
จบชัปปสูตรที่ ๗
ขอท่านทั้งหลายได้อ่านพระสูตรนี้ต่อจากเรื่องเดิมนะค่ะที่เป็นตัวแดงและน้ำเงินนั่นแหละค่ะ เรื่องการให้ทานนี้มีไว้ในหลายพระสูตรต้องนำมาเปรียบเทียบกันเพราะฉะนั้นบุญกุศลที่เราตั้งใจพากเพียรกระทำนั้นจะกลายเป็นเรื่องเศร้าหมองกับจิตใจของผู้กระทำเองค่ะ ขออนุโมทนาบุญค่ะ